โดย:
วันที่: 14 สิงหาคม 2555
ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ศาลปกครอง
ประวัติศาสตร์การจัดตั้งศาลปกครอง อาจนับย้อนอดีตไปในปีพุทธศักราช ๒๔๑๗ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งที่ปรึกษาราชการแผ่นดินขึ้น ให้ทำหน้าที่สำคัญประการหนึ่ง คือ พิจารณาเรื่องที่ราษฎรได้รับความเดือดร้อน ในลักษณะเดียวกันกับสภาแห่งรัฐของประเทศในภาคพื้นทวีปยุโรป ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดในการจัดตั้งองค์กรที่ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีปกครองขึ้นในประเทศไทย ต่อมาได้มีความพยายามที่จะให้มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีปกครองเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ประชาชนเรื่อยมา จนกระทั้งปรากฏเป็นจริงเมื่อมีการจัดตั้งศาลปกครองและเริ่มเปิดทำการในวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ส่งผลให้กระบวนการยุติธรรมของไทยได้เปลี่ยนแปลงครั้งประวัติศาสตร์ จากการที่มีระบบศาลเดี่ยวมาเป็นระบบศาลคู่นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา สำนักงานศาลปกครองจึงมีนโยบายจัดทำพิพิธภัณฑ์ศาลปกครองขึ้น เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ทรงคุณค่า สำหรับให้คนรุ่นปัจจุบันและรุ่นต่อๆ ไป ศึกษา ค้นคว้าและเรียนรู้เกี่ยวกับต้นกำเนิดและพัฒนาการของกระบวนการยุติธรรมทางปกครองไทยอันเป็นที่มาของศาลปกครองไทยในปัจจุบัน โดยได้จัดเตรียมพื้นที่สำหรับจัดทำพิพิธภัณฑ์ในการออกแบบก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลปกครอง ได้กำหนดพื้นที่บริเวณชั้น ๒ ส่วนด้านหน้าของอาคารเนื้อที่จำนวน ๑๘๗.๒๐ ตารางเมตร
การจัดแสดงในห้องพิพิธภัณฑ์ศาลปกครอง แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๓ ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ ๑ ความเป็นมาของศาลปกครอง ส่วนที่ ๒ วิวัฒนาการขององค์กรวินิจฉัยคดีปกครอง และส่วนที่ ๓ ศาลปกครอง ออกแบบจัดแสดงบนฝาผนังโดยรอบของห้องเป็นหลักแบ่งเป็นโซนตามยุคสมัย เดินตามเวลาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ใช้การจารึกเป็นแนวคิดหลักในการนำเสนอเรื่องราว โดยใช้เทคโนโลยีหลากหลายชนิด เช่น การแกะสลักบนหิน การกัดกรดสนิมโลหะ การเผาด้วยความร้อน การตัดด้วยเลเซอร์ บอกเล่าที่มาและเรื่องราวของศาลปกครองบนผนังที่ตกแต่งด้วยวัสดุที่แตกต่างกัน เป็นสัญลักษณ์แทนการเคลื่อนที่ของกาลเวลาและวิวัฒนาการของสังคมจากยุคหนึ่งไปสู่ยุคหนึ่ง ผสมกับงานศิลปกรรมที่ฝาผนัง บอกเล่าเนื้อหาด้วยกราฟิกและวีดิทัศน์ ส่วนการจัดวางทรัพยากรออกแบบโดยเน้นถึงความงานทันสมัย ใช้พื้นที่ของห้องให้น้อยที่สุด
ส่วนที่ ๑ ความเป็นมาของศาลปกครอง
กล่าวถึงในอดีตประเทศไทยไม่มีองค์กรชี้ขาดคดีปกครองโดยเฉพาะ การร้องเรียนเรื่องความเดือดร้อนของประชาชนต่อผู้ปกครองประเทศมีรูปแบบแตกต่างกันไปตามแต่ละ ยุคสมัยเช่น สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชใช้วิธีการสั่นกระดิ่งร้องทุกข์ สมัยอยุธยาใช้วิธีร้องเรียนต่อเจ้าขุนมูลนาย หรือต่อพระมหากษัตริย์ ผ่านเจ้าขุนมูลนายที่ตนสังกัด สมัยรัตนโกสินทร์ในรัชกาลที่ ๓ ใช้วิธีตีกลองร้องทุกข์ (กลองวินิจฉัยเภรี) หน้าพระบรมมหาราชวังและในรัชกาลที่ ๔ ถึงรัชกาลที่ ๕ ใช้วิธีทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาด้วยตนเอง
ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๑๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปการปกครองประเทศเพื่อให้ทัดเทียมอารยประเทศและทรงจัดตั้งที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) ขึ้น ประกอบด้วยขุนนางระดับสูงและพระราชวงศ์ จำนวน ๑๒ ท่าน ทำหน้าที่สำคัญประการหนึ่งคือ พิจารณาเรื่องที่ราษฎรได้รับความเดือดร้อน เช่นเดียวกับสภาแห่งรัฐ (conseil d’ Etatหรือ council of state) ของประเทศในภาคพื้นทวีปยุโรป จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาไปสู่การจัดตั้งองค์กรวินิจฉัยคดีปกครองในรูปแบบศาลปกครองในปัจจุบัน
ส่วนที่ ๒ วิวัฒนาการขององค์กรวินิจฉัยคดีปกครอง
หลังผ่านพ้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ความพยายามในการจัดตั้งองค์กรวินิจฉัยคดีปกครองได้วิวัฒนามาเป็นลำดับ ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ รัฐบาลโดยหลวงประดิษฐ์ มนูธรรม (ดร.ปรีดี พนมยงค์) พยายามผลักดันให้มีการจัดตั้งองค์กรทำหน้าที่พิจารณาข้อพิพาททางปกครองระหว่างรัฐกับเอกชน ในลักษณะเดียวกันกับ “สภาแห่งรัฐ”ของประเทศฝรั่งเศส และพ.ศ. ๒๔๗๖ ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ.๒๔๗๖ จัดตั้งคณะกรรมการกฤษฎีกาขึ้น มีกรรมการ ๒ ประเภท คือกรรมการร่างกฎหมายและกรรมการกฤษฎีกา โดยให้ทำหน้าที่พิจารณาคดีปกครองตามที่กฎหมายกำหนด แต่กรรมการกฤษฎีกาไม่ได้ทำหน้าที่ดังกล่าว เนื่องจากยังไม่ได้ตรากฎหมายให้อำนาจพิจารณาคดีปกครอง หลังจากนั้นได้มีการจัดตั้งองค์กรวินิจฉัยคดีปกครองหลากหลายองค์กรเรื่อยมา ได้แก่คณะกรรมาธิการเรื่องราวร้องทุกข์ (พ.ศ.๒๔๗๗) คณะกรรมการพิจารณาเรื่องราวร้องทุกข์ (พ.ศ.๒๔๘๗)และคณะกรรมการเรื่องราวร้องทุกข์ (พ.ศ.๒๔๙๒) เพื่อทำหน้าที่พิจารณาคดีปกครอง จนกระทั่งได้มีการตราพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ จัดตั้งคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยมีกรรมการ ๒ ประเภท คือ กรรมการร่างกฎหมายและกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่พิจารณาและวินิจฉัยเรื่องราวร้องทุกข์ (คดีปกครอง) และพัฒนาความรู้เรื่องหลักกฎหมายปกครองให้แก่สังคมไทยสำหรับเตรียมการจัดตั้งศาลปกครองในอนาคต การพิจารณาคดีปกครองของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์มีลักษณะพิเศษ คือใช้ระบบไต่สวนซึ่งได้รูปแบบจากสภาแห่งรัฐของประเทศฝรั่งเศสในระยะต้น คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์จึงเป็นสถาบันต้นแบบของศาลปกครองไทย
ส่วนที่ ๓ ศาลปกครอง
ศาลปกครองจัดตั้งเป็นผลสำเร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชฯ โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐บัญญัติให้จัดตั้งศาลปกครองแยกต่างหากจากศาลอื่น และประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ วันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๒ ศาลปกครองมีอำนาจหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีปกครอง ซึ่งเป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชนหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง ศาลปกครองเปิดทำการครั้งแรกวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๔๔ ณ ที่ทำการชั่วคราวอาคาร เอ็มไพร์ ทาวเวอร์ถนนสาทรใต้(ต่อมาย้ายที่ทำการมายังอาคารศาลปกครอง ถนนแจ้งวัฒนะ เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๑)ทำให้ประเทศไทยมีองค์กรตุลาการที่ทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดคดีปกครอง เพื่ออำนวยความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม นับแต่นั้นมา ศาลปกครองแบ่งเป็นสองชั้นศาล คือ ศาลปกครองสูงสุดและศาลปกครองชั้นต้นซึ่งประกอบด้วยศาลปกครองกลางและศาลปกครองในภูมิภาค ปัจจุบันเปิดทำการแล้ว ๑๐ แห่ง ศาลปกครองได้ดำเนินการวินิจฉัยคดีตามกระบวนวิธีพิจารณาคดีปกครอง ๔ ขั้นตอน ได้แก่ ๑. ไต่สวนหาข้อเท็จจริง ๒. ตุลาการผู้แถลงคดีเสนอคำแถลงการณ์ ๓. ศาลพิจารณาพิพากษา ๔. ศาลบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาตุลาการศาลปกครองปฏิบัติหน้าที่ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดังนั้นก่อนเข้ารับหน้าที่ ตุลาการทุกรุ่นจะได้รับพระบรมราชานุญาติให้เข้าเฝ้าเพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณ นอกจากศาลปกครองที่ทำหน้าที่พิจารณาตัดสินคดีและมีคำพิพากษาที่เป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติงานของหน่วยราชการต่างๆ แล้ว สำนักงานศาลปกครองยังเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับศาลปกครองและแนวทางการปฏิบัติราชการที่ถูกต้องให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ประชาชน ผู้นำชุมชนและสื่อมวลชน ตลอดจนผลิตสื่อหลายประเภทให้ความรู้อย่างแพร่หลาย นอกจากนั้นยังสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์กับต่างประเทศ โดยร่วมมือทางวิชาการกับประเทศต่างๆ เช่น สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สาธารณรัฐฟินแลนด์ ฯลฯ พัฒนาด้านวิชาการกฎหมายปกครองและกฎหมายมหาชน พัฒนาด้านบุคลากร และสร้างบรรทัดฐานการพิจารณาพิพากษาคดีปกครองให้อยู่ในระดับสากล และในปี ๒๕๕๐ ศาลปกครองได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมใหญ่สมาคมศาลปกครองสูงสุดระหว่างประเทศ (IASAJ) ครั้งที่ ๙ เมื่อวันที่ ๒๒ –๒๔ พฤศจิกายน ซึ่งเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียที่ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมดังกล่าว
จ. กรุงเทพมหานคร
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ศาลปกครอง
ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ศาลปกครอง
ประวัติศาสตร์การจัดตั้งศาลปกครอง อาจนับย้อนอดีตไปในปีพุทธศักราช ๒๔๑๗ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งที่ปรึกษาราชการแผ่นดินขึ้น ให้ทำหน้าที่สำคัญประการหนึ่ง คือ พิจารณาเรื่องที่ราษฎรได้รับความเดือดร้อน ในลักษณะเดียวกันกับสภาแห่งรัฐของประเทศในภาคพื้นทวีปยุโรป ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดในการจัดตั้งองค์กรที่ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีปกครองขึ้นในประเทศไทย ต่อมาได้มีความพยายามที่จะให้มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีปกครองเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ประชาชนเรื่อยมา จนกระทั้งปรากฏเป็นจริงเมื่อมีการจัดตั้งศาลปกครองและเริ่มเปิดทำการในวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ส่งผลให้กระบวนการยุติธรรมของไทยได้เปลี่ยนแปลงครั้งประวัติศาสตร์ จากการที่มีระบบศาลเดี่ยวมาเป็นระบบศาลคู่นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา สำนักงานศาลปกครองจึงมีนโยบายจัดทำพิพิธภัณฑ์ศาลปกครองขึ้น เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ทรงคุณค่า สำหรับให้คนรุ่นปัจจุบันและรุ่นต่อๆ ไป ศึกษา ค้นคว้าและเรียนรู้เกี่ยวกับต้นกำเนิดและพัฒนาการของกระบวนการยุติธรรมทางปกครองไทยอันเป็นที่มาของศาลปกครองไทยในปัจจุบัน โดยได้จัดเตรียมพื้นที่สำหรับจัดทำพิพิธภัณฑ์ในการออกแบบก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลปกครอง ได้กำหนดพื้นที่บริเวณชั้น ๒ ส่วนด้านหน้าของอาคารเนื้อที่จำนวน ๑๘๗.๒๐ ตารางเมตร
การจัดแสดงในห้องพิพิธภัณฑ์ศาลปกครอง แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๓ ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ ๑ ความเป็นมาของศาลปกครอง ส่วนที่ ๒ วิวัฒนาการขององค์กรวินิจฉัยคดีปกครอง และส่วนที่ ๓ ศาลปกครอง ออกแบบจัดแสดงบนฝาผนังโดยรอบของห้องเป็นหลักแบ่งเป็นโซนตามยุคสมัย เดินตามเวลาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ใช้การจารึกเป็นแนวคิดหลักในการนำเสนอเรื่องราว โดยใช้เทคโนโลยีหลากหลายชนิด เช่น การแกะสลักบนหิน การกัดกรดสนิมโลหะ การเผาด้วยความร้อน การตัดด้วยเลเซอร์ บอกเล่าที่มาและเรื่องราวของศาลปกครองบนผนังที่ตกแต่งด้วยวัสดุที่แตกต่างกัน เป็นสัญลักษณ์แทนการเคลื่อนที่ของกาลเวลาและวิวัฒนาการของสังคมจากยุคหนึ่งไปสู่ยุคหนึ่ง ผสมกับงานศิลปกรรมที่ฝาผนัง บอกเล่าเนื้อหาด้วยกราฟิกและวีดิทัศน์ ส่วนการจัดวางทรัพยากรออกแบบโดยเน้นถึงความงานทันสมัย ใช้พื้นที่ของห้องให้น้อยที่สุด
ส่วนที่ ๑ ความเป็นมาของศาลปกครอง
กล่าวถึงในอดีตประเทศไทยไม่มีองค์กรชี้ขาดคดีปกครองโดยเฉพาะ การร้องเรียนเรื่องความเดือดร้อนของประชาชนต่อผู้ปกครองประเทศมีรูปแบบแตกต่างกันไปตามแต่ละ ยุคสมัยเช่น สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชใช้วิธีการสั่นกระดิ่งร้องทุกข์ สมัยอยุธยาใช้วิธีร้องเรียนต่อเจ้าขุนมูลนาย หรือต่อพระมหากษัตริย์ ผ่านเจ้าขุนมูลนายที่ตนสังกัด สมัยรัตนโกสินทร์ในรัชกาลที่ ๓ ใช้วิธีตีกลองร้องทุกข์ (กลองวินิจฉัยเภรี) หน้าพระบรมมหาราชวังและในรัชกาลที่ ๔ ถึงรัชกาลที่ ๕ ใช้วิธีทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาด้วยตนเอง
ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๑๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปการปกครองประเทศเพื่อให้ทัดเทียมอารยประเทศและทรงจัดตั้งที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) ขึ้น ประกอบด้วยขุนนางระดับสูงและพระราชวงศ์ จำนวน ๑๒ ท่าน ทำหน้าที่สำคัญประการหนึ่งคือ พิจารณาเรื่องที่ราษฎรได้รับความเดือดร้อน เช่นเดียวกับสภาแห่งรัฐ (conseil d’ Etatหรือ council of state) ของประเทศในภาคพื้นทวีปยุโรป จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาไปสู่การจัดตั้งองค์กรวินิจฉัยคดีปกครองในรูปแบบศาลปกครองในปัจจุบัน
ส่วนที่ ๒ วิวัฒนาการขององค์กรวินิจฉัยคดีปกครอง
หลังผ่านพ้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ความพยายามในการจัดตั้งองค์กรวินิจฉัยคดีปกครองได้วิวัฒนามาเป็นลำดับ ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ รัฐบาลโดยหลวงประดิษฐ์ มนูธรรม (ดร.ปรีดี พนมยงค์) พยายามผลักดันให้มีการจัดตั้งองค์กรทำหน้าที่พิจารณาข้อพิพาททางปกครองระหว่างรัฐกับเอกชน ในลักษณะเดียวกันกับ “สภาแห่งรัฐ”ของประเทศฝรั่งเศส และพ.ศ. ๒๔๗๖ ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ.๒๔๗๖ จัดตั้งคณะกรรมการกฤษฎีกาขึ้น มีกรรมการ ๒ ประเภท คือกรรมการร่างกฎหมายและกรรมการกฤษฎีกา โดยให้ทำหน้าที่พิจารณาคดีปกครองตามที่กฎหมายกำหนด แต่กรรมการกฤษฎีกาไม่ได้ทำหน้าที่ดังกล่าว เนื่องจากยังไม่ได้ตรากฎหมายให้อำนาจพิจารณาคดีปกครอง
หลังจากนั้นได้มีการจัดตั้งองค์กรวินิจฉัยคดีปกครองหลากหลายองค์กรเรื่อยมา ได้แก่คณะกรรมาธิการเรื่องราวร้องทุกข์ (พ.ศ.๒๔๗๗) คณะกรรมการพิจารณาเรื่องราวร้องทุกข์ (พ.ศ.๒๔๘๗)และคณะกรรมการเรื่องราวร้องทุกข์ (พ.ศ.๒๔๙๒) เพื่อทำหน้าที่พิจารณาคดีปกครอง จนกระทั่งได้มีการตราพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ จัดตั้งคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยมีกรรมการ ๒ ประเภท คือ กรรมการร่างกฎหมายและกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่พิจารณาและวินิจฉัยเรื่องราวร้องทุกข์ (คดีปกครอง) และพัฒนาความรู้เรื่องหลักกฎหมายปกครองให้แก่สังคมไทยสำหรับเตรียมการจัดตั้งศาลปกครองในอนาคต
การพิจารณาคดีปกครองของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์มีลักษณะพิเศษ คือใช้ระบบไต่สวนซึ่งได้รูปแบบจากสภาแห่งรัฐของประเทศฝรั่งเศสในระยะต้น คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์จึงเป็นสถาบันต้นแบบของศาลปกครองไทย
ส่วนที่ ๓ ศาลปกครอง
ศาลปกครองจัดตั้งเป็นผลสำเร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชฯ โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐บัญญัติให้จัดตั้งศาลปกครองแยกต่างหากจากศาลอื่น และประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ วันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๒ ศาลปกครองมีอำนาจหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีปกครอง ซึ่งเป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชนหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง
ศาลปกครองเปิดทำการครั้งแรกวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๔๔ ณ ที่ทำการชั่วคราวอาคาร เอ็มไพร์ ทาวเวอร์ถนนสาทรใต้(ต่อมาย้ายที่ทำการมายังอาคารศาลปกครอง ถนนแจ้งวัฒนะ เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๑)ทำให้ประเทศไทยมีองค์กรตุลาการที่ทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดคดีปกครอง เพื่ออำนวยความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม นับแต่นั้นมา
ศาลปกครองแบ่งเป็นสองชั้นศาล คือ ศาลปกครองสูงสุดและศาลปกครองชั้นต้นซึ่งประกอบด้วยศาลปกครองกลางและศาลปกครองในภูมิภาค ปัจจุบันเปิดทำการแล้ว ๑๐ แห่ง ศาลปกครองได้ดำเนินการวินิจฉัยคดีตามกระบวนวิธีพิจารณาคดีปกครอง ๔ ขั้นตอน ได้แก่ ๑. ไต่สวนหาข้อเท็จจริง ๒. ตุลาการผู้แถลงคดีเสนอคำแถลงการณ์ ๓. ศาลพิจารณาพิพากษา ๔. ศาลบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาตุลาการศาลปกครองปฏิบัติหน้าที่ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดังนั้นก่อนเข้ารับหน้าที่ ตุลาการทุกรุ่นจะได้รับพระบรมราชานุญาติให้เข้าเฝ้าเพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณ
นอกจากศาลปกครองที่ทำหน้าที่พิจารณาตัดสินคดีและมีคำพิพากษาที่เป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติงานของหน่วยราชการต่างๆ แล้ว สำนักงานศาลปกครองยังเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับศาลปกครองและแนวทางการปฏิบัติราชการที่ถูกต้องให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ประชาชน ผู้นำชุมชนและสื่อมวลชน ตลอดจนผลิตสื่อหลายประเภทให้ความรู้อย่างแพร่หลาย
นอกจากนั้นยังสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์กับต่างประเทศ โดยร่วมมือทางวิชาการกับประเทศต่างๆ เช่น สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สาธารณรัฐฟินแลนด์ ฯลฯ พัฒนาด้านวิชาการกฎหมายปกครองและกฎหมายมหาชน พัฒนาด้านบุคลากร และสร้างบรรทัดฐานการพิจารณาพิพากษาคดีปกครองให้อยู่ในระดับสากล
และในปี ๒๕๕๐ ศาลปกครองได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมใหญ่สมาคมศาลปกครองสูงสุดระหว่างประเทศ (IASAJ) ครั้งที่ ๙ เมื่อวันที่ ๒๒ –๒๔ พฤศจิกายน ซึ่งเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียที่ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมดังกล่าว
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
ตะลุยโลกใบใหญ่ พิพิธภัณฑ์ศาลปกครอง
ตะลุยโลกใบใหญ่ สัปดาห์นี้ “พี่ม้ามังกร” ขอพาน้องๆ ไปชม พิพิธภัณฑ์ศาลปกครอง ซึ่งตั้งอยู่ชั้น 2 อาคารศาลปกครอง ภายในศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะกันครับ แต่ก่อนอื่นเรามารู้จักศาลปกครองกันก่อนนะครับ ศาลปกครอง เป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 276 และมีการจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
ศาล ศาลปกครอง
ศูนย์วัฒนธรรมอิสลามแห่งประเทศไทย
จ. กรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ
จ. กรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์การแพทย์ไทย อวย เกตุสิงห์
จ. กรุงเทพมหานคร