พิพิธภัณฑ์ดิน กรมพัฒนาที่ดิน


ที่อยู่:
อาคาร 6 ชั้น 1 กรมพัฒนาที่ดิน 2003/61 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์:
0-2579-8515
โทรสาร:
02-260-2141
วันและเวลาทำการ:
ในวันและเวลาราชการ 9.00 - 16.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม เข้าชมเป็นหมู่คณะและต้องการวิทยากรบรรยายให้ความรู้ ติดต่อที่ฝ่ายเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม
เว็บไซต์:
ปีที่ก่อตั้ง:
2549
ของเด่น:
ตัวอย่างชุดดินจากทั่วประเทศ
จัดการโดย:

โดย: -

วันที่: 23 กรกฎาคม 2555

โดย: -

วันที่: 23 กรกฎาคม 2555

โดย: -

วันที่: 23 กรกฎาคม 2555

โดย: -

วันที่: 23 กรกฎาคม 2555

โดย: -

วันที่: 23 กรกฎาคม 2555

โดย: -

วันที่: 23 กรกฎาคม 2555

โดย: -

วันที่: 23 กรกฎาคม 2555

โดย: -

วันที่: 23 กรกฎาคม 2555

โดย: -

วันที่: 23 กรกฎาคม 2555

โดย: -

วันที่: 23 กรกฎาคม 2555

โดย: -

วันที่: 23 กรกฎาคม 2555

โดย: -

วันที่: 23 กรกฎาคม 2555

โดย: -

วันที่: 23 กรกฎาคม 2555

โดย: -

วันที่: 23 กรกฎาคม 2555

โดย: -

วันที่: 23 กรกฎาคม 2555

โดย: -

วันที่: 23 กรกฎาคม 2555

โดย: -

วันที่: 23 กรกฎาคม 2555

โดย: -

วันที่: 23 กรกฎาคม 2555

โดย: -

วันที่: 23 กรกฎาคม 2555

โดย: -

วันที่: 23 กรกฎาคม 2555

โดย: -

วันที่: 23 กรกฎาคม 2555

โดย: -

วันที่: 23 กรกฎาคม 2555

โดย: -

วันที่: 23 กรกฎาคม 2555

ผังจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์ดิน กรมพัฒนาที่ดิน...

โดย: -

วันที่: 22 มิถุนายน 2555

ไม่มีข้อมูล

"พิพิธภัณฑ์ดิน"แห่งแรกและแห่งเดียวของไทย

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 04/01/2007

ที่มา: แนวหน้า

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์ดินแห่งแรกของประเทศไทย

ชื่อผู้แต่ง: ประกิต เพ็งวิชัย | ปีที่พิมพ์: 19,392 (1 ต.ค. 2549)

ที่มา: เทคโนโลยีชาวบ้าน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เดินดินไปดูพิพิธภัณฑ์ดิน

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 27-09-2549

ที่มา: ผู้จัดการรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์ดิน

ชื่อผู้แต่ง: กรมพัฒนาที่ดิน | ปีที่พิมพ์: 2545

ที่มา: รายงานประจำปี 2545

แหล่งค้นคว้า: กรมพัฒนาที่ดิน

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

อยู่เพื่อใจดวงรัก

ชื่อผู้แต่ง: ชมัยภร แสงกระจ่าง | ปีที่พิมพ์: 2552

ที่มา: กรุงเทพฯ: เพื่อนดี

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์ดิน

เชื่อว่าแทบทุกคนเคยปลูกต้นไม้  สิ่งแรกที่สัมผัสคือดิน  เรามักจะประสบกับปัญหาว่าทำอย่างไรต้นไม้จึงจะงอกงามดี  ถ้าสังเกตอีกเล็กน้อยจะพบว่าดินนั้นมีหลายสีหลายประเภท  พิพิธภัณฑ์ดินของกรมพัฒนาที่ดิน  ช่วยไขข้อข้องใจเหล่านี้ได้
               
พิพิธภัณฑ์ดินอยู่ชั้นล่างของอาคารกรมพัฒนาที่ดิน  ริมถนนพหลโยธิน  ใกล้กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  เปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ 23 พ.ค.2549 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี  เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด  ซึ่งเราจะเห็นแผ่นดินเหนียวที่ทรงลงพระนามาภิไธย  และเรายังได้เห็นพระบรมฉายาลักษณ์พระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2544 ณ โรงเรียนบ้านเขาเต่า อำเภอหัวหิน  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  “ดินทำงานเท่ากับมีปุ๋ย  ถ้าดินไม่ปลูกอะไร  อยู่เฉยๆดินไม่ทำงาน  ถ้าอยากให้ดินดีใส่ถั่ว  ตรงปลายรากมีปม  ก็เป็นปุ๋ยไนโตรเจน ไปทำให้ปุ๋ยทำงาน รากทำงาน ทำให้ดินดีขึ้น”
               
ความน่าสนใจของพิพิธภัณฑ์อยู่ที่การมีชุดดินมาจากทั่วประเทศ  ลองสังเกตดูผู้เข้าชมจะรู้ว่าเนื้อดินของบ้านของตนเองเป็นดินประเภทไหน  ในการเข้าชมเป็นหมู่คณะสามารถติดต่อฝ่ายเลขานุการของกรมพัฒนาที่ดิน  ที่นี่จะจัดวิทยากรผู้เชี่ยวชาญเรื่องดินพานำชมให้ความรู้  ในการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ครั้งนี้มีผู้เชี่ยวชาญ 2 ท่านคือ ดร.อรรณพ พุทธโส  นักสำรวจดินปฏิบัติการ  และคุณศุภฤกษ์ กลิ่นหวล นักสำรวจดินชำนาญการ  ทั้งสองท่านได้อธิบายการทำงานของกรมพัฒนาที่ดินว่ามีสำนักงานและนักสำรวจดินอยู่ทุกจังหวัดของประเทศไทย  งานสำรวจดินครั้งแรกเริ่มทำในปี 2478 การทำงานได้ประสานงานกับชุมชน  ปัจจุบันมีหมอดินอาสา  เป็นแกนนำชุมชน อาจเป็นผู้ใหญ่บ้าน  กำนัน   เกษตรกรตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ  จะทำหน้าที่ในการเผยแพร่ความรู้ในการปรับปรุงดิน  ในแต่ละอำเภอมีการจัดประชุมเดือนละประมาณหนึ่งครั้ง
               
ถัดจากการนำเสนอประวัติเรื่องราวของกรมพัฒนาที่ดิน  เป็นมุมจัดแสดงเครื่องมือและอุปกรณ์ในการสำรวจดินสมัยก่อน  ปัจจุบันมีการนำภาพถ่ายดาวเทียมมาแปลผลวิเคราะห์ก่อนที่จะไปสำรวจภาคสนาม  อุปกรณ์บางชิ้นจึงล้าสมัย  จะมีแต่พวกสว่านเจาะดินที่ยังใช้อยู่
               
ในการสำรวจภาคสนาม  นักสำรวจดินได้ทำการขุดดินลงไปเป็นหลุมใหญ่  เมื่อมองลงไปตามแนวดิ่งจะเห็นการทับถมกันของดินเป็นชั้นๆ ตรงนี้เรียกว่า  หน้าตัดดิน (soil profile)จุดสังเกตที่มีความแตกต่างกัน เช่นสีดิน  เนื้อดิน ชนิดของวัสดุหรือสิ่งที่ปะปนอยู่ในดิน  ถ้าเป็นตามแนวขนานเป็นชั้นๆจะเรียกว่าชั้นดิน(soil horizon)
               
เมื่อได้ตัวอย่างดินในแต่ละพื้นที่กลับมา  ได้มีการจำแนกในระดับชุดดิน (series) ในแต่ละชุดดินจะมีการตั้งชื่อตามจังหวัด  อำเภอ หมู่บ้าน  ยกตัวอย่างชื่อชุดดินเช่น  ชุดดินสมุทรสงคราม  ชุดดินบางเขน  ชุดดินแม่สาย  ชุดดินลำปาง  ชุดดินทุ่งกุลร้องไห้  ชุดดินดอยปุย  ชุดดินสูงเนิน  เป็นต้น  ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 400 ชุดดิน  การเข้าชมในพิพิธภัณฑ์นี้ความตื่นตาตื่นใจอยู่ที่สีสันของหน้าตัดดินจำลองในแต่ละภาค  เมื่อมาจัดเรียงกัน  ประกอบกับการจัดสถานที่จัดแสงไฟ  ทำให้มีความสวยงามชวนติดตาม
               
ในการอธิบายเกษตรกรและบุคคลทั่วไป  กรมพัฒนาที่ดินได้มีการจัดหมวดหมู่ชุดดินเหล่านี้  โดยดูที่ลักษณะ  คุณสมบัติและศักยภาพของดินที่มีผลต่อการให้ผลผลิตของพืช เรียกว่า กลุ่มชุดดิน การสังเกตง่ายๆ อย่างเช่นกลุ่มดินทราย  กลุ่มดินเหนียว  กลุ่มดินตื้น  กลุ่มดินลูกรัง   
               
วิทยากรนำชมให้ความเห็นว่าการที่เกษตรกรรู้ว่าดินในพื้นที่ตนเองเป็นอย่างไร  มีประโยชน์ในการปลูกพืช  ยกตัวอย่างบางพื้นที่ขุดลงไปไม่ลึกมากก็เจอหิน  คือเจอปัญหาแล้ว  จะต้องแก้ไขว่าควรจะปลูกพืชอะไร  ดินลักษณะนี้สามารถปลูกพืชไร่หรือทำนาได้  แต่ไม่เหมาะกับการปลูกพืชที่มีรากชอนไช
               
เมื่อเดินชมส่วนของตัวอย่างชุดดินและหน้าตัดดินจากพื้นที่ต่างๆแล้ว  ส่วนจัดแสดงถัดไปได้อธิบายเรื่องดินที่มีปัญหาต่อเกษตรกร  ได้แก่  ปัญหาดินเค็ม ดินเปรี้ยวจัด  ดินอินทรีย์  ดินปนกรวด ดินตื้น  รวมไปถึงพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง  เมื่อถามว่าแล้วดินอะไรที่แก้ไขได้ยากที่สุด  ทั้งสองท่านเห็นพ้องว่า  ดินเค็ม พบมากที่ภาคอีสาน  จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น  ควรมีการป้องกันไม่ให้เกิดดินเค็มจะดีกว่า  ลักษณะการกระจายตัวของดินเค็มเป็นการระเหยขึ้นมาของหินเกลือที่อยู่ใต้ดิน  พอมาสู่ผิวดินจะเป็นคราบเกลือ  วิธีการป้องกันควรให้ผิวดินมีต้นไม้ปกคลุม  อย่าให้เกลือขึ้นมาข้างบน  พืชที่ขึ้นได้ดีในดินเค็มคือต้นมะขามเทศ  ต้นตาล  ต้นหอม  หรือถ้าเป็นดินเปรี้ยวภาคกลาง  เกิดมาจากในอดีตมีน้ำทะเลขึ้นลง  ทำให้มีกำมะถันอยู่ที่หน้าดินเยอะ  ช่วงที่ดินแห้งกำมะถันจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจน  ปล่อยกรดออกมาทำให้ดินเปรี้ยว  ปลูกข้าวไม่ได้  วิธีแก้ไขคือต้องทำให้พื้นที่ดินตรงนั้นมีน้ำขัง  จะช่วยลดปัญหานี้ได้
               
ตรงส่วนจัดแสดงสัณฐานของดิน  ให้ความรู้เรื่องการประเมินสมบัติของดิน เช่น  การระบายน้ำ สภาพแวดล้อมในการเกิดดิน พัฒนาการของดิน  ความอุดมสมบูรณ์ของดิน  ทำได้โดยการตรวจสอบลักษณะสีดิน  เนื้อดิน  โครงสร้างของดิน  ร่องรอยแตกระแหง  เศษชิ้นส่วนของหิน
               
ใกล้กันมีต้นหญ้าแฝกแสดงให้เห็นรากที่ยาวมาก  อันเป็นลักษณะเด่นของการยึดเกาะผิวดิน  วิทยากรได้อธิบายว่า  โครงการหญ้าแฝก  เป็นโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  การส่งเสริมให้ปลูกหญ้าแฝกก็เพื่อลดการพังทลายของหน้าดิน 
               
แล้วถ้าใครไม่เคยเห็นรังของสิ่งมีชีวิตในดินแบบทั้งรัง  ที่นี่เขามีให้ดูกันทั้งรัง  ทั้งยังมีแว่นขยายให้ดูกันชัดยิ่งขึ้นด้วย  สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์  อย่างไส้เดือนดินจะมีมูลเรียกว่า ขุยไส้เดือน  ช่วยเพิ่มแร่ธาตุในดินพวกแคลเซียม  แมกนีเซียม  ให้กับดิน หรืออย่างดินปลวกก็จัดว่าเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์  ปูขุดรูอยู่ในดิน แล้วที่เป็นก้อนดินกลมๆ คือสิ่งที่ตัวด้วงสร้างขึ้นมา 
               
ในรอบปีหนึ่ง  กรมพัฒนาที่ดินและพิพิธภัณฑ์ดินได้จัดให้มีการจัดงานสถาปนากรมในวันที่ 23-25  พฤษภาคมของทุกปี  ในปี 2555 จุดเด่นของงานอยู่ที่นิทรรศการตามรอยพระบาทจอมปราชญ์แห่งการพัฒนาที่ดิน  นำเสนอด้วยระบบโรงภาพยนตร์ 3 มิติ  ภายในงานมีการฝึกอบรมการผลิตและการใช้น้ำหมักชีวภาพ   มีหมอดินอาสามาถ่ายทอดความรู้  มีการเปิดค่ายยุวหมอดิน  เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง  และในงานยังมีการจำหน่ายสินค้าโอทอป สินค้าเกษตรปลอดสารพิษ
               
----------------------------------------------------
สาวิตรี  ตลับแป้น /ผู้เขียน
ข้อมูลจาก  :  สำรวจภาคสนามเมื่อวันที่  6  เดือนกุมภาพันธ์  พ.ศ. 2555
----------------------------------------------------
การเดินทาง : ที่ตั้งของกรมพัฒนาที่ดินและพิพิธภัณฑ์ดินอยู่ติดกับถนนพหลโยธิน  ฝั่งเดียวกันและใกล้กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ฝั่งตรงข้ามเยื้องกันเป็นซอยเสนานิคม
-----------------------------------------------
อ้างอิง  :  กรมพัฒนาที่ดินเตรียมจัดงานครบรอบวันสถาปนา 49 ปีอย่างยิ่งใหญ่  ในวันที่ 23-25 พฤษภาคมนี้.ไทยโพสต์(25-26 เมษายน 2555 : เอ็กซ์ไซท์หน้า 3).
              ข้อมูลการสัมภาษณ์เมื่อวันที่  6  เดือนกุมภาพันธ์   พ.ศ. 2555
              แผ่นพับประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์ดิน
ชื่อผู้แต่ง:
-

รีวิวของพิพิธภัณฑ์ดิน

ใครบ้างจะรู้ว่าประเทศไทยเรานี้มีดินอยู่ด้วยกันมากมายหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดก็มีความแตกต่างกันตามคุณสมบัติทางกายภาพทั้งสิ้น ดินบางชนิดก็เหมาะแก่การใช้ประโยชน์ด้านเกษตรกรรมบางชนิดก็ไม่เหมาะ นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรที่ได้ในแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน ดังนั้น เพื่อเป็นการจำแนกแยกแยะดินแต่ละประเภทออกจากกันอย่างมีระบบและถูกต้องตามหลักวิชาการ ทางกรมพัฒนาที่ดินหน่วยงานหลักที่ทำงานด้านการศึกษาสำรวจทรัพยากรดินและที่ดินของประเทศไทย จึงได้วางแนวทางการจัดการดินตามกลุ่มชุดดิน เพื่อการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจในระดับจังหวัด และได้จัดทำแผนที่ดินลักษณะต่างๆ โดยแบ่งดินออกเป็น 62 กลุ่มชุดดิน ยึดตามลักษณะและคุณสมบัติดินที่มีศักยภาพทางการเกษตรที่คล้ายคลึงกันมาอยู่ในกลุ่มชุดดินเดียวกัน

และเพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนและเกษตรกรได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องดินของประเทศไทยมากขึ้น กรมพัฒนาที่ดินจึงได้จัดทำ "พิพิธภัณฑ์ดิน" หรือ "Soil Museum" ขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย ที่มีความทันสมัยและสมบูรณ์ที่สุดในเอเชีย ซึ่งภายในพิพิธภัณฑ์ดินแห่งนี้จะจัดแสดงประวัติความเป็นมาของการก่อตั้งกรมพัฒนาที่ดิน รวมทั้งมีการแสดงเครื่องไม้เครื่องมือในการสำรวจดินยุคแรกๆ แสดงแหล่งวัตถุกำเนิดดิน การเกิดดิน ตลอดจนงานในโครงการพระราชดำริด้านต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

นอกจากนี้ ยังมีจัดแสดงหุ่นจำลองภาคหน้าตัดดิน 62 กลุ่มชุดดินทั่วประเทศ พร้อมด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เก็บรวบรวมข้อมูลวิชาการเกี่ยวกับดิน วิธีการปรับปรุงดินทั้ง 62 กลุ่มชุดดิน ที่สามารถสืบค้นหาได้ด้วยตนเอง เพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้อย่างคุ้มค่า แม้ว่าพื้นที่นั้นจะเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการผลิตต่ำ หรือเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาต่อการใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตรก็ตาม

พิพิธภัณฑ์ดินนั้นถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2545 แต่เนื่องด้วยในปี 2549 เป็นปีที่กรมพัฒนาที่ดินได้ครบรอบการสถาปนากรมฯ 43 ปี จึงได้ถือโอกาสปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ดินให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้นเพื่อเป็น แหล่งรวบรวมศาสตร์แห่งดินจากทั่วประเทศไว้ ณ จุดเดียว โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานเปิดพิพิธภัณฑ์ดินแห่งนี้เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2549

พิพิธภัณฑ์ดินแห่งนี้ตั้งอยู่ในกรมพัฒนาที่ดิน ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ซึ่งผู้สนใจสามารถเข้าไปชมได้ในวันเวลาราชการ หรือถ้าจะเข้าชมเป็นหมู่คณะและต้องการวิทยากรบรรยายให้ความรู้ก็สามารถ ติดต่อที่ฝ่ายเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรมได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 0-2579-8515 รับรองว่าท่านจะได้รู้จักดินในประเทศไทยดีขึ้นอย่างแน่นอน

ตั้งแต่เปิดพิพิธภัณฑ์ดินครั้งนี้นับว่าได้รับความสนใจจากนักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไปอย่างมาก ในแต่ละวันจะมีผู้คนแวะเวียนเข้ามาศึกษาหาความรู้จากพิพิธภัณฑ์นี้อย่างไม่ขาดสาย ซึ่งเป็นนิมิตรหมายอันดีที่มีผู้ให้ความสำคัญในเรื่องดิน ที่นับเป็นปัจจัยพื้นฐานของการทำเกษตรและกิจกรรมด้านอื่นๆ อีกมากมาย เมื่อประชาชนเป็นผู้ใช้ทรัพยากรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพยากรดินที่ มีอยู่ในท้องถิ่นของตนเองแล้ว ก็จะก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรเหล่านั้นได้อย่างถูกต้องและตรงตามลักษณะทางกายภาพของดินนั้นๆ ส่งผลต่อผลผลิตที่ได้มีคุณภาพและปริมาณเพิ่มขึ้นเชื่อมโยงไปถึงรายได้และคุณภาพชีวิตของเกษตรกรด้วย

ถ้าท่านกำลังอยากรู้ว่าดินแถวบ้านท่านเป็นดินชนิดไหน และมีศักยภาพเหมาะแก่การใช้ประโยชน์ในด้านใด สามารถค้นหาคำตอบเหล่านี้ได้ที่พิพิธภัณฑ์ดินของกรมพัฒนาที่ดินแห่งนี้ 

พิพิธภัณฑ์ดินที่นี่ถือได้ว่าเป็นแห่งแรกในประเทศไทย และมีความทันสมัยสมบูรณ์แบบที่สุดในเอเชีย ซึ่งภายในพิพิธภัณฑ์ดินแห่งนี้นอกจากจะจัดแสดงประวัติความเป็นมาของการก่อ ตั้งกรมพัฒนาที่ดินแล้ว ก็ยังมีมุมสำหรับการแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ในการสำรวจดินยุคแรก ๆ อาทิ เข็มทิศ จอบ เสียม กล่องอุปกรณ์สนามสำหรับการถ่ายภาพทางอากาศและการสำรวจดิน หรืออย่างสว่านเจาะดิน ที่แยกย่อยออกมาเป็น “สว่านกระบอก” สำหรับใช้เจาะดินร่วนหรือดินทราย “สว่านใบมีด” เพื่อใช้เจาะดินเหนียว หรือจะเป็นชุดวัดปฏิกิริยาดินที่ใช้วัดความเป็นกรดเป็นด่างของดินและเครื่องมืออื่นๆอีกกว่า10ชนิด

ที่นี่มีการนำตัวอย่างดินด้านวิวัฒนาการการสำรวจจำแนกดินของประเทศไทยมาจัดแสดง ให้ชมด้วย ซึ่งจะบอกถึงการจำแนกดินว่าเป็นดินชนิดใด การกำเนิดของดินชนิดนั้นเป็นอย่างไร ควรอยู่ในสภาพพื้นที่ใด การระบายน้ำดีหรือไม่ พืชพรรณธรรมชาติที่เหมาะสมกับชนิดของดินและการใช้ประโยชน์ที่ดินปลูกพืชชนิด ใดมีข้อจำกัดใดและมีข้อเสนอแนะต่อสภาพดินในแต่ละชนิดพอสังเขปให้ด้วยซึ่งก็ นับว่ามีประโยชน์มากทีเดียว

เมื่อเดินเข้าไปถึงด้านในสุดของพิพิธภัณฑ์ก็จะพบ การแสดงหน้าตัดชุดดินของไทยตามสภาพภูมิประเทศจำแนกตามกลุ่มชุดดินที่ทางกรมพัฒนาที่ดินได้จัดหมวดหมู่ไว้ตามลักษณะ ศักยภาพ และการจัดการที่คล้ายคลึงกันซึ่งแบ่งดินออกเป็น 62 กลุ่มชุดดิน ซึ่งปัจจุบันพบว่าผลงานนี้มีการนำไปใช้อย่างกว้างขวาง

ยังมีมุมสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เก็บรวบรวมข้อมูลวิชาการเกี่ยวกับดิน และให้ศึกษาถึงวิธีการปรับปรุงดินทั้ง 62 กลุ่มชุดดิน ที่สามารถสืบค้นหาได้ด้วยตนเองอีกด้วย เรียกว่างานนี้เป็นประโยชน์ทางการเกษตรอย่างคุ้มค่า แม้ว่าพื้นที่นั้นจะเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการผลิตต่ำ หรือเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาต่อการใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตรก็ตามก็จะมีข้อแนะนำให้อย่างชัดเจน

นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างของดินเสียทั้งดินเปรี้ยวจัด ดินตื้น ดินเค็ม ดินเป็นทรายจัด ดินกรด ดินพรุ พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน พร้อมกับแผนที่ประเทศไทยที่บ่งชี้ว่า พื้นดินส่วนนี้มีลักษณะของดินเสียที่ควรแก้ไขอย่างไรอีกด้วย

ที่ขาดไม่ได้เลยก็คือมุมจัดแสดงโครงการอันเนื่องพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงได้รับการยกย่องว่าเป็น “ปราชญ์แห่งดิน” มีภาพและการบรรยายถึงแนวพระราชดำริที่เป็นประโยชน์ในโครงการต่างๆ อาทิ โครงการแกล้งดินที่ทรงให้มีการทดลองทำดินเปรี้ยวจัด โดยการระบายน้ำให้แห้งและศึกษาวิธีแก้ดินเปรี้ยว เพื่อนำผลไปแก้ปัญหาดินเปรี้ยวแก่ราษฎร โครงการหญ้าแฝก เพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดิน โครงการพัฒนาดินเลว ที่มีพระราชประสงค์ให้มีการฟื้นฟูสภาพดินเพื่อเกษตรกร เป็นต้น

ข้อมูลจาก: 
"พิพิธภัณฑ์ดิน"แห่งแรกและแห่งเดียวของไทย, แนวหน้า 04/01/2007 [http://www.naewna.com/news.asp?ID=42212 accessed 10022009]
เดินดินไปดูพิพิธภัณฑ์ดิน. ผู้จัดการรายวัน 27-09-2549

ชื่อผู้แต่ง:
-

เดินดินไปดูดินที่"พิพิธภัณฑ์ดิน"

ใครจะรู้บ้างว่าห่างจากแยกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไปไม่ไกลนักเป็นที่ตั้งของกรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งแม้ว่าบ่อยครั้งที่ฉันสัญจรผ่านก็ยังไม่เคยเหลียวมองเลยว่าภายในจะมีสิ่งใดน่าสนใจอยู่บ้าง คิดเพียงว่าเป็นสถานที่ราชการเท่านั้น จนเมื่อไม่นานมานี้ฉันก็มีโอกาสผ่านไปย่านนั้นอีกครั้ง และต้องสะดุดตากับป้ายขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่หน้ากรมพัฒนาที่ดินที่ประกาศเชิญชวนให้เข้าเยี่ยมชม "พิพิธภัณฑ์ดิน" ฟรี!! ด้วยความใคร่รู้เมื่อสบโอกาสว่างจึงไม่พลาดที่จะแวะชม ประโยชน์ส่งกลับไปให้ญาติพี่น้องนำไปพัฒนาผืนดินแถวท้องไร่ท้องนาบ้านฉันได้อย่างถูกวิธี
ชื่อผู้แต่ง:
-