โดย: -
วันที่: 12 เมษายน 2555
โดย: -
วันที่: 12 เมษายน 2555
โดย: -
วันที่: 12 เมษายน 2555
โดย: -
วันที่: 12 เมษายน 2555
โดย: -
วันที่: 12 เมษายน 2555
โดย: -
วันที่: 12 เมษายน 2555
โดย: -
วันที่: 12 เมษายน 2555
โดย: -
วันที่: 12 เมษายน 2555
โดย: -
วันที่: 12 เมษายน 2555
โดย: -
วันที่: 12 เมษายน 2555
โดย: -
วันที่: 12 เมษายน 2555
โดย: -
วันที่: 12 เมษายน 2555
โดย: -
วันที่: 12 มิถุนายน 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 15-01-2552
ที่มา: คม ชัด ลึก
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 15-01-2552
ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 16-01-2552
ที่มา: ไทยรัฐ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 12-01-2552
ที่มา: เดลินิวส์
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 18-01-2552
ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 15 มิถุนายน 2553
ที่มา: ผู้จัดการ
แหล่งค้นคว้า:
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของไปรสนียาคาร
บริเวณเชิงพระปกเกล้า ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งพระนคร ปากทางออกของคลองโอ่งอ่าง (คลองบางลำพู) ย่านการค้าที่จอแจแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ตึกบางสีขาวสูงสามชั้นตามแบบสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกตั้งเด่นอยู่ในชื่อ “ไปรสนียาคาร”พิพิธภัณฑ์นี้เป็นอาคารที่สร้างขึ้นมาใหม่เมื่อปี พ.ศ.2546 หลังจากตัวอาคารเดิมถูกรื้อเพื่อสร้างสะพานคอนกรีตที่ชื่อว่าสะพานพระปกเกล้าในปี พ.ศ.2525 ในคราวสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี สะพานนี้อยู่คู่ขนานไปกับสะพานพุทธ การก่อสร้างกระทำแต่เฉพาะส่วนหน้าที่เป็นคอนกรีต ส่วนที่เป็นตัวเรือนไม้สัก หลังการรื้อถอนทางกรมทางหลวงชนบท (กรมโยธาธิการและผังเมืองในอดีต) ได้นำไปเก็บรักษาไว้ จนกระทั่งปีพ.ศ.2552 กรมทางหลวงชนบทได้อนุญาตให้บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด เข้าใช้ประโยชน์อาคารจำลองหลังนี้เป็นพิพิธภัณฑ์การสื่อสารไปรษณีย์ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ไปรสนียาคารได้เปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 มกราคม 2552
แต่เดิมอาคารไปรสนียาคารเคยเป็นบ้านของพระปรีชากลการ (สำอางค์ อมาตยกุล) แต่ต่อมาถูกทางการริบเข้ามาเป็นของหลวง ตึกพิพิธภัณฑ์นี้ถือเป็นอนุสรณ์สถานแห่งกาลเวลา เพื่อบอกเล่าเรื่องราวตั้งแต่ครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานกิจการไปรษณีย์แก่ชาวสยาม ในวันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ.2426 และโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีผู้สำเร็จราชการกรมไปรษณีย์พระองค์แรก
กิจการไปรษณีย์เริ่มจากการรับฝากส่งจดหมายและหนังสือในเขตพระนครและธนบุรี ในรัศมี 4 ด้าน ทิศเหนือถึงสามเสน ทิศตะวันออกถึงสระปทุม ทิศใต้ถึงบางคอแหลม ทิศตะวันตกถึงตลาดพลู ต่อมากิจการได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว สามารถเปิดบริการได้ทั้งในและต่างประเทศ ในปี พ.ศ.2432 ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนไปรษณีย์และโทรเลขขึ้นที่อาคารไปรสนียาคาร เพื่อผลิตบุลากรให้ทันกับการขยายตัวขององค์กร
การจัดแสดงของไปรสนียาคารในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 2 ชั้น ชั้นแรกเป็นนิทรรศการพระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื้อหาเกี่ยวกับการก่อตั้งกิจการไปรษณีย์ไทย จัดแสดงเป็นภาพประกอบคำอธิบายและตราไปรษณียากรที่เกี่ยวข้อง ตราไปรษณียากรที่จัดแสดงเป็นการจัดทำขึ้นมาใหม่ให้เหมือนของเดิม ได้แก่ ตราไปรษณียากรชุดพระบรมฉายาลักษณ์ ร.5 ตราไปรษณียากรชุด 125 ปี ไปรษณีย์ไทย ตราไปรษณียากรชุดบุรุษไปรษณีย์ แล้วก็ยังมีนิทรรศการพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช และประวัติของไปรสนียาคาร อาคารที่ทำการไปรษณีย์แห่งแรกของไทย
ชั้นนี้ตรงมุมห้องมีสิ่งจัดแสดงชิ้นสำคัญได้แก่ นาฬิกาประจำตึกไปรสนียาคาร นาฬิกาเรือนนี้มีความเป็นมาว่า สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงษ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ขณะที่ทรงเป็นกรมหลวงทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีสำเร็จราชการกรมไปรษณีย์และโทรเลข ได้ทรงสั่งซื้อมาจากบริษัท J.W. BENSON จำกัด ประเทศอังกฤษ ซึ่งมีชื่อเสียงในการผลิตนาฬิกาที่ใช้กับหอนาฬิกา (TURRET CLOCK) ตัวเรือนของนาฬิกาเบนซอนแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ ตัวเรือนที่ประกอบด้วยหน้าปัดที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เมตร (2 ศอก) ตัวเครื่องและระฆังสำหรับที่จะแขวนบนหอขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางปากระฆัง 50 เซนติเมตร ( 1 ศอก) ที่ผลิตขึ้นในปี พ.ศ.2426 (ค.ศ.1883) โดยปรากฎศักราชที่ผลิตไว้บนตัวระฆังด้วย
ส่วนชั้นที่ 2 เป็นนิทรรศการประวัติการไปรษณีย์ไทย บอกเล่าเรื่องราวและวิวัฒนาการการไปรษณีย์ตั้งแต่ยุคก่อตั้งจนถึงยุคปัจจุบัน โดยแบ่งเป็น 4 ยุค ได้แก่ ยุคที่ 1 พ.ศ.2426-2442 จุดเริ่มต้นของไปรษณีย์ ยุคที่ 2 พ.ศ.2442-2475 ยุคทองของไปรษณีย์ไทย ยุคที่ 3 พ.ศ.2475-2497 ยุคที่ 4 พ.ศ.2497-2520 ยุคที่ 5 พ.ศ.2520 - ปัจจุบัน แล้วก็มีนิทรรศการการตำนานโทรเลขไทย ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นตำนานหลังจากให้บริการมายาวนานถึง 133 ปี มีตั้งแต่ความหมายของโทรเลข หลักการทำงาน เส้นทางโทรเลขในไทย วิวัฒนาการโทรเลขไทย ก้าวสู่...วิทยุโทรเลข กำเนิดสัญญาณภาษาไทย นับถอยหลัง...อำลาโทรเลข
นอกจากการจัดแสดง ที่ตึกไปรสนียาการยังมีที่ทำการไปรษณีย์ ซึ่งจะเปิดทำการในวันศุกร์ – อาทิตย์ เวลา 14.00- 20.00 น. ที่ผ่านมายังมีคนเข้ามาน้อย เนื่องจากที่นี่มีข้อจำกัดตรงที่ไม่มีที่จอดรถ
คุณเมธินทร์ ลียากาศ ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายตลาดตราไปรสนียากร บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กล่าวว่าปัจจุบันทางบริษัทฯ มีที่ทำการไปรษณีย์มากกว่า 1200 แห่งทั่วประเทศ ทุกวันนี้บริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญกับการจัดทำพิพิธภัณฑ์มากขึ้น ดังจะเห็นได้จากการที่มีพิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรกระจายอยู่ทั่วประเทศ สถานที่จัดแสดงล้วนเป็นตึกเก่าแก่ทรงคุณค่า อีกทั้งยังมีแผนงานในอนาคตที่จะทำเต็มรูปแบบ โดยจะเริ่มจากที่ทำการไปรษณีย์ตึกเก่าที่มีการอนุรักษ์ในจังหวัดภูเก็ต สำหรับการปรับปรุงจัดตั้งไปรสนียาคาร ได้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมสนับสนุนงบประมาณมา 10 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีแผนงานในการปรับปรุงซ่อมแซมตึกไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง เขตบางรัก ให้เป็นพิพิธภัณฑ์ โดยมีการจัดทำงบประมาณไว้มากกว่า 300 ล้าน
ในการจัดกิจกรรมที่นี่ที่ทำเป็นประจำคือการเปิดตัวตราไปรสนียากรชุดใหม่ นักสะสมจะมาซื้อแสตมป์และประทับตรากันที่นี่ ในปีหนึ่งๆจะมีแสตมป์ชุดใหม่ประมาณ 20- 30 ชุด บริษัทที่จัดพิมพ์มีทั้งในไทยและต่างประเทศ กว่าจะได้แสตมป์ชุดใหม่สักชุดหนึ่งต้องผ่านขั้นตอนมากมาย และต้องการความประณีตเป็นอย่างมาก อีกทั้งสแตมป์ยังเป็นสิ่งมีค่าแทนเงิน กลุ่มคนที่ออกแบบจะมี 3 กลุ่มคือ กลุ่มแรกคือคนของไปรษณีย์ มีประมาณสัก 8 คน กลุ่มที่สองมาจากการประกวด ทุกปีจะมีสัปดาห์สากลแห่งการเขียนจดหมาย ผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจะได้นำมาจัดแสดงและได้รับการพิจารณาจัดพิมพ์เป็นตราไปรสนียากร อีกกลุ่มหนึ่งคือในกรณีที่มีหน่วยงานต่างๆมาร้องขอให้ทางไปรษณีย์ออกให้ อย่างเช่นในวาระครบรอบของหน่วยงานต่างๆ
จากการให้ความสำคัญต่อการจัดทำพิพิธภัณฑ์ของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ในอนาคตอันใกล้เราคาดว่าจะได้เห็นการจัดแสดงที่เต็มรูปแบบในอาคารอนุรักษ์ที่สวยงาม ซึ่งผู้เข้าชมจะได้ทั้งความรู้และความเพลิดเพลิน
----------------------------------------------------
สาวิตรี ตลับแป้น /ผู้เขียน /ถ่ายภาพ
ข้อมูลจาก : สำรวจภาคสนามเมื่อวันที่ 16 เดือนกันยายน พ.ศ. 2554
----------------------------------------------------
การเดินทาง :ไปรสนียาคารตั้งอยู่เชิงสะพานพระปกเกล้า ใกล้กับสะพานพุทธ ฝั่งพระนคร ใกล้กับท่ารถเมล์สาย 8 ปลายทางสะพานพุทธ มีรถประจำทางผ่านหลายสายได้แก่ 3,4,5,6,8,10,19,37,40,43,53,56,82 ปอ. 3,5,6,73
-----------------------------------------
อ้างอิง : เอกสารไปรสนียาคาร อนุสรณ์สถานแห่งกาลเวลา
รีวิวของไปรสนียาคาร
บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ได้ฤกษ์เปิด "ไปรสนียคาร" อาคารพิพิธภัณฑ์จำลองที่ทำการไปรษณีย์แห่งแรกของไทย เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของการไปรษณีย์ไทยในอดีต ไปรสนียาคารจำลองหลังนี้ ตั้งอยู่บริเวณเชิงสะพานพระปกเกล้าฯ ฝั่งพระนคร ใกล้กับปากคลองตลาด ซึ่งบริเวณเดิมเป็นบ้านของพระปรีชากลการ (สำอางค์ อมาตยกุล) หลังจากนั้นในปี พ.ศ.2496 ไปรสนียาคารถูกปรับปรุงเป็นอาคารเรียน "โรงเรียนกรมไปรษณีย์และโทรเลข" เพื่อเป็นสถานที่ผลิตพนักงานไปรษณีย์ให้บริการประชาชน ก่อนจะถูกทุบทิ้งเพื่อเปิดทางสร้างสะพานพระปกเกล้า เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาขนานกับสะพานพระพุทธยอดฟ้าส่วนอาคารจำลองที่ถูกสร้างขึ้นทดแทนในบริเวณเดิมนั้น ออกแบบโดย ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา สถาปนิกมีชื่อเสียงของไทย มูลค่าในการสร้างประมาณ 10 ล้านบาท โดยสร้างเฉพาะส่วนมุขด้านหน้าของอาคาร มีความกว้าง 25 เมตร ความยาวลดจากเดิม 53.5 เมตร ให้เหลือเพียง 3.5 เมตร เป็นอาคาร 2 ชั้นครึ่งรูปแบบคล้ายของเดิม แต่รายละเอียดบางประการแตกต่างกัน ตัวอาคารจำลองภายในติดตั้งเครื่องปรับอากาศทั้งหลัง
ในวันงานเปิดอาคาร(13 มกราคม 2552) บริเวณชั้นล่างมีการเปิดจำหน่ายแสตมป์ไปรษณีย์ที่ระลึก ออกแบบโดย วีณา จันทนทัศน์ มีทั้งหมด 4 แบบ เป็นรูปของ 'พระบิดาแห่งการไปษณีย์ไทย' จอมพลสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช โดยจำหน่ายราคาดวงละ 3 บาท พร้อมบริการไปรษณียบัตรเพื่อส่งให้แก่ญาติมิตรเพื่อนสนิทหรือส่งให้ตัวเอง เป็นที่ระลึก รวมทั้งบริการถ่ายรูปตัวเองหรือพร้อมกับครอบครัวเพื่อใช้เป็นแสตมป์ที่ระลึก ค่าบริการครั้งละ 120 บาท บริการถ่ายโปสการ์ดโดยมีบรรยากาศของภาพเป็นอาคารไปรสนียาคารแบบดั้งเดิม และยังมีเสื้อยืดเป็นรูปไปรสนียาคาร ราคา 160 บาท รวมทั้งสินค้าที่ระลึกต่างๆ ชั้นที่ 2 และ3 มีวีดิทัศน์ประวัติความเป็นมาของการไปรษณีย์ไทย รวมถึงของใช้ส่วนพระองค์บางชิ้น พร้อมทั้งไปรษณียบัตรชิ้นแรก แสตมป์ชุดแรก แสตมป์เพี้ยน เครื่องโทรเลข จัดแสดง
ข้อมูลจาก: กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 15 มกราคม 2552
คลิกอ่าน "เที่ยว"ไปรสนียาคาร" ย้อนวันวานการสื่อสารไทย" ผู้จัดการ วันที่ 15 มิถุนายน 2553
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
แสตมป์ การสื่อสารและไปรษณีย์ ตราไปรษณียากร
พิพิธภัณฑ์อัยการไทย
จ. กรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑ์สัตววิทยา
จ. กรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
จ. กรุงเทพมหานคร