โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
ชื่อผู้แต่ง: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | ปีที่พิมพ์: 2552
ที่มา: กรุงเทพฯ:คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 17 มิ.ย. 2556;17-06-2013
ที่มา: มติชนออนไลน์
แหล่งค้นคว้า:
โดย: ศมส.
วันที่: 18 มิถุนายน 2556
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
พิพิธภัณฑ์บ้านจิรายุ-พูนทรัพย์ ได้เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2552 เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านภาษาศาสตร์ โดยคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยวกทม. มูลนิธิ ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงจิรายุ-ศาสตราจารย์ท่านผู้หญิงพูนทรัพย์ นพวงศ์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยฯและสมาคมพิพิธภัณฑ์ไทย ได้ร่วมกันจัดทำ
อีกส่วนหนึ่งในแผนงานคือการสร้างอาคารห้องสมุดประชาชน ซึ่งจะสร้างบริเวณลานด้านหน้าบ้าน การออกแบบเป็นไปตามพระราชวินิจฉัยของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ที่มีพระประสงค์ให้ห้องสมุดไม่บดบังทัศนียภาพของบ้าน โดยมีการลดจำนวนชั้นจาก 3 ชั้นให้เหลือ 2 ชั้น
ผู้นำชมมี 2 ท่านคือ คุณสุจิตร สุวภาพ เจ้าหน้าที่สมาคมพิพิธภัณฑ์ไทย และคุณสุธันยา โพธิ์เสือ หลานของท่านผู้หญิงฯ
การนำเสนอของที่นี่เน้นที่ประวัติ แนวคิด และความรอบรู้ของศาสตราจารย์ทั้งสองท่าน ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงจิรายุ นพวงศ์ ณ อยุธยา อดีตคณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปราชญ์ด้านภาษาบาลีสันสกฤต ผู้เล็งเห็นความสำคัญในรากฐานของภาษาไทย และศาสตราจารย์ท่านผู้หญิงพูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา อดีตคณบดีคนแรกของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปราชญ์ด้านการศึกษาผู้เล็งเห็นความจำเป็นของการก่อตั้งคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมกับส่วนจัดแสดงการได้รับพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้จากเจ้าฟ้าทั้งสองพระองค์คือ สมเด็จพระปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี
การจัดแสดงแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่หนึ่ง ชั้นล่างของบ้าน มีมุมฉายวีดีทัศน์อัลบั้มภาพถ่าย ส่วนที่อยู่ในตู้กระจกมีเครื่องลายคราม เครื่องเบญจรงค์ เครื่องแก้ว ซึ่งถือเป็นของรักของหวงของท่าน บางวันขณะมีผู้เข้ามาเยี่ยมชม คุณสุจิตรเล่าว่าท่านผู้หญิงพูนทรัพย์ในวัย 101 ปี จะออกมาต้อนรับแขกด้วยความรู้สึกยินดีที่มีคนเข้ามาศึกษาหาความรู้
ส่วนที่สองอยู่ชั้นของบ้าน เป็นการจัดนิทรรศการถาวร แสดงให้เห็นความเป็นอยู่ของท่านทั้งสอง ผู้เข้าชมจะได้เห็นห้องทำงานและชั้นหนังสือของท่าน มีหนังสือที่ ศ.มล.จิรายุ ได้รับพระราชทานจากพระเจ้าอยู่หัวฯ มีสมุดลายไทยเขียนด้วยลายมือ เล่มนี้ท่านได้เตรียมถวายการสอนสมเด็จพระเทพฯ จากนั้นเป็นห้องนอนห้องแต่งตัว ถัดจากนั้นจะเป็นห้องใหญ่แบ่งเป็นมุมจัดแสดงเรื่องราวผ่านรูปภาพ เอกสาร หนังสือ ปฏิทิน ไปรษณียบัตร
การจัดแสดงได้แก่ มุมต้นราชสกุลนพวงศ์ และมุมสมเด็จพระปิยมหาราช สมเด็จพระพันปีหลวง และสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า มุมสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงราชสิรินธร มุมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี
ส่วนจัดแสดงที่ดูโดดเด่นเป็นโปสการ์ดที่นำไปขยายให้มีขนาดใหญ่ โปสการ์ดนี้เองที่สมเด็จพระปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ผู้ให้การศึกษาและอบรมเลี้ยงดูท่านผู้หญิงฯตั้งแต่เล็กจนโต ส่งให้กับท่านผู้หญิงฯ และโปสการ์ดที่สมเด็จพระเทพฯส่งให้กับหม่อมหลวงจิรายุ พระอาจารย์ที่ได้มีโอกาสถวายพระอักษรบาลีและสันสกฤต ตั้งแต่ยังทรงศึกษาอยู่ในโรงเรียนจิตรลดา จนกระทั่งทรงศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท สาขาบาลีสันสกฤตที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คุณสุจิตร สุวภาพ ผู้นำชมพิพิธภัณฑ์ได้ถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับภาษาโบราณและสิ่งของพระราชทานจากในหลวงซึ่งได้จัดแสดงไว้ “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงอ่านออกภาษาบาลี เทวนาครีได้ แล้วท่านหม่อมหลวงจิรายุก็เป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพระเทพฯ การที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงศึกษาก็เนื่องด้วยพระองค์ท่านต้องการศึกษาพระไตรปิฎกจากต้นฉบับ ไม่ต้องการที่จะต้องอ่านคำแปลที่ถ่ายทอดมา นี่คือพระปรีชาญาณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มีอยู่ช่วงหนึ่งท่านองคมนตรีป่วยไม่สบาย แล้วสมเด็จพระเทพฯก็กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้แผ่นป้ายมาอันหนึ่งซึ่งเป็นภาษาเทวนาครี เขียนว่า ขอให้จิรายุเป็นผู้มีอายุยืน จากแผ่นป้ายนั้น ท่านมีชีวิตอยู่ต่อได้อีกสิบกว่าปี นี่คือคำอวยพรของในหลวง และแผ่นป้ายนี้ก็ยังอยู่ที่ห้องจัดแสดงนิทรรศการข้างบน”
ในการจัดตกแต่งพิพิธภัณฑ์ คุณสุจิตรเป็นท่านหนึ่งที่มีความตั้งใจและทุ่มเทต่อการทำพิพิธภัณฑ์นี้ ดังเห็นได้จากคำพูดของคุณสุจิตรว่า แม้ตนเองจะไม่ใช่ลูกหลาน เป็นคนทำงานที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พอมาทำตรงนี้แล้วผูกพันรู้สึกรัก ในการศึกษาเอกสารได้พบความเชื่อมโยงไปถึงเรื่องต่างๆ ทำให้คิดว่าเอกสารเหล่านี้มีคุณค่ามาก ในการจัดระบบเอกสาร คุณสุจิตรคิดว่าถ้าจะให้ดีน่าจะมีบุคลากรมาช่วยงานด้านนี้ จะทำให้งานไปได้รวดเร็วขึ้น
ส่วนคุณสุธันยา โพธิ์เสือ แม้จะไม่ใช่หลานโดยตรง เนื่องจากท่านผู้หญิงฯไม่มีทายาท แต่ก็เป็นผู้ที่ดูแลใกล้ชิดกับท่านผู้หญิง ก่อนพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์ทั้งสองท่านได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจจนกระทั่งได้มีการจัดแสดงและต้อนรับผู้มาเยี่ยมชมอย่างที่เห็นกันทุกวันนี้
ในการจัดทำวีดีทัศน์ซึ่งจัดฉายบริเวณชั้นล่าง เนื้อหาเป็นเรื่องราวประวัติของท่านผู้หญิง มีการจัดงานในช่วงวันคล้ายวันเกิดของท่านผู้หญิง งานรับเสด็จสมเด็จพระเทพฯ สยามบรมราชกุมารี งานครบรอบศตวรรษของท่านผู้หญิง จะมีเรื่องราวช่วงหกสิบปี เจ็ดสิบปี แปดสิบปี เก้าสิบปี หนึ่งร้อยปี ในเรื่องราวที่ท่านได้ทำประโยชน์เพื่อสังคม
เมื่อได้รับรู้และสัมผัสกับเรื่องราวของท่านทั้งสอง สิ่งที่เราได้สัมผัสได้คือจิตใจที่อุทิศให้กับการทำงานของท่าน ความสุขของท่านคือบทบาทความเป็นครู ซึ่งทุกสิ่งที่พวกท่านได้ทำคือความรู้สึกซาบซึ้งของผู้มาเยือน
-----------------------------------------------------
สาวิตรี ตลับแป้น /ผู้เขียน /ถ่ายภาพ
ข้อมูลจาก : สำรวจภาคสนามเมื่อวันที่ 2 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554
----------------------------------------------------
การเดินทาง : พิพิธภัณฑ์บ้านจิรายุ-พูนทรัพย์ อยู่ถนนสุขุมวิท 101/1 การเดินทางควรใช้บริการรถแท็กซี่หรือรถส่วนตัว
-----------------------------------------
อ้างอิง : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิพิธภัณฑ์บ้านจิรายุ-พูนทรัพย์. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ(พว.),2552.
พิพิธภัณฑ์บ้านจิรายุ-พูนทรัพย์.http://www.foodtravel.tv/travelShow_
Detail.aspx?viewId=140 [Accessed 10/07/2011]
พิพิธภัณฑ์บ้านจิรายุ-พูนทรัพย์. http://www.chirayu-poonsapaya.com/home.html
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=2118.0;wap2 [Accessed 10/07/2011]
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
"พิพิธภัณฑ์และห้องสมุดบ้านจิรายุ - พูนทรัพย์" แหล่งเรียนรู้"มีชีวิต" สะท้อนแนวคิดปรมาจารย์
หากใครที่ชื่นชอบในการค้นคว้าแสวงหาความรู้ และรักการอ่าน โดยเฉพาะการศึกษาด้านภาษาศาสตร์ ครั้นจะไปตามห้องสมุดต่างๆ ก็อาจจะไม่สะดวก หรือได้ข้อมูลที่ครบถ้วนดีนัก ไม่ควรพลาดที่จะไปเยี่ยมชม "พิพิธภัณฑ์และห้องสมุดบ้านจิรายุ - พูนทรัพย์" แหล่งเรียนรู้ ซึ่งรวบรวมตำราและข้อมูลอันหลากหลายเข้ามาให้เลือกสรร เสพสำราญกับสารพัดข้อมูลได้อย่างอิ่มหนำสมองแนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
ท่านผู้หญิงพูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา ม.ล.จิรายุ นพวงศ์ บ้านจิรายุ-พูนทรัพย์
พิพิธภัณฑ์ผ้า ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
จ. กรุงเทพมหานคร
บ้านศรีบูรพา
จ. กรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยา
จ. กรุงเทพมหานคร