พิพิธภัณฑ์สภากาชาดไทย


ปี พ.ศ. 2546 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย มีพระราชดำริให้สภากาชาดไทยดำเนินการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์สภากาชาดไทย เพื่อเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สภานายิกาสภากาชาดไทย โดยมีพระราชประสงค์ให้นำเสนอในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต(living museum) เช่นเดียวกับพิพิธภัณฑ์สภากาชาดสากล ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่สามารถทำให้ผู้ชมรู้สึกว่า “กำลังยืนอยู่ท่ามกลางความทุกข์ของคนเป็นล้านๆ คน” อาคารพิพิธภัณฑ์คือ ตึกกาชาดเดิม ภายในมีทั้งนิทรรศการถาวรและนิทรรศการหมุนเวียน แบ่งส่วนแสดงเป็น 7 ส่วนด้วยกันโดยแต่ละส่วนใช้สีรุ้ง 7 สี เป็นสัญลักษณ์สื่อความหมายของเรื่องที่จัดแสดงส่วนแรกได้แก่ “สถาปนาสันติธรรม” จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาที่กำเนิดกาชาดสากลและสภากาชาดไทย ส่วนจัดแสดงต่อมาคือ“บูรณาการสถานศึกษา”นำเสนอภารกิจของสภากาชาดไทยด้านการแพทย์ การพยาบาล ส่วนที่สามคือ“โอสถบริรักษ์” จัดแสดงภารกิจของสภากาชาดในการผลิตเซรุ่มและวัคซีน เพื่อใช้ป้องกันและรักษาโรคต่างๆ ส่วนที่สี่ “อภิบาลดรุณ” จัดแสดงข้อมูลเกี่ยวกับมูลนิธิสงเคราะห์เด็กสภากาชาดไทย และเรื่องราวเกี่ยวกับหน่วยเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ส่วนที่ห้า “บุญเกษม”แสดงภารกิจของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ที่มุ่งจัดหาโลหิตจากผู้บริจาคที่ไม่หวังสิ่งตอบแทน สำหรับใช้รักษาผู้ป่วยทั่วประเทศส่วนที่หก“บำเพ็ญคุณากร” จัดแสดงภารกิจในการบรรเทาทุกข์โดยสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ ที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส และส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชาชน ส่วนสุดท้าย “อมรสาธุการ” นำเสนอยกย่องผู้ที่ทำคุณประโยชน์ให้แก่สภากาชาดไทย รวมทั้งของที่ระลึกต่างๆ ที่มอบให้ผู้มีอุปการคุณต่อสภากาชาดไทย

ที่อยู่:
สภากาชาดไทย ถ.พระราม 4 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์:
02-2501849, 02-2564329 ต่อ 119
วันและเวลาทำการ:
เปิดวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30 - 16.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าบริการเข้าชม
อีเมล:
webmaster.thairedcrossmuseum@gmail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2546
ของเด่น:
จัดแสดงประวัติความเป็นมาของคณะกรรมการกาชาดสากลและสภากาชาดไทย
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

"พิพิธภัณฑ์สภากาชาดไทย" สร้างสำนึกช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์

ชื่อผู้แต่ง: ศิริรัตน์ สาโพธิ์สิงห์ | ปีที่พิมพ์: 08-01-2550(หน้า4)

ที่มา: เดลินิวส์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

กาชาดช่วยเรา เราช่วยกาชาด เที่ยว “พิพิธภัณฑ์สภากาชาดไทย”

ชื่อผู้แต่ง: หนุ่มลูกทุ่ง | ปีที่พิมพ์: 29 พ.ย. 2554;29-11-2011

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 15 กรกฎาคม 2558


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์สภากาชาดไทย

ในปี พ.ศ. 2546 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย มีพระราชดำริให้สภากาชาดไทยดำเนินการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์สภากาชาดไทย(The Thai Red Cross Society Museum) เพื่อเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สภานายิกาสภากาชาดไทย โดยมีพระราชประสงค์ให้นำเสนอในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต(living museum) เช่นเดียวกับพิพิธภัณฑ์สภากาชาดสากล ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

อาคารพิพิธภัณฑ์ เดิมคือ ตึกกาชาด กล่าวคือ ในปี พ.ศ. 2485 คณะกรรมการจัดงานฉลองรัฐธรรมนูญประจำปี พ.ศ. 2483 ได้มอบเงินจำนวนหนึ่งให้กองวิทยาศาสตร์(ปัจจุบันคือ สถานเสาวภา) สร้างตึกสำหรับใช้เป็นห้องบรรยายและห้องประชุม ต่อมาใช้เป็นที่จำหน่ายและเก็บผลิตภัณฑ์ของกองวิทยาศาสตร์รวมทั้งเวชภัณฑ์อื่น ๆ และเป็นที่ปรุงยาด้วย

ต่อมาในปี พ.ศ. 2534 สภากาชาดไทยได้ดำเนินการปรับปรุงอาคารใหม่ให้เป็นที่ทำการของศูนย์วิจัยโรคเอดส์สภากาชาดไทย จนถึงปี พ.ศ. 2547 ศูนย์วิจัยโรคเอดส์มีปริมาณงานมากขึ้นจึงได้ย้ายที่ทำการใหม่ และในระหว่างที่ยังไม่ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ฯ คณะกรรมการดำเนินงานจัดสร้างพิพิธภัณฑ์สภากาชาดไทยจึงได้บูรณะปรับปรุงอาคารขึ้นใหม่เพื่อจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์สภากาชาดไทยในปัจจุบัน

ภายในพิพิธภัณฑ์ฯ มีส่วนจัดแสดงต่าง ๆ อาทิ ประวัติความเป็นมาของคณะกรรมการกาชาดสากลและสภากาชาดไทย และภารกิจด้านต่าง ๆ พร้อมทั้งส่วนจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็ก (children discovery corner) ในลักษณะการเรียนรู้เชิงนันทนาการ(edutainment) ด้วย

ข้อมูลจาก: แผ่นประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์สภากาชาดไทย
ชื่อผู้แต่ง:
-

กาชาดช่วยเรา เราช่วยกาชาด เที่ยว “พิพิธภัณฑ์สภากาชาดไทย”

ใครที่ผ่านไปผ่านมาแถวจุฬา สยาม พระราม 4 จะต้องคุ้นเคยกับถนนชื่อแปลกแห่งนี้ “ถนนอังรี ดูนังต์” ฉันคนหนึ่งที่สัญจรผ่านไปมาอยู่หลายครั้งก็นึกสงสัยถึงชื่อของถนนเส้นนี้ หลังจากไปหาข้อมูลดูก็ได้รู้ว่า ถนนอังรี ดูนังต์ มาจากชื่อของผู้กำเนิดการกาชาด นายอังรี ดูนังต์ ชาวสวิส เหตุที่นำชื่อผู้กำเนิดการกาชาดมาตั้งเป็นชื่อถนนนั้นก็ เนื่องมากจากครั้งเมื่อครบรอบ 100 ปี สภากาชาดสากล ประเทศสมาชิกได้จัดทำอนุสรณ์รำลึกถึงอังรี ดูนังต์ สภากาชาดไทยจึงคิดกันว่า น่าจะตั้งชื่อสาธารณสมบัติสักอย่างหนึ่งที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน เหมือนที่อังรี ดูนังต์ได้ทำไว้
ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-