พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นพิพิธภัณฑสถานทางธรรมชาติวิทยาแห่งแรกของไทย รวบรวมตัวอย่างของสิ่งมีชีวิตไว้หลายประเภท ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ ครอบคลุมทั้งสัตว์เลื้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก นก แมลง ปลา และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีสัตว์หายาก 141 ชนิด ส่วนหนึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง ปัจจุบันแบ่งการจัดแสดงออกเป็น 5 ห้องได้แก่ ห้องนิทรรศการหลัก ห้องแสดงตัวอย่างเต่าและตะพาบ ห้องแสดงตัวอย่างแมลงและไร พิพิธภัณฑ์หอยทากของไทย และพิพิธภัณฑ์สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ภายในห้องนิทรรศการหลักจัดแสดงสัตว์สารพัดชนิดในรูปสัตว์สตัฟฟ์ โครงกระดูก และสัตว์ที่ดองอยู่ในภาชนะ ส่วนหนึ่งจัดแสดงหินและแร่ธาตุต่างๆ

ที่อยู่:
ตึกชีววิทยา 1 ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์:
02-2185266-7
โทรสาร:
02-2185267
วันและเวลาทำการ:
เปิดจันทร์-ศุกร์ 9.00-16.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม ถ้ามาเป็นหมู่คณะสามารถขอวิทยากรบรรยายได้โดยต้องทำหนังสือแจ้งล่วงหน้า
เว็บไซต์:
ปีที่ก่อตั้ง:
2530
ของเด่น:
ตัวอย่างสัตว์ชนิดต่างๆ เช่น หอยมือเสือยักษ์ วาฬบรูด้า หอยทากจิ๋ว ตะพาบม่านลายที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย แมลงชนิดต่างๆ
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ปีกสวรรค์ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: ปีที่22ฉบับที่ 12 ต.ค. 2544

ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์หอยทากชีวิตลี้ลับของสัตว์โลกตัวจ้อย

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 02/06/2547

ที่มา: ผู้จัดการรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา

ชื่อผู้แต่ง: เกียรติศักดิ์ ฤกษ์บุตรศรี | ปีที่พิมพ์: 2537

ที่มา: สถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร

แหล่งค้นคว้า: มหาวิทยาลัยศิลปากร

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา

ชื่อผู้แต่ง: ชนินทร์ กิตติพงษ์พิพัฒน์ | ปีที่พิมพ์: 2530

ที่มา: สถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร

แหล่งค้นคว้า: มหาวิทยาลัยศิลปากร

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา

ชื่อผู้แต่ง: ชูโต จิระคุณากร | ปีที่พิมพ์: 2524

ที่มา: สถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร

แหล่งค้นคว้า: มหาวิทยาลัยศิลปากร

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา

ชื่อผู้แต่ง: ศศิพงศ์ กิตติพงษ์พิพัฒน์ | ปีที่พิมพ์: 2527

ที่มา: สถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร

แหล่งค้นคว้า: มหาวิทยาลัยศิลปากร

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา

ชื่อผู้แต่ง: สุพล พูนพิพัฒนกุล | ปีที่พิมพ์: 2526

ที่มา: สถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร

แหล่งค้นคว้า: มหาวิทยาลัยศิลปากร

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

โครงการพัฒนาพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : รายงานฉบับสมบูรณ์

ชื่อผู้แต่ง: ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | ปีที่พิมพ์: 2548

ที่มา: กรุงเทพฯ: คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แหล่งค้นคว้า: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

มหัศจรรย์แห่ง“เปลือกหอย”

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: วันที่ 30 สิงหาคม 2554

ที่มา: เดลินิวส์

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เรียนรู้โลกสัตว์น้ำหายาก พิพิธภัณฑ์กุ้ง กั้ง ปู รั้วจามจุรี

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 24 มี.ค. 2553;14-03-2010

ที่มา: ผู้จัดการ

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 03 ธันวาคม 2556


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ความรู้สึกหลังจากชมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้แล้วสรุปเป็นประโยคเดียวได้ว่า ชีวิตบนโลกใบนี้ช่างน่าอัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง สิ่งที่เห็นไม่ได้เป็นเพียงรูปร่างภายนอกของสัตว์ต่างๆ หลากหลายประเภทที่สตัฟฟ์ไว้เท่านั้น แต่ทางพิพิธภัณฑ์ได้ชำแหละให้เห็นโครงสร้างภายในทั้งกระดูก กะโหลก ฟัน ทั้งยังเปรียบเทียบสิ่งที่ปกคลุมภายนอกของสัตว์ต่างๆ เช่น หนัง ขน เปลือก กระดอง นอกจากนั้นยังให้ความรู้ด้านถิ่นที่อยู่อาศัยและการอนุรักษ์อีกด้วย

พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นพิพิธภัณฑสถานทางธรรมชาติวิทยาแห่งแรกของไทย รวบรวมตัวอย่างของสิ่งมีชีวิตไว้หลายประเภท ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ ครอบคลุมทั้งสัตว์เลื้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก นก แมลง ปลา และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีสัตว์หายาก 141 ชนิด ส่วนหนึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง ปัจจุบันแบ่งการจัดแสดงออกเป็น 5 ห้องได้แก่ ห้องนิทรรศการหลัก ห้องแสดงตัวอย่างเต่าและตะพาบ ห้องแสดงตัวอย่างแมลงและไร พิพิธภัณฑ์หอยทากของไทย และพิพิธภัณฑ์สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

ภายในห้องนิทรรศการหลักจัดแสดงสัตว์สารพัดชนิดในรูปสัตว์สตัฟฟ์ โครงกระดูก และสัตว์ที่ดองอยู่ในภาชนะ ส่วนหนึ่งจัดแสดงหินและแร่ธาตุต่างๆ เมื่อเดินประตูจะเห็นตู้กระจกใบใหญ่ที่ขวางอยู่ด้านหน้าบรรจุโครงกระดูกสัตว์ขนาดใหญ่ เช่น วาฬ จระเข้ ด้านข้างเป็นโลมาปากขวด มองขึ้นไปด้านบนเป็นชั้นลอย มีโครงกระดูกของควาย และม้ายืนตระหง่านอยู่ ถ้าเดินชิดซ้าย ในตู้กระจกติดหน้าต่างบรรจุงูที่ขดอยู่บนทรายและซ่อนอยู่ในใบไม้แห้ง สีสันกลมกลืนไปกับสิ่งแวดล้อม ตู้ต่อมาแสดงสัตว์เลื้อยคลานสี่ขา เช่น ตะกวด ตุ๊ดตู่ และเหี้ย

บริเวณถัดมาจัดแสดงสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกประเภทกบ เขียด คางคกหลายพันธุ์ พวกที่ตัวเล็กหน่อยเรียงอยู่ในหลอดใสทรงกระบอกที่วางตั้งไว้ โดดเด่นที่สุดบริเวณนี้น่าจะเป็นโครงกระดูกปลาหมอทะเลตัวใหญ่สมบูรณ์และสวยงามมาก ปลาชนิดนี้อาศัยอยู่ตามกองหินใต้น้ำและแนวปะการัง กินปลาที่มีขนาดเล็กโดยฮุบเข้าไปทั้งตัว ส่วนบริเวณกลางห้องมีเปลือกหอยและปะการังหลากหลายชนิด ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มนี้คือหอยมือเสือ เป็นสัตว์จำพวกหอยที่มีเปลือกใหญ่ที่สุดในโลก จากข้อมูลบนป้ายระบุว่าหอยชนิดต่างจากชนิดอื่นตรงที่จะเปิดฝาหงายบนพื้นทรายเพื่อรับแสงแดดแทนที่จะหุบเปลือกไว้ พบทางฝั่งทะเลอันดามัน

ส่วนหลังของห้องจัดแสดงไก่และนก หลายชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมาย เช่น ไก่ป่า นกกระจาบทอง นกกระแตแต้แว้ด นกเงือกกรามช้างปากเรียบ นกตีทอง นกนิลตวาสีส้มคอดำ และเหยี่ยวขาว เป็นต้น เดินลึกเข้าไปจนสุดจะพบปลาชนิดต่างๆ ที่น่าสนใจคือปลาราหูหน้าตาแปลกลอยนิ่งอยู่ในตู้ใสเหมือนมีใครหยุดเวลาเอาไว้ จากป้ายอธิบายว่าปลาชนิดนี้ใช้แผ่นเนื้อคล้ายใบพายบนหัวตะล่อมฝูงสัตว์น้ำขนาดเล็กเข้าปากที่อยู่ด้านท้อง นอกจากนั้นก็มีปลาบู่ชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก และปลาฉนากที่มีปากยาวคล้ายใบเลื่อยด้วย ด้านหนึ่งมีบอร์ดแสดงแผนผังแสดงวิวัฒนาการขึ้นเป็นมนุษย์ ภาพจำลองใบหน้าและร่างกาย และกระโหลกรูปร่างต่างกันเรียงแถวอยู่ด้านล่าง

อีกด้านหนึ่งของห้องเป็นกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดย่อม เช่น กระรอกบิน ตุ่นปากเป็ด พังพอน และค้างคาว ฯลฯ แม้ว่าค้างคาวจะมีหน้าตาไม่ค่อยน่าดูนักแต่เป็นสัตว์ที่มีประโยชน์ต่อระบบนิเวศ และเกษตรกรเพราะช่วยผสมเกสรดอกไม้และกระจายพันธุ์ผลไม้ นอกจากนั้นค้างคาวชนิดที่กินแมลงยังช่วยควบคุมจำนวนแมลงอีกด้วย ในตู้จัดแสดงเปรียบเทียบขนาดค้างคาวที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือค้างคาวแม่ไก่ป่าฝนน้ำหนักราว1 กิโลกรัมกับชนิดที่เล็กที่สุดคือ

ค้างคาวคุณกิตติ ซึ่งมีน้ำหนักเพียง 2 กรัมไว้ด้วยกัน ถ้าเดินย้อนกลับมาอีกด้านหนึ่งของห้องจะได้เห็นตัวอย่างสัตว์ใสของสัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก และการนำบางส่วนของสัตว์ เช่น กระโหลก ฟัน หนัง ขน เปลือกของสัตว์ขาข้อ มาเรียงแถวเปรียบเทียบให้เห็นถึงความแตกต่าง เป็นการหัดเด็กๆที่เข้ามาชมให้รู้จักสังเกต

ภายในห้องแสดงตัวอย่างเต่าและตะพาบจะพบตัวอย่างเต่าและตะพาบทุกชนิดในประเทศไทยรวมถึงเต่าบางชนิดจากต่างประเทศในลักษณะที่เป็นตัวอย่างแห้ง โครงกระดูก และไข่เต่า มีทั้งวงศ์เต่าน้ำจืด เช่น เต่าแดง เต่าหับ เต่านา เต่าทับทิม วงค์เต่าทะเล เช่น เต่าตะนุ เต่าหญ้า เต่ากระ วงศ์เต่าบก เช่น เต่าเดือย เต่าเหลือง วงศ์เต่ามะเฟือง และวงศ์เต่าปูลู นอกจากนั้นยังมีเต่าที่นำเข้ามาเป็นสัตว์เลี้ยงหลายชนิด มีลวดลายสวยงาม เช่น เต่าญี่ปุ่น เต่าดาว และเต่าสแนปปิ้ง เป็นต้น

ดาวเด่นที่จัดแสดงในห้องนี้คือ ตะพาบม่านลาย ตะพาบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยน้ำหนักมากกว่าร้อยกิโลกรัมทำให้ตะพาบชนิดนี้อยู่ในน้ำเกือบตลอดเวลา แหล่งอาศัยอยู่บริเวณลุ่มน้ำแม่กลองและแม่น้ำปิง ข้อมูลจากเอกสารของภาควิชาชีววิทยากล่าวว่า ปัจจุบันตะพาบชนิดนี้จัดเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง สาเหตุมาจากการบุกรุกแหล่งอาศัยและพื้นที่วางไข่ การนำมาบริโภคโดยมนุษย์ และอาจเกี่ยวข้องกับการสร้างเขื่อนซึ่งทำให้น้ำท่วม ไม่มีหาดให้วางไข่

ภายในห้องแสดงตัวอย่างแมลงและไรค่อนข้างมืดเมื่อเทียบกับห้องอื่น สร้างบรรยากาศชวนค้นหาไปอีกแบบหนึ่ง ตัวอย่างที่จัดแสดงส่วนใหญ่เป็นตัวอย่างแห้งมีจำนวนมากกว่า 5,000 ตัวอย่าง ยังมีตัวอย่างอ้างอิงอีกมากกว่า 30,000 ตัวอย่าง ดาวเด่นของห้องนี้อย่างแรกน่าจะเป็นกลุ่มด้วงเพราะมีรูปร่าง สีสัน และลวดลายที่หลากหลาย จากป้ายอธิบายว่าด้วงปีกแข็งมีปีกสองชั้น ปีกคู่หน้าหนาทึบและแข็งทำหน้าที่เป็นเกราะหุ้มลำตัว ปีกคู่หลังเป็นแผ่นบางใสใช้สำหรับบิน ด้วงที่มีพฤติกรรมแปลกชนิดหนึ่งคือด้วงมูลสัตว์เพราะมันจะปั้นมูลดินหุ้มไข่และตัวอ่อนไว้ ด้วงชนิดนี้มีเขา ตัวผู้เขายาวคล้ายนอแรด ส่วนตัวเมียเขาจะสั้นกว่า หากินอยู่บนกองมูลสัตว์ 

ยังมีแมลงกลุ่มอื่นจัดแสดงในกล่องกระจกแบ่งตามหลักอนุกรมวิธาน เช่น อันดับของผีเสื้อ อันดับของแมลงปอ ส่วนหนึ่งของห้องจัดแสดงแมลงหลายชนิดที่กินได้ สำหรับแมลงที่มีชื่อเสียงด้านความดุร้ายตกเป็นข่าวทุกปีเพราะต่อยคนที่ไปรบกวนจนตายคือต่อหัวเสือ ต่อชนิดนี้มีขนาดค่อนข้างใหญ่ สีน้ำตาลเกือบดำมีแถบสีเหลืองอมส้ม แต่ในอีกด้านหนึ่งนับว่าเป็นแมลงที่มีประโยชน์เพราะกินหนอนเป็นอาหาร เป็นการช่วยกำจัดศัตรูพืชทางการเกษตร

อีกห้องหนึ่งจัดแสดงสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังติดอันดับที่สุดของโลกและของประเทศหลายชนิด นอกจากนั้นยังมีสัตว์ที่พบเป็นครั้งแรกในโลกที่อาศัยอยู่ในเขตประเทศไทย บางชนิดได้พระราชทานชื่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระราชวงศ์ด้วย สำหรับตัวอย่างส่วนใหญ่ดองอยู่ในขวดใส

ดาวเด่นของห้องคือ ปูเจ้าพ่อหลวง (Potamon bhumibol) เป็นปูน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และใหญ่เป็นที่สองของโลก สำหรับชื่อนั้นได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตอัญเชิญพระปรมาภิไธยจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปูชนิดนี้มีสามสี ได้แก่ น้ำตาลเข้ม ม่วง ส้ม พบที่ภูหลวง จังหวัดเลย ส่วนปูพระพี่นาง(Potamon galyaniae) มีสามสีเช่นกัน คือ แดงเลือดนก แดงส้ม ขาว อาศัยอยู่ในรูริมฝั่งลำห้วยที่จังหวัดกาญจนบุรี ทั้งสองชนิดเป็นสัตว์หายาก เพราะถูกมนุษย์ล่า

สัตว์ชนิดที่ติดอันดับใหญ่ที่สุดในโลกในห้องนี้ได้แก่ กุ้งมังกรเจ็ดสี ซึ่งเป็นกุ้งมังกรชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ขนาดที่พบในประเทศไทยราว 450 มม. อาศัยอยู่บริเวณแนวปะการัง อีกชนิดหนึ่งคือ กั้งตั๊กแตนลายเสือในไทยพบที่จังหวัดพังงา ภูเก็ต และสตูล โดยขุดรูอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลที่เป็นดินโคลน

ห้องสุดท้ายคือพิพิธภัณฑ์หอยทากบก จัดตั้งขึ้นเป็นแห่งแรกของประเทศไทยเมื่อปี 2546 จากบทความในเอกสารเผยแพร่ของศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยอาจารย์สมศักดิ์ ปัญหา หอยทากถือกำเนิดมากว่า 300 ล้านปีแล้ว ต่อมาได้วิวัฒนาการขึ้นมาอยู่บนบก หอยทากบางชนิดมีความสามารถในการปรับตัวสูง เพราะเข้ามาอาศัยอยู่ในชุมชนของมนุษย์ เช่น หอยทากสยาม (Cryptozona siamensis) อยู่ตามพื้นดินและตามซอกของบ้าน พบได้ทุกพื้นที่ของประเทศไทย เป็นศัตรูของเกษตรกรเพราะกินใบอ่อนและรากของไม้ผลบางชนิด นอกจากนั้นยังมีหอยทากที่อาศัยอยู่บนต้นไม้ได้ตลอดชีวิต เช่น หอยต้นไม้ลาย เป็นหอยที่มีสีสันสวยงาม กินไลเคนบนต้นไม้ พบในป่าด้านตะวันตกของประเทศไทยเท่านั้น หอยทากบางชนิดไม่ได้กินพืช แต่กินหอยขนาดเล็กและตัวอ่อนของแมลงบางชนิดเป็นอาหารโดยใช้ฟันที่แหลมคม เรียกว่าหอยนักล่า อาศัยอยู่ตามซอกหลืบเขาหินปูน

รศ.จริยา เล็กประยูร ประธานคณะกรรมการบริหารพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้สัมภาษณ์ว่า ผู้เข้าชมส่วนใหญ่เป็นนักเรียน นักศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลขึ้นไป ส่วนชาวต่างชาติมีทั้งนักวิจัยและนักท่องเที่ยวที่เดินเข้ามาขอชม มีการจัดแสดงนอกสถานที่บ้างโดยร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ บางครั้งก็จัดตามศูนย์การค้า ส่วนตัวอย่างที่จัดแสดงบางส่วนสามารถทำเรื่องขอยืมได้เพื่อประโยชน์ในการศึกษา ในส่วนของปัญหาพิพิธภัณฑ์มีอยู่บ้างคือพื้นที่จัดแสดงจำกัด แต่ตัวอย่างที่เก็บรักษาไว้มีจำนวนมาก

เรื่อง/ภาพ เกสรา จาติกวนิช

สำรวจ : 21 มีนาคม 2551

ชื่อผู้แต่ง:
-

เรียนรู้โลกสัตว์น้ำหายาก พิพิธภัณฑ์กุ้ง กั้ง ปู รั้วจามจุรี

"พิพิธภัณฑ์" ถือเป็นแหล่งที่รวบรวมองค์ความรู้ต่างๆ อันทรงคุณค่าสำหรับคนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีพิพิธภัณฑ์หลายแห่งตั้งอยู่ในคณะต่างๆ ซึ่งเปิดให้ผู้สนใจได้เข้าชมตลอดทั้งปี หนึ่งในพิพิธภัณฑ์ที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายคือ "พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา" คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเปิด พิพิธภัณฑ์เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2530 ในครั้งนั้นได้ทรงมีพระราชดำรัสในพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ว่า
ชื่อผู้แต่ง:
-

ชื่อผู้แต่ง:
-