พิพิธภัณฑ์กายวิภาค-คองดอน


พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งขึ้นโดย ศ.เอ็ดการ์ เดวิดสัน คองดอน ผู้เข้ามาปรับปรุงการศึกษาแพทย์เมื่อ พ.ศ. 2470 ต่อมา ศ. นพ.สุดแสงวิเชียร ได้พัฒนาจนเป็นพิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์ เปิดเป็นทาง การเมื่อ พ.ศ. 2491 ภายในพิพิธภัณฑ์มีส่วนจัดแสดงแบ่งเป็น 2 ห้อง คือ ห้องแรกแสดงสิ่งแสดงทางกายวิภาคทั่วไป ประกอบด้วย กายวิภาคของอวัยวะรับความรู้สึกพิเศษ เช่น หู ตา จมูก ลิ้น การจัดแสดงระบบประสาท ระบบหลอดเลือด การจัดแสดงการเจริญเติบโตตามอายุ ตั้งแต่ เอมบริโอขนาดเล็ก ทารกในครรภ์ขนาดต่างๆ จนถึงระยะคลอด การจัดแสดงอวัยวะตามระบบต่างๆ คือ ระบบปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์ ระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ มีการจัดแสดงร่างกายมนุษย์ตัดตามขวางตลอดตัว ห้องที่ 2 จัดแสดงเฉพาะกระดูกและข้อต่อ ประกอบด้วยการจัดแสดงกระดูกทุกชิ้นของร่างกาย รวมทั้งกะโหลกซึ่งแยกเป็นชิ้นๆ แสดงส่วนประกอบของกระดูก การแสดงข้อต่อแบบต่างๆ นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงโครงกระดูกของบุคคลสำคัญในวงการแพทย์อีกด้วย ภายในพิพิธภัณฑ์นี้มีสิ่งจัดแสดงที่สำคัญคือ เส้นประสาททั้งร่างกาย หลอดเลือดแดงทั้งร่างกายซึ่งเป็นผลงานระดับโลกที่หาดูได้ยาก

ชื่อเรียกอื่น:
พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์คองดอน
ที่อยู่:
ชั้น 3 ตึกกายวิภาคศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช ถ.พรานนก แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700
โทรศัพท์:
0-2419-6363 ,ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ 0-2419-7029
วันและเวลาทำการ:
จันทร์,พุธ-อาทิตย์ เวลา หน่วยพิพิธภัณฑ์ศิริราช 10.00-17.00 น. (ปิดจำหน่ายตั๋วเวลา 16.00 น.) ปิดทำการวันอังคารเเละวันหยุดนักขัตฤกษ์
ค่าเข้าชม:
1.พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช หรือพิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน เพียงแห่งเดียว ต่างชาติ 200 บาท / ไทย 80 บาท เด็กไทยและต่างชาติ อายุต่ำกว่า 18 ปี 25 บาท 2. บัตรเดียวเที่ยว 2 พิพิธภัณฑ์ ต่างชาติ 300 บาท / ไทย 150 บาท เด็กไทยและต่างชาติ 50 บาท
อีเมล:
sirirajmuseum@gmail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2491
ของเด่น:
Specimen เส้นประสาททั้งร่างกาย, Specimen หลอดเลือดแดงทั้งร่างกายซึ่งเป็นผลงานระดับโลกที่หาดูได้ยาก
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ศิริราชชวนเที่ยวพิพิธภัณฑ์คองดอน

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 11/8/2547

ที่มา: มติชนรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ตะลึง!! คนเป็นขโมยคนตาย ที่ "พพ.กายวิภาค ศิริราช"

ชื่อผู้แต่ง: หนุ่มลูกทุ่ง | ปีที่พิมพ์: 15 พ.ค. 2555;15-05-2012

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 04 มิถุนายน 2558

พิพิธภัณฑ์ศิริราช คู่มือการชม

ชื่อผู้แต่ง: พิพิธภัณฑ์ศิริราช | ปีที่พิมพ์:

ที่มา: พิพิธภัณฑ์ศิริราช

แหล่งค้นคว้า: พิพิธภัณฑ์ศิริราช

โดย: ศมส.

วันที่: 20 กรกฎาคม 2564

ดูลิงค์ต้นฉบับ

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์คองดอน

โรงพยาบาลศิริราชเป็นโรงพยาบาลหลวงและสถาบันผลิตแพทย์แห่งแรกของประเทศไทย นอกจากจะเป็นสถานพยาบาลแล้ว ยังมีพิพิธภัณฑ์หลายแห่งภายใต้โครงการ “พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช” ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ เปิดให้ผู้สนใจเข้าชม ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ภายวิภาคศาสตร์คองดอน พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ สงกรานต์ นิยมเสน พิพิธภัณฑ์และห้องปฏิบัติการเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ สุด แสงวิเชียร พิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาเอลลิส พิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยาและพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์การแพทย์ไทย อวย เกตุสิงห์ 

พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์คองดอน ก่อตั้งขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนของนักศึกษาแพทย์ เมื่อทางมูลนิธิร็อกกีเฟลเลอร์ได้ส่งศาสตราจารย์ เอ็ดการ์ด เดวิดสัน คองดอน(Edgar Davidson Congdon) มาสอนวิทยาการแพทย์ตะวันตกให้กับนักศึกษา หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จากนั้นมีการเก็บสะสมรวมทั้งจัดทำสิ่งแสดงทางกายวิภาคศาสตร์ (specimen) มาเรื่อยๆ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของพิพิธภัณฑ์ โดยพิพิธภัณฑ์เปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อ วันที่ 17 เมษายน 2491 

การจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์แบ่งเป็น 2 ห้องใหญ่ คือ ห้องกายวิภาคศาสตร์ทั่วไป และห้องกระดูก ซึ่งจัดแสดงอวัยวะต่าง ๆ มากกว่า 1,000 ชิ้น ห้องกายวิภาคศาสตร์ทั่วไปประกอบด้วยตู้จัดแสดงอวัยวะรับความรู้สึกพิเศษต่าง ๆ เช่น หู ตา จมูก ลิ้น แสดงระบบหลอดเลือด หัวใจ ระบบประสาท รวมไปถึงการเจริญเติบโตเป็นระยะ ๆ ของระบบดังกล่าว ซึ่งเราจะเห็นระบบเส้นประสาททุก ๆ เส้นที่อยู่ภายในร่างกาย ระบบหลอดเลือดแดงทั่วร่างกายที่มีเพียงชิ้นเดียวในโลก วิวัฒนาการเติบโตของเด็กในครรภ์ตั้งแต่อายุไม่เกิน 8 สัปดาห์ จนครบกำหนดคลอด นอกจากนี้ยังแสดงระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ระบบขับถ่าย ระบบสืบพันธุ์ ระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ หลอดน้ำเหลือง และระบบต่อมไร้ท่อ อีกทั้งยังมีฝาแฝดติดกันในลักษณะต่าง ๆ 

ส่วนที่สองคือ ห้องกระดูก จัดแสดงกระดูกและข้อต่อทุกชิ้นในร่างกาย สิ่งแสดงส่วนใหญ่ชำแหละมาจากอาจารย์ใหญ่ซึ่งได้จากการบริจาค และยังมีหุ่นจำลอง ภาพเขียนรูปภาพและพลาสติก แต่จริงๆ แล้วตามวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้เรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับมนุษย์ ร่างกายและอวัยวะส่วนต่างๆ ซึ่งมีคุณค่าต่อวงการแพทย์ไทยเป็นอย่างยิ่ง โครงกระดูกของบุคคลสำคัญ เช่น พระยาอุปกิตศิลปสาร(นิ่ม กาญจนชีวะ) ซึ่งเป็นคนนำคำว่า “สวัสดี”มาให้คนไทยใช้ และบุคคลแรกที่อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาโครงกระดูกของศ.นพ.สุด แสงวิเชียร ผู้นำความเจริญมาสู่กายวิภาคศาสตร์

ข้อมูลจาก: สำรวจภาคสนาม วันที่ 17 พ.ค.49 และ 27 ธ.ค.50

ชื่อผู้แต่ง:
-

ตะลึง!! คนเป็นขโมยคนตาย ที่ "พพ.กายวิภาค ศิริราช"

หลังจากมีข่าวพบชิ้นส่วนมนุษย์ในกล่องพัสดุที่เตรียมส่งไปยังสหรัฐอเมริกา และคาดว่ามีการขโมยออกไปจากพิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ซึ่งทางศิริราชพยาบาลก็ได้มีการแจ้งความของหายจำนวน 5 ชิ้น และต้องมีการติดตามตรวจสอบต่อไป สำหรับ "พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์" นั้นเป็นอย่างไร ฉันจะชวนมาทำความรู้จักไปพร้อมๆ กัน พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์ หรือในชื่อเต็มคือ “พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์ คองดอน” โรงพยาบาลศิริราช เป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ทางการแพทย์ที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าไปเรียนรู้
ชื่อผู้แต่ง:
-