พิพิธภัณฑ์เวียงพยาว (วัดลี)


ที่อยู่:
วัดลี บ้านหล่ายอิง ต.เวียง อ.เมือง จ.พะเยา 56000
โทรศัพท์:
054-431835, 062-5013711 ติดต่อพระวิมลญาณมุนี
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00-15.00น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
ปีที่ก่อตั้ง:
2550
ของเด่น:
พระยิ้ม(พระพุทธรูปหินทรายปางสมาธิ),เศียรพระพุทธรูปหินทราย,เครื่องสังคโลก
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

คนพะเยาตื่น "พระยิ้ม" มีเหลียวมองตาม

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 22 ก.พ. 2554;2011-02-22

ที่มา: ไทยรัฐ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ชวนไปดู"พระ"วัดลี ความงามแบบพะเยา ไม่เหมือนใคร-ไม่มีใครเหมือน

ชื่อผู้แต่ง: พนิดา สงวนเสรีวานิช | ปีที่พิมพ์: 27 ก.ย. 2552;2009-09-27

ที่มา: มติชน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์เวียงพยาว(วัดลี) แหล่งโบราณวัตถุล้ำค่า

ชื่อผู้แต่ง: สายอรุณ ปินะดวง | ปีที่พิมพ์: 29 ก.ย. 2556;29-09-2013

ที่มา: มติชน

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 01 ตุลาคม 2556

ปลุกชีวิต ให้พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเมืองพะเยา

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 14 ก.ย. 2552;2009-09-14

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 10 กรกฎาคม 2557

พะเยา-พยาว-พระเยอะ...ที่“วัดลี”

ชื่อผู้แต่ง: ปิ่น บุตรี | ปีที่พิมพ์: 28 ก.ค. 2554;2011-07-28

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 10 กรกฎาคม 2557


ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์เวียงพยาว (วัดลี)

       เวียงพยาวหรือเวียงรูปน้ำเต้า เป็นเวียงโบราณที่อยู่ในจังหวัดพะเยา มีรูปร่างคล้ายผลน้ำเต้า มีแนวคูเมืองล้อมรอบหนึ่งชั้น ปัจจุบันโบราณสถานที่ยังคงสภาพเป็นสมบูรณ์เหลือเพียงแห่งเดียว คือ วัดลี ซึ่งเป็นวัดที่สร้างมาตั้งปี พ.ศ. 2038

      สันนิษฐานว่า เวียงพยาวน่าจะเป็นเมืองยุคแรกๆ ของพะเยา ตั้งแต่สมัยขุนจอมธรรมมาสร้างเมืองพะเยา แต่จากการขุดค้นทางโบราณคดี ยังไม่พบหลักฐานที่มีอายุเก่าแก่ไปถึงสมัยขุนจอมทองหรือยุคใกล้เคียง ตามตำนานเมืองพะเยาในยุคประวัติศาสตร์ ชื่อเมืองพะเยาได้ปรากฏเป็นครั้งแรกในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 2 (วัดศรีชุม) จารึกขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 19-20 ได้เล่าเหตุการณ์ย้อนช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 กล่าวถึง ชื่อเมืองพะเยาว่า “พยาว” ในสมัยพ่อขุนศรีนาวนำถุม กษัตริย์แห่งเมืองสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย เมืองพะเยามีความเจริญรุ่งเรืองและมีความสัมพันธ์อันดีกับพ่อขุนรามคำแหง
       
       ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 20-21 ยุคสมัยพระยายุทธิษฐิระ เจ้าเมืองสองแควหรือเมืองพิษณุโลก ศิลปวัฒนธรรมและพระพุทธศาสนาได้รับการทำนุบำรุงจนมีความเจริญรุ่งเรืองมาก เป็นยุคทองของเมืองพะเยา และทำให้พะเยากลายเป็นเมืองสำคัญทางพุทธศาสนา
       
       ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์เวียงพยาว หรือพิพิธภัณฑ์วัดลี เกิดจากแรงบันดาลใจและสำนึกรักถิ่นเกิดของพระครูอนุรักษ์บุรานันท์ เจ้าอาวาสวัดลีที่เล็งเห็นคุณค่าโบราณวัตถุที่ถูกทอดทิ้งอยู่ตามวัดร้างต่างๆ ในเมืองพะเยา ท่านจึงนำมาเก็บสะสมไว้เป็นจำนวนมากที่วัดลี เป็นเวลากว่า 50 ปีมาแล้ว โดยเริ่มโครงการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์เวียงพยาว (วัดลี) เพื่อเก็บรักษาและจัดแสดงโบราณวัตถุให้เป็นระบบในปี พ.ศ. 2544 แต่ไม่สามารถดำเนินการจัดตั้งได้ เนื่องจากมีงบประมาณสนับสนุนไม่เพียงพอ จนในปี พ.ศ. 2549 ทางจังหวัดพะเยาได้เล็งเห็นความสำคัญ จึงผลักดันการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์จนประสบความสำเร็จในปี พ.ศ. 2550 เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรมของเมืองพะเยา
       
      พิพิธภัณฑ์เวียงพยาว (วัดลี) เป็นอาคาร 2 ชั้น เก็บรวบรวมพระพุทธรูปหินทรายนับพันองค์ บางองค์มีสภาพสมบูรณ์ บางองค์ก็ชำรุดทรุดโทรม พระพุทธรูปหินทรายจำนวนมากเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า พระพุทธรูปสกุลช่างพะเยาส่วนใหญ่จะสลักจากหินทราย แบ่งส่วนการจัดแสดงออกเป็น 5 ส่วน
       
       ชั้นล่างมีการจัดแสดง 2 ส่วน ส่วนจัดแสดงที่ 1 คลังเก็บโบราณวัตถุ เป็นคลังเก็บโบราณวัตถุกึ่งจัดแสดง โบราณวัตถุที่เก็บรักษา ประกอบด้วย เครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งเตาภาคเหนือ เครื่องถ้วยจีน พระพุทธรูปหินทรายและประติมากรรมหินทรายต่างๆ นอกจากนี้ยังเก็บของใช้พื้นบ้านเมืองพะเยาด้วย

       ส่วนจัดแสดงที่ 2 พระพุทธรูปหินทรายและประติมากรรมหินทรายสกุลช่างพะเยา เป็นการจัดแสดงพระพุทธรูปหินทรายปางต่างๆ ของช่างสกุลพะเยา อาทิ พระพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัย  พระพุทธรูปปางประทับยืนหินทราย รวมทั้งศิลาจารึกของเมืองพะเยา ประติมากรรมหินทรายรูปสัตว์ อาทิ หัวสิงห์ดินทราย หัวม้าดินทราย หัวหงส์ดินทราย ส่วนประกอบของสถาปัตยกรรมโบราณสถาน อาทิ ถาน(ส้วม)หินทราย ถังน้ำหินทราย ประติมากรรมหินทรายเหล่านี้ พระครูอนุรักษ์บุรานันท์ เจ้าอาวาสวัดลี ได้เก็บรักษาและขอรับบริจาคจากชาวบ้านมา เป็นประติมากรรมหินทรายทีทรงคุณค่า มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีความสวยงามโดดเด่น
 
       ชั้นบนมีการจัดแสดง 3 ส่วน ดังนี้ ส่วนจัดแสดงที่ 3 เครื่องสักการะบูชา ที่เกิดจากความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชน หากได้ทำสิ่งนี้แล้วนำไปสักการะบูชาพระรัตนตรัย จะเกิดบุญกุศลและความเจริญ อาทิ สัตตภัณฑ์ สำหรับใช้จุดเทียนบูชาพระรัตนตรัย

        ส่วนจัดแสดงที่ 4 เครื่องปั้นดินเผา มีทั้งเครื่องปั้นดินเผาที่มีผู้นำมาถวาย และเครื่องปั้นดินเผาที่พระครูอนุรักษ์บุรานันท์ เป็นผู้เก็บรวบรวมไว้ ส่วนมากเป็นเครื่องปั้นดินเผาที่รวบรวมจากแหล่งโบราณคดีต่างๆ ในเขตจังหวัดพะเยา เช่น โบราณสถานในเวียงน้ำเต้า โบราณสถานในกว๊านพะเยา นอกจากนี้ยังได้เก็บทั้งเครื่องถ้วยจีน เครื่องถ้วยยุโรป และเครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งเตาภายในประเทศ รวบรวมไว้ด้วย เช่น เตาแม่น้ำน้อย จังหวัดสิงห์บุรี เตาเกาะน้อย เตาสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย เตาเวียงกาหลง เตาพาน จังหวัดเชียงราย และเตาบ้านบัว จังหวัดพะเยา

      สำหรับส่วนจัดแสดงที่ 5 ของใช้ในชีวิตประจำวัน พระครูอนุรักษ์บุรานันท์ได้เก็บรวบรวมไว้มีจำนวนมากและหลากหลายประเภท โดยแบ่งตามวัตถุตามการใช้สอย ดังนี้
-          เครื่องใช้ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร เช่น โตก ถ้วยแบน ครกมือ
-          เครื่องใช้ในการทำเกษตร และเครื่องมือดักสัตว์ เช่น ไถ คราด แอก ฯลฯ
-          อุปกรณ์ทอผ้าและเครื่องนุ่งห่ม เช่น กี่ทอผ้า ไน ฯลฯ
-          เครื่องใช้ในครัวเรือน เช่น ตะเกียง ถ้วยชาม ปิ่นโต เงินตรา ตาชั่ง เป้ง เตารีด ฯลฯ
-          อาวุธ เช่น ดาบ หอก ปืน ฯลฯ
-          เครื่องดนตรี เช่น กลอง ปี่ สะล้อ
-          ของใช้ร่วมสมัยต่างๆ ซึ่งยังคงมีการใช้งานอยู่ถึงปัจจุบัน เช่น กล้องถ่ายรูป เครื่องเล่นแผ่นเสียง วิทยุ โทรทัศน์ เก้าอี้ไม้ ฯลฯ

       นอกจากนี้ ภายในพิพิธภัณฑ์เวียงพยาว (วัดลี) ได้มีการจัดแสดงศิลาจารึกที่เป็นหลักฐานแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีตด้วย เช่น จารึกเจ้าสี่หมื่น กล่าวถึง เจ้าสี่หมื่นพระยามาสร้างพระพุทธรูปให้กับวัดแห่งหนึ่งในเมืองพะเยา จารึกคอระฆังเจดีย์หินทราย กล่าวถึง คอระฆังเจดีย์นี้เป็นของชาวบ้านเริงถวายให้แก่วัด โดยสามารถดูข้อมูลจารึกหลักต่างๆ ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่ ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย
 
วริสรา แสงอัมพรไชย / เขียน
 
ข้อมูลจาก
การสำรวจข้อมูลภาคสนาม เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2556
แผ่นพับประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์เวียงพยาว (วัดลี)
เกรียงศักดิ์ ชัยดรุณ.(2551) โบราณวัตถุและศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑ์เวียงพยาว (วัดลี) มรดกวัฒนธรรมแห่งภูมิปัญญาท้องถิ่น. พะเยา: นครนิวส์การพิมพ์.
ชื่อผู้แต่ง:
-

พะเยา-พยาว-พระเยอะ...ที่“วัดลี”

“พะเยา” ชื่อเสียงเรียงนามของจังหวัดนี้ ที่ใครและใครหลายคนมักยิงมุกว่าเป็นเมือง“พระเด็ก”(พระเยาว์)นั้น มาจากชื่อเดิม“พยาว”(สะกดแบบเก่า) ที่มาจาก“ภูยาว” หรือ “ภูกามยาว” อันเป็นทิวเขาสำคัญประจำเมือง พยาวแม้จะเปลี่ยนมาเป็นพะเยา แต่สำหรับที่ “วัดลี” ทางวัดได้นำชื่อเก่ามาตั้งเป็นชื่อ “พิพิธภัณฑ์เวียงพยาว” ที่จัดแสดงของดีท้องถิ่นไว้ให้ผู้สนใจได้ชมกันมากมาย
ชื่อผู้แต่ง:
-

พิพิธภัณฑ์เวียงพยาว(วัดลี) แหล่งโบราณวัตถุล้ำค่า

เทศบาลเมืองพะเยา ปัจจุบันมีเนื้อที่ 9 ตร.กม. หรือ 5,625 ไร่ ประกอบด้วย 2 ตำบล คือ ตำบลเวียง และตำบลแม่ต๋ำ แหล่งท่องเที่ยวในเขตเทศบาลเมืองพะเยาที่สำคัญ ได้แก่ กว๊านพะเยา อนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง พระตำหนักสมเด็จย่า โบราณสถาน ประกอบด้วย วัดศรีโคมคำ หรือวัดพระเจ้าตนหลวง วัดหลวงราชสัณฐาน วัดพระธาตุจอมทอง และวัดลี เป็นต้น โดยเฉพาะ "วัดลี" คือจุดเริ่มต้นของ พิพิธภัณฑ์เวียงพยาว (วัดลี) เกิดจากแรงบันดาลใจและความสำนึกรักถิ่นเกิดของ พระครูอนุรักษ์บุรานันท์ เจ้าอาวาสวัดลี และคณะอำเภอเมือง จ.พะเยา ที่ท่านได้เล็งเห็นคุณค่าโบราณวัตถุ ซึ่งเป็นสมบัติของชาติจำนวนมากถูกทอดทิ้งอยู่ตามวัดร้างต่างๆ ในเมืองพะเยา
ชื่อผู้แต่ง:
-

ปลุกชีวิต ให้พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเมืองพะเยา

เมืองไทยเป็นดินแดนเก่าแก่มาแต่โบราณ มีการค้นพบ ศิลาจารึก ถ้วยโถโอชามมากมาย ทั้งโบราณสถานและโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก กลาดเกลื่อนทั่วแผ่นดิน แม้จะมีพิพิธภัณฑ์ทั้งของภาครัฐและเอกชนหลายแห่ง ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บสมบัติชาติเหล่านี้ไว้มิให้สูญหายและรอดพ้นจากการโจรกรรมจากนักค้าโบราณวัตถุ
ชื่อผู้แต่ง:
-

ชวนไปดู"พระ"วัดลี ความงามแบบพะเยา ไม่เหมือนใคร-ไม่มีใครเหมือน

คลิกอ่านบทความ "ชวนไปดู"พระ"วัดลี ความงามแบบพะเยา ไม่เหมือนใคร-ไม่มีใครเหมือน" นสพ.มติชน วันที่ 27 กันยายน 2552
ชื่อผู้แต่ง:
มติชนรายวัน