พิพิธภัณฑ์สถานอริยาลังการอนุสรณ์ พ.ศ.2534 วัดแสนเมืองมา


อดีตท่านเจ้าอาวาส คือท่านพระครูอริยลังการยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้เก็บรวบรวมสิ่งของเครื่องใช้ไว้ เมื่อมรณภาพปี 2527 เจ้าอาวาสองค์ต่อมา ท่านพระครูสุวรรณบริรักษ์ เจ้าคณะอำเภอเชียงคำ ได้รวบรวมสิ่งของต่างๆ และใน ปี 2534 จึงจัดได้ทำเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านขึ้น ต่อมาได้ทุนสนับสนุนจากวัฒนธรรมจังหวัดก่อตั้งเป็นศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช มีการบูรณะอาคาร และจัดแสดงวัตถุใหม่ ภายในนำเสนอภาพพระราชกรณียกิจในหลวงรัชกาลที่ 9 พระองค์เสด็จพระราชดำเนินจังหวัดพะเยาเป็นจำนวน 19 ครั้ง (ในอำเภอเชียงคำถึง 12 ครั้ง) เนื้อหาโดยสังเขปของนิทรรศการส่วนแรก ภาพถ่ายต่าง ๆ สำเนาจากหอจดหมายเหตุฯ จังหวัดพะเยา จากนั้นนำเสนอสิ่งที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยสี่ ได้แก่ แบบบ้านจำลองไทลื้อแบบดั้งเดิม ที่มีจั่วเดียวและมีหน้าต่างเป็นช่องเล็ก

ชื่อเรียกอื่น:
ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดแสนเมืองมา (ไทลื้อ), พิพิธภัณฑ์วัดแสนเมืองมา
ที่อยู่:
วัดแสนเมืองมา 113 บ้านมาง หมู่ที่ 4 ถ.เชียงคำ-พะเยา ต.หย่วน อ.เชียงคำ จ.พะเยา 56110
โทรศัพท์:
0-5445-1399, 0861181779 (อาจารย์สุชิน โนวิชัย)
โทรสาร:
0-5445-1399
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน (โปรดติดต่อล่วงหน้าก่อนการเข้าชม)
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
อีเมล:
tbmphayao@hotmail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2534
ของเด่น:
เรือนไทลื้อจำลอง (แบบดั้งเดิม), เรือนไทลื้อจำลอง (เฮือนไทลื้อแม่แสงดา), เครื่องมือการเกษตร, พระพุทธรูปไม้, เครื่องกระเบื้อง, ผ้าและผลิตภัณฑ์สิ่งทอ
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดแสนเมืองมา (ไทลื้อ)

พิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดแสงเมืองมา จังหวัดพะเยา สะท้อนความเป็นอัตลักษณ์ไทลื้อในหลายมิติ อาจารย์สุชิน โนวิชัย และอาจารย์บุญเริ่ม วงศ์ใหญ่ร่วมให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ และนำชมนิทรรศการในส่วนต่าง ๆ รวมถึงกิจกรรมกับสถานศึกษาในท้องถิ่น 

จุดเริ่มต้นการสะสม 

พ.ศ. 2526 ท่านพระครูอริยลังการยังมีชีวิตอยู่ ตอนนั้น บวชเป็นพระภิกษุและจำพรรษาอยู่หนึ่งพรรษาอยู่กับท่าน ท่านก็เก็บรวบรวมสิ่งของเครื่องใช้ไว้ บริเวณอาคารหลังเล็ก หลังจากนั้น เมื่อมรณภาพปี 2527 เจ้าอาวาสองค์ต่อมา ท่านพระครูสุวรรณบริรักษ์ เจ้าคณะอำเภอเชียงคำ รวบรวมของเยอะ ปี 2534 เอาของขึ้นด้านบนเป็น “พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดแสนเมืองมา” 

อาจารย์บุญเริ่มบอกเล่าความทรงจำแต่วัยหนุ่มที่ได้เห็นการสะสมวัตถุสำคัญและสิ่งมงคลต่าง ๆ รวมถึงเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้านของเจ้าอาวาสวัดแสงเมืองมาในแต่ละรุ่น อาจารย์สุชินกล่าวเพิ่มเติมว่าอาคารพิพิธภัณฑ์ที่เห็นในปัจจุบันได้รับการบูรณะและเปลี่ยนแปลง จากอาคารชั้นเดียวเป็นอาคารสองใช้เมื่อราว พ.ศ.2530 และราว พ.ศ. 2555-2556 นางอรทัย จรัสดาราแสง ดำรงตำแหน่งเป็นวัฒนธรรมจังหวัด เป็นคนเชียงคำ ได้เสนอกับกรมส่งเสริมวัฒนธรรมให้พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดแสงเมืองมาเป็นศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช จวบจนเมื่อ พ.ศ. 2557 จึงได้รับงบประมาณสนับสนุนการพัฒนา การจัดระบบวัตถุ โดยได้รับงบประมาณในครั้งนั้น 280,000 บาท  

อาจารย์สุชินกล่าวเสริมถึงรูปแบบการดำเนินการ ประกอบด้วยการปรับปรุงสถานที่ การพัฒนาเนื้อหานิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับการเสด็จพระราชดำเนินของในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช และการพัฒนาโมเดลจำลองบ้านไทลื้อในอดีตเป็นชิ้นงานที่สร้างขึ้นจากงบประมาณนั้น  

ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2558 ในงานพิธีเปิดนั้น อาจารย์บุญเริ่มกล่าวถึงการจัดงานอย่างภาคภูมิใจ “มีการเปิดอย่างยิ่งใหญ่ กลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดพะเยาและจังหวัดใกล้เคียง เข้ามาร่วมงาน ศ.ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงวัฒนธรรมในเวลานั้น ร่วมเป็นแขกคนสำคัญ” ตลอดหลายปี นับตั้งแต่พัฒนาให้พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดแสงเมืองมาเป็นศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช บ้านมางได้รับการสนับสนุนโครงการสำคัญหลายโครงการ เช่น ถนนคนเดินสายวัฒนธรรมไทลื้อ กาดเมืองมาง ตลาดต้องชมที่เป็นโครงการของกระทรงพาณิชย์ 

ในช่วงเวลาดังกล่าว เป็นระยะเวลาที่อาจารย์ทั้งสองและผู้อาวุโสของชุมชนจัดกิจกรรมให้กับสถานศึกษาที่เข้ามาศึกษาดูงาน รวมถึงการพัฒนามัคคุเทศก์ท้องถิ่นในการต้อนรับผู้มาเยือนจากภายนอก นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาในการส่งเสริมคุณธรรม ให้สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง และการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชน โครงการเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนวิทยากรให้ความรู้เพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนามัคคุเทศก์ท้องถิ่น และกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น การฝึกตีกลองสะบัดชัย การฟ้องดาบฟ้อนเจิง การเล่นดนตรี อาทิ ซะล้อ ซอ ซึง  

ภายในศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช 

เริ่มตั้งแต่ทางเข้าอาคารชั้นบน นำเสนอภาพพระราชกรณียกิจในหลวงรัชกาลที่ 9 พระองค์เสด็จพระราชดำเนินจังหวัดพะเยาเป็นจำนวน 19 ครั้ง (ในอำเภอเชียงคำถึง 12 ครั้ง) “เพราะในทศวรรษ 2510 พะเยาเป็นพื้นที่สีแดงที่เกิดการปะทะกันระหว่างผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์กับฝ่ายความมั่นคงในพื้นที่ พระองค์เสด็จครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2525 ทรงเปิดอนุสรณ์สถานที่บ้านเชียงบาน ซึ่งเป็นอนุสรณ์ที่ระลึกถึงทหารตำรวจที่เสียชีวิต ซึ่งเราจัดงานระหว่างวันที่ 31 มกราคมถึงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ทุกปี” อาจารย์บุญเริ่มบอกเล่าเนื้อหาโดยสังเขปของนิทรรศการส่วนแรก ภาพต่าง ๆ เหล่านี้มาจากหอจดหมายเหตุฯ จังหวัดพะเยา  

จากนั้น เป็นการกล่าวถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยสี่ เริ่มต้นจากแบบบ้านจำลอง โดยมีการนำเสนอแบบบ้านจำลองไทลื้อแบบดั้งเดิม ที่มีจั่วเดียวและมีหน้าต่างเป็นช่องเล็ก ภายในแสดงให้เห็นลักษณะของเรือนโล่ง ที่มีการแบ่งพื้นที่ชานเรือนสำหรับรับแขก ส่วนบริเวณภายในไม่มีการกั้นห้อง ใช้มุ้งสีดำในการแบ่งครอบครัวต่าง ๆ ในครอบครัวใหญ่ โมเดลจำลองอีกหลังหนึ่งใช้

ชื่อผู้แต่ง:
ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ