เฮือนไทลื้อแม่แสงดา


ที่อยู่:
เลขที่ 31 หมู่ที่ 2 บ้านธาตุสบแวน ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา 56110
โทรศัพท์:
088 267 5101 (ครูดรุณี สมฤทธิ์)
วันและเวลาทำการ:
กรุณานัดหมายล่วงหน้า
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2555
ของเด่น:
เรือนไทลื้อผสมล้านนา, การสาธิตการเตรียมฝ้ายและการทอผ้าไทลื้อ
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

เฮือนไทลื้อแม่แสงดา

บ้านไทลื้อที่คนภายนอกรู้จัก 

ไม่ไกลจากโรงเรียนอนุบาลเชียงคำ จังหวัดพะเยา เฮือนไทลื้อแม่แสงดาเป็นเรือนพื้นถิ่นใต้ถุนสูง ในบริเวณบ้านที่กว้างขวางรองรับคนได้หลายสิบ ครูดรุณี สมฤทธิ์ อดีตข้าราชการครูและสะใภ้ของบ้าน “สมฤทธิ์” ให้การต้อนรับผู้สำรวจที่เรือนชั้นบน เราสนทนาในบริเวณชานที่เชื่อมต่อระหว่างยุ้งที่เคยเก็บข้าวกับเรือนหลัก พื้นที่ชั้นบนอาจแบ่งได้เป็นสี่ส่วนสำคัญ ได้แก่ เรือนหลักซึ่งเป็นเรือนนอน เรือนครัวติดกับเรือนนอนหลัก ชานที่เชื่อมระหว่างเรือนหลักและยุ้ง และยุ้งที่เคยใช้เก็บข้าวและผลผลิตทางการเกษตร 

ครูดรุณีให้คำอธิบายถึงเฮือนไทลื้อแม่แสงดาเริ่มเป็นที่รู้จักกับสาธารณชนภายนอก เพราะเคยเป็นฉากในภาพยนตร์เรื่องหนึ่งเมื่อกว่าสิบปีที่แล้ว จนเมื่อราว พ.ศ. 2555 เริ่มมีรายการโทรทัศน์หลายรายการที่มาใช้เรือนหลังนี้ในการบันทึกรายการ เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับอาหารไทลื้อ ชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทลื้อ และมาในระยะสามสี่ปีหลังนี้จึงเปิดเป็นศูนย์เรียนรู้  

บ้านธาตุสบแวนเป็นหนึ่งในสี่หมู่บ้านที่ได้รับการสนับสนุน ตามโครงการหมู่บ้านท่องเที่ยวประชารัฐของรัฐปัจจุบัน และกำหนดให้เป็นเฮือนไทลื้อแม่แสงดาเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวสำหรับการเรียนรู้วัฒนธรรมในท้องถิ่น รับแขกผู้มาเยือนในลักษณะของโฮมสเตย์ ทั้งการต้อนรับ การชมสาธิตการทอผ้าและเตรียมเส้นฝ้าย อาหารและพักแรม 

ครูดรุณีให้ข้อมูลถึงโครงการล่าสุดเกี่ยวกับ เชฟชุมชน ซึ่งเป็นการคัดเลือกบ้านในชุมชนต่าง ๆ ให้เป็นสถานที่ในการเยี่ยมเยือน และลิ้มรสอาหารท้องถิ่นที่ทำโดยคนในชุมชน โครงการดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สำหรับในภาคเหนือ มีชุมชนราว 30 แห่งใน 5 จังหวัดที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ หากใครต้องการมาลิ้มรสอาหารท้องถิ่น ต้องโทรศัพท์ติดต่อกับเจ้าของบ้าน เพื่อการจัดเตรียมอาหารให้เหมาะสมกับจำนวนคน  

อย่างในการจัดกิจกรรมของเฮือนแม่แสงดาคือการกินอาหารแบบขันโตกแต่เสิร์ฟด้วยอาหารลื้อ เช่น ซำพริก ฮังเล โดยเราจะต้องเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับความเหมาะสมในการจัดเตรียมอาหาร ที่ผสมผสานระหว่างอาหารท้องถิ่นกับ “อาหารกลาง ๆ” และได้รับการสนับสนุนเครื่องครัวเพิ่มเติม 

ส่วนการเปิดให้คนเข้าพักนั้นเพิ่ง ครูดรุณีให้ข้อมูลว่าเริ่มเปิดโอกาสให้คนเข้าพักในช่วงปี 2561 ภายในหมู่บ้าน มีสี่ห้าหลังที่เข้าร่วมโครงการโฮมสเตย์ โดยคิดค่าใช้จ่ายคนละ 200 บาทต่อคืน 

เรื่องเล่าบนเรือน 

จากบริเวณชานเรือน มุมที่ให้ข้อมูลก่อนเข้าภายในเรือนหลักใช้การถ่ายสำเนาคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรือนที่ปลูกมาแล้ว 3 ชั่วอายุคน และเป็นเรือนไทลื้อดั้งเดิมเพียงไม่กี่หลังในอำเภอเชียงคำ เมื่อเดินเข้าสู่พื้นที่ชั้นใน สินค้าที่เป็นเสื้อผ้า สิ่งทอ และผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาจากผ้า จัดให้ผู้มาเยือนได้เลือกสรร ครูดดรุณีกล่าวถึงช่องทางที่ชาวบ้านที่รู้จักกันจะนำสินค้ามาฝากจำหน่าย รวมถึงสินค้าที่แม่แสงดาผู้เป็นเจ้าเรือนขายเพื่อเป็นรายได้สนับสนุนการดูแลเรือน ใกล้บริเวณที่แสดงสินค้า เป็นเตียงไม้ที่แม่แสงดาคงใช้ชีวิตในยามค่ำคืน  

พื้นที่ด้านในเป็นบริเวณที่ให้แขกเหรื่อที่พักแรมสามารถนอนพัก ฉะนั้น จึงเป็นพื้นที่โล่งเมื่อไม่มีผู้เข้าพัก ยามใดที่มีผู้มาพักแรม จะนำฟูกและมุ้งสีดำที่เป็นเอกลักษณ์ของคนลื้อมาใช้ต้อนรับ เปิดโอกาสให้คนได้สัมผัสชีวิตความเป็นอยู่ของคนท้องถิ่นในแบบดั้งเดิม บริเวณภายในห้องมีหน้าต่างไม่มากนัก ประตูบานหนึ่งนำไปสู่ลานที่เชื่อมต่อไปยังห้องครัว ภายในห้องครัวมีการจัดแสดงก้อนเส้าเตาไฟ ไว้ที่กลางห้อง โดยเป็นกะบะดิน ครูดรุณีให้ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับห้องครัว  

เดิมทีครูหนิงพักอยู่ในห้องเช่นกัน เมื่อย้ายมาเข้าเป็นสะใภ้บ้านนี้ ซึ่งเดิมนั้น เป็นห้องครัวดังที่เห็นในปัจจุบัน เราอธิบายให้เด็กที่ไม่เคยเห็นครัวไฟเช่นนี้ โดยจัดข้าวของเครื่องใช้ให้อยู่ในตำแหน่งที่เคยใช้งาน ทั้งหม้อใส่ข้าว ครกตำพริก หม้อแกง สำหรับแขกที่มาเยือนและนัดทานอาหารไว้ล่วงหน้า จะมีโอกาสได้กินอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่น เช่น น้ำพริกน้ำปู หรือข้าวใบเส้นน้ำปู ที่ทำจากน้ำหน่อ น้ำผัก มีการตากข้าวเหนียวสุก และทำให้เป็นแผ่นและทานกับน้ำพริกน้ำปู 

ชื่อผู้แต่ง:
ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ