หอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคำ


ที่อยู่:
วัดศรีโคมคำ ถ.พหลโยธิน ต.เวียง อ.เมือง จ.พะเยา 56000
โทรศัพท์:
0-5441-0058-9, 05441-1496
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวันพุธ-วันอาทิตย์ 08.30-16.30 น.
ค่าเข้าชม:
ผู้ใหญ่คนไทย 20 บาท เด็ก/พระ/เณร 10 บาท ชาวต่างชาติ 40 บาท
อีเมล:
yothin_tip@hotmail.com , Nitut-hall@hotmail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2539
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

วัดศรีโคมคำ UNSEEN ในใจฉัน

ชื่อผู้แต่ง: ธีรภาพ โลหิตกุล | ปีที่พิมพ์: 2548

ที่มา: ไร้กาลเวลา 1+5 พิพิธภัณฑ์น่าชม. นนทบุรี: กองทุนห้องสมุดศาลาจำปีรัตน์ วัดชลประทานรังสฤษฎ์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เมืองพะเยา

ชื่อผู้แต่ง: พระราชวิสุทธิโสภณ และคณะ | ปีที่พิมพ์: 2527

ที่มา: กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรม เมืองพะเยา

ชื่อผู้แต่ง: สุจิตต์ วงษ์เทศ | ปีที่พิมพ์: 2538

ที่มา: กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

แอ่งวัฒนธรรมกว๊านพะเยา

ชื่อผู้แต่ง: สุจิตต์ วงษ์เทศ | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 14 ฉบับ 12 (ต.ค. 2537)

ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

หอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคำ พิพิธภัณท์ล้านนาตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพฯ แหล่งรวมของสูงค่า

ชื่อผู้แต่ง: สมบูรณ์ ใจแก้ว | ปีที่พิมพ์: 17/01/39

ที่มา: มติชนรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

Window on the past

ชื่อผู้แต่ง: Yvonne Bohwongprasert | ปีที่พิมพ์: 06-03-2551

ที่มา: Bangkok

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

หอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคำ ของดี "เมืองพะเยา"

ชื่อผู้แต่ง: สุทธาสินี จิตรกรรมไทย | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 30 ฉบับที่ 9 (กรกฏาคม) 2532

ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

รายงานการสำรวจศึกษาปัจจัยและแนวทางการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ให้ยั่งยืน กรณีชุมชนมีส่วนร่วม

ชื่อผู้แต่ง: ยุภาพร ธัญวิวัฒน์กุล | ปีที่พิมพ์: 2551;2008

ที่มา: รายงานทุนสนับสนุนการวิจัยสำหรับพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น โครงการเทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นครั้งที่ 1/2551

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 11 พฤศจิกายน 2556

ปลุกชีวิต ให้พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเมืองพะเยา

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 14 ก.ย. 2552;2009-09-14

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 10 กรกฎาคม 2557


รีวิวของหอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคำ

หอวัฒนธรรมนิทัศน์วัดศรีโคมคำ สถานที่จัดแสดงวัตถุโบราณ รวมถึงเอกสารข้อมูลสำคัญทางประวัติศาสตร์ ทั้งด้านวรรณกรรม  ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมประเพณี และวิถีความเป็นอยู่ของชาวบ้านในจังหวัดพะเยา เป็นเวลากว่า 43 ปี ที่หลวงพ่อพระธรรมวิมลโมลีได้พบซากปรักหักพังและประติมากรรมในยุคหินทรายของเมืองพะเยา (พุทธศตวรรษที่ 20-21) อันเป็นที่มาที่ทำให้หลวงพ่อได้เริ่มเก็บรักษาสมบัติของชาติเหล่านี้ไว้ ณ วัดศรีอุโมงค์คำ จนย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ ในปีพ.ศ.2512 จึงย้ายโบราณวัตถุทั้งหมดมาเก็บรักษาต่อ ณ วัดแห่งนี้ 

นับตั้งแต่การเริ่มต้นเก็บรวบรวมวัตถุโบราณ ตลอดจนการกลั่นกรองจนกลายเป็นหอวัฒนธรรมนิทัศน์วัดศรีโคมคำ ต้องใช้ระยะเวลากว่า 32 ปี จึงแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ.2539 หอวัฒนธรรมนิทัศน์วัดศรีโคมคำได้รับการออกแบบด้วยศิลปะล้านนาประยุกต์ ด้านหลังตัวอาคารติดกับกว๊านพะเยาจึงมีภูมิทัศน์ที่สวยงามตามธรรมชาติ ภายในอาคาร 2 ชั้น ประกอบด้วยห้องจัดแสดง 5 ห้อง แต่ละห้องแบ่งเป็นส่วนๆ รวมทั้งหมดเป็น 13 ส่วน ได้แก่ 

ส่วนที่ 1 กว๊านพะเยา จัดแสดงประวัติ เริ่มตั้งแต่เป็นนิทานปรัมปรา กว๊านพะเยาในอดีต รวมถึงวิถีชีวิตการประมงในเมืองพะเยา จุดเด่นของห้องนี้ นอกจากห้องที่โล่งสามารถมองทะลุกระจกใสมองเห็นภูมิทัศน์ของกว๊านพะเยาได้อย่างชัดเจน ยังมีการจำลองโครงกระดูกมนุษย์อายุราว 800 กว่าปี ซึ่งขุดค้นพบเมื่อปี 2547 ณ เมืองโบราณเวียงลอ

ส่วนที่ 2 ลานศิลาจารึก  จุดเด่นของห้องนี้คือ หลวงพ่อพุทธเศียร เศียรพระพุทธรูปหินทรายขนาดใหญ่ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 20-21 ถือได้ว่าเป็นพระพุทธรูปหินทรายที่มีพุทธลักษณะสวยงามที่สุด ตามแบบศิลปะหินทรายสกุลช่างพะเยาในยุคต้นที่ได้รับอิทธิพลจากทางสุโขทัย นอกจากนี้ยังมีหลักศิลาจารึก ส่วนใหญ่เป็นหินทรายอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 20-22 

ส่วนที่ 3 พะเยาก่อนประวัติศาสตร์ ตั้งอยู่บริเวณชั้นสองของอาคาร จัดแสดงวัตถุโบราณในยุคหินของคนในพื้นที่จังหวัด ห้องจัดแสดงจำลองบรรยากาศคล้ายเมืองโบราณ

ส่วนที่ 4 พะเยายุคต้น เน้นการเผยแพร่ประวัติพะเยาในแคว้นล้านนา จัดแสดงพระพุทธรูปปางต่างๆ ศิลปะล้านนา สกุลช่างพะเยา เป็นต้น

ส่วนที่ 5 พะเยายุครุ่งเรือง เป็นห้องที่อลังการที่สุด (ทางพระพุทธศาสนา) ในบรรดาห้องทั้งหมดของหอวัฒนธรรมนิทัศน์ฯ เนื่องจากมีการจัดแสดงศิลปะและวัตถุโบราณในยุครุ่งเรืองของเมืองพะเยา  ห้องนี้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าห้องพระ 

ส่วนที่ 6 เครื่องปั้นดินเผา ขุดค้นพบเป็นจำนวนมากในจังหวัดพะเยา ไม่ว่าจะเป็น จาน ชาม ถ้วย หรือไห ที่ถูกค้นพบมากที่สุดหนึ่งในจำนวนนั้นคือ “ไหบูรณคตะ” ชาวบ้านใช้บูชาหน้าพระ ถือเป็นไหที่สวยงามที่สุดในหอวัฒนธรรมนิทัศน์ฯ 

ส่วนที่ 7 พะเยายุคหลัง ส่วนนี้จัดแสดงเรื่องราวและวัตถุโบราณของพะเยาหลังถูกพม่ายึดครองและผนวกเข้ากับอาณาจักรล้านนา ห้องนี้จัดแสดงสิ่งของหลากหลาย

ส่วนที่ 8 กบฏเงี้ยว จัดแสดงเรื่องราวเงี้ยวบุกปล้นเมืองพะเยาเมื่อปีพ.ศ.2445 

ส่วนที่9 ประวัติพระเจ้าตนหลวง จัดแสดงภาพเก่า ฝีมือการวาดโดย จ ขันธะกิจ บิดาของสล่าแดง ซึ่งเป็นภาพเล่าเรื่องราวพระพุทธเจ้ากับพญานาคในกว๊านพะเยาและการก่อสร้างพระเจ้าตนหลวง พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์อันเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวพะเยาและชาวล้านนา

ส่วนที่ 10-11 วิถีและภูมิปัญญาพะเยากับความหวัง จัดแสดงเรื่องราวของบุคคลสำคัญของเมืองพะเยาและจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียนเกี่ยวกับเมืองพะเยา

ส่วนที่ 12 คนกับช้าง จัดแสดงเรื่องราวของช้างในด้านต่างๆในล้านนา วิถีชีวิตของช้าง ความเชื่อ คติทางพระพุทธศาสนา

ส่วนที่ 13 คลังวัตถุโบราณ ห้องเก็บวัตถุโบราณที่ยังไม่ได้จัดเป็นหมวดหมู่  และประดิษฐาน “หลวงพ่อพระเจ้าองค์ดำ” พระพุทธรูปเนื้อสัมฤทธิ์แก่ทองคำ 


ข้อมูลจาก: หอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคำ ร่วมกับสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้. “หอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคำ” ฟรีฟอร์มบางกอก.กรุงเทพฯ,2550.
ชื่อผู้แต่ง:
-

ปลุกชีวิต ให้พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเมืองพะเยา

เมืองไทยเป็นดินแดนเก่าแก่มาแต่โบราณ มีการค้นพบ ศิลาจารึก ถ้วยโถโอชามมากมาย ทั้งโบราณสถานและโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก กลาดเกลื่อนทั่วแผ่นดิน แม้จะมีพิพิธภัณฑ์ทั้งของภาครัฐและเอกชนหลายแห่ง ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บสมบัติชาติเหล่านี้ไว้มิให้สูญหายและรอดพ้นจากการโจรกรรมจากนักค้าโบราณวัตถุ ฉะนั้นการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ให้คนในท้องถิ่นเป็นคนเก็บรักษาสมบัติประจำถิ่นฐานของพวกเขาไว้ ดูจะเป็นทางเลือกที่ลงตัวที่สุด เพราะนากจากจะเป็นการเก็บรักษาสมบัติชาติแล้ว ยังเป็นการปลูกฝังในคนในท้องถิ่นรู้จักรักและหวงแหน ในสมบัติของถิ่นกำเนิด อันเป็นรากเหง้าของตัวเองแต่แม้ว่าจะมีพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติหลายแห่งไว้รองรับ ทว่าก็ยังคงไม่เพียงพอ ต่อการจัดเก็บรักษาโบราณวัตถุที่มีมากมาย
ชื่อผู้แต่ง:
-