ชื่อผู้แต่ง: ปิ่น บุตรี | ปีที่พิมพ์: 21 กรกฎาคม 2554
ที่มา: ผู้จัดการ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: เชตวัน เตือประโคน | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 32 ฉบับที่ 11 กันยายน 2554
ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: ชาธิป สุวรรณทอง | ปีที่พิมพ์: 11 ส.ค. 2554;2011-08-11
ที่มา:
แหล่งค้นคว้า:
โดย: ศมส.
วันที่: 06 มิถุนายน 2556
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของพิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านพระเกิด
“พิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านพระเกิด”ตั้งอยู่ในบริเวณวัดพระเกิด เลขที่ 21 ถนนราษฎร์อำนวย ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน เปิดเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2554 พิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านพระเกิดจัดตั้งขึ้นเนื่องจากวัดพระเกิด มีตำนานและเรื่องราวทางประวัติศาสตร์จำนวนมาก มีวัตถุโบราณที่เก็บรักษาไว้อย่างดี และทางวัดมีกุฏิครูบาอินผ่อง วิสารโท อดีตเจ้าอาวาสวัดพระเกิด สร้างเมื่อ พ.ศ. 2479 ซึ่งท่านได้มรณภาพไปแล้วเมื่อ พ.ศ. 2517 เป็นกุฏิที่แสดงความงดงามของศิลปะล้านนาด้วยเหตุผลการละเลยการศึกษาวิถีชีวิตชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น คณะศรัทธาบ้านพระเกิด จึงจัดเวทีประชาคมปรับปรุงกุฏิครูบาอินผอง วสารโท เป็นพิพิธภัณฑ์ โดยความอนุเคราะห์ของพระครูวิจิตรนันทสาร เจ้าอาวาสวัดพระเกิด มอบกุฏิดังกล่าวเป็นสถานที่จัดตั้ง “พิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านพระเกิด” ขึ้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554
พิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านพระเกิด เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีความเรียบง่าย เน้นเรื่อง “พิพิธภัณฑ์ของชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน” โดยร่วมกันอนุรักษ์โบราณวัตถุและสิ่งของต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาที่ทางวัดรวบรวมไว้ นอกจากนี้ ได้รวบรวมสิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้อุปกรณ์พื้นบ้าน ที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของชุมชนมาแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ด้วย สิ่งของที่นำมาจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ส่วนใหญ่ เน้นของที่มีความหมาย มีความสำคัญต่อความเป็นมาของสิ่งของชิ้นนั้นๆ ซึ่งจะได้รับบริจาคมาจากวัดและคนในชุมชน เมื่อนำมารวมในพิพิธภัณฑ์ก็กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ
วัตถุโบราณทางวัดที่นำมาแสดงในพิพิธภัณฑ์ประกอบด้วย หีบลงรักปิดทอง จำนวน 11 หีบ คัมภีร์ใบลานอักษรธรรมล้านนา (ตั๋วเมือง) แบ่งเป็น 21 หมวด คือ หมวดพระธรรมวินัย หมวดสังยุตตนิกาย หมวดพระอภิธรรม หมวดคัมภีร์ภาษาบาลี หมวดสวดมนต์ หมวดอานิสงส์ หมวดชาดก หมวดโอวาสคำสอน หมวดประเพณีพิธีกรรม หมวดธรรมทั่วไป หมวดนิยายธรรม หมวดนิยายพื้นบ้าน หมวดตำนานพุทธศาสนา หมวดตำนานเมือง/ราชวงศ์ หมวดกฎมหาย หมวดตำราอักษรศาสตร์ หมวดตำราโหราศาสตร์ หมวดตำรายา หมวดรวมหลายหมวด และไม่มีหมวด ซึ่งมีคัมภีร์ใบลานผูกหนึ่งได้นำมาจัดพิมพ์ “หนังสือเมืองน่าน พงศาวดารเมืองน่าน ฉบับวัดพระเกิด” ขึ้นมาเป็นหนังสือ 2 ภาษา คือ ตั๋วเมืองและอักษรไทยเพื่อเผยแพร่ รักษา ฟื้นฟูสืบสานอักษรธรรมล้านนาไว้
นอกจากการจัดแสดงคัมภีร์ใบลานแล้ว พิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านพระเกิดได้จัดแสดงพระพุทธรูปไม้ปางสมาธิและปางอื่นๆ พระพุทธรูปไม้ทรงเครื่องประดับยืน พระพุทธรูปสำริด พิมพ์พระไม้ เครื่องสูงพุทธบูชา ลวดลายแกะสลักไม้ ประตู คันทวย ตลอดถึงเครื่องใช้ภายในวัดและสิ่งของเครื่องใช้ของครูบาอินผ่อง วิสารโท เป็นต้น ภายในพิพิธภัณฑ์ด้วย วัตถุสำคัญชิ้นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ คือ แม่พิมพ์พระลีลาเชียงแสน เป็นแม่พิมพ์พระประเภททองสำริด สภาพสมบูรณ์ แม่พิมพ์ตื้น มีอักษรล้านนาด้านหลัง จำนวน 1 บรรทัด คำอ่าน “ศักราช 1193 ตัวปีรวงไส้ ตรงกับ พ.ศ. 2374 ปีมะเส็ง
ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านพระเกิดเป็นที่รู้จักมากขึ้น จากการประชาสัมพันธ์จากเว็บไซต์ โทรทัศน์ สถานีวิทยุกระจายเสียง รวมถึงหนังสือพิมพ์และนิตยสารต่างๆ ซึ่งความร่วมมือ ร่วมใจ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมปรับปรุง-แก้ไข-พัฒนาของคนในชุมชนบ้านพระเกิด กลายเป็นความสำเร็จที่นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนและเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง
วริสรา แสงอัมพรไชย /เขียน
สำรวจภาคสนาม วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2555
อ้างอิง : คณะศรัทธาบ้านพระเกิด. (2555) ที่ระลึก “185 ปี วัดพระเกิด 2555”. เชียงใหม่ : สำนักพิมพ์มรดกล้านนา, หน้า 393-536
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
พิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านพระเกิด
"วัดพระเกิด" เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของจังหวัดน่าน สร้างมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2370 ได้รับประราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปีพ.ศ.2381 ที่มาของชื่อวัด จากตำนานคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ ระบุว่าตอนที่ปรับสถานที่สร้างวัดนี้ได้พบพระแก้วแกะสีขาวใสอยู่ในกล่องไม้สานวางอยู่บนตอไม้ จึงตั้งชื่อวัดว่า “วัดพระเกิด” ตั้งแต่นั้นมา "พิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านพระเกิด" เกิดจากความเห็นร่วมกันของชาวชุมชนบ้านพระเกิด ให้ปรับปรุงกุฏิ "ครูบาอินผ่อง วิสารโท"“วัดพระเกิด” กับคนเก่าที่ยังเก่งแห่งเมืองน่าน
เอ่ยถึง“วัดพระเกิด”เมืองน่าน ใครและใครหลายคนที่ไม่ใช่คนน่านส่วนใหญ่ไม่รู้จักวัดนี้(หรือแม้กระทั่งคนน่านบางคนเองก็ไม่รู้จักวัดนี้) เพราะนี่ไม่ใช่วัดชื่อดังในระดับทอปไฟว์ของเมืองน่าน ตัวผมเองแม้มีโอกาสขึ้นไปแอ่วน่านอยู่บ่อยครั้ง แต่ก็ไม่เคยแวะเวียนเข้าไปไหว้พระที่วัดนี้เลยสักครั้ง กระทั่งเมื่อช่วงเข้าพรรษานี้ ได้มีโอกาสขึ้นไปแอ่วน่านในบรรยากาศหลังน้ำท่วมหมาดๆ ชนิดบางพื้นที่ยังเจิ่งน้ำอยู่ แล้วมีโอกาสได้เข้าไปเที่ยววัดพระเกิด ผมพบว่าวัดแห่งนี้ถือเป็นแหล่งรวมของดีทรงคุณค่าระดับต้นๆในตัวเมืองน่านเลยทีเดียวแนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
น่าน ครูบาอินผ่อง วิถีชีวิตภูมิปัญญาพื้นบ้าน พระพุทธรูปโบราณ
เฮือนรถถีบ
จ. น่าน
พิพิธภัณฑ์ทหาร อำเภอทุ่งช้าง
จ. น่าน
พิพิธภัณฑ์โรงเรียนนาเหลืองไชยราม
จ. น่าน