พิพิธภัณฑ์พระพุทธรูปไม้และแหล่งเรียนรู้ชุมชน


ที่อยู่:
วัดน้ำล้อม ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน
โทรศัพท์:
0-5471-068-2
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน กรุณาแจ้งล่วงหน้า
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2548
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์พระพุทธรูปไม้และแหล่งเรียนรู้ชุมชน

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์:

ที่มา: เอกสารเย็บเล่ม

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

"พระไม้" ใน พิพิธภัณฑ์ unlimited

ชื่อผู้แต่ง: สรินยา คำเมือง | ปีที่พิมพ์: 2552

ที่มา: กรุงเทพฯ:ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์พระพุทธรูปไม้และแหล่งเรียนรู้ชุมชน

วัดน้ำล้อมเป็นวัดเก่าแก่ของจังหวัดน่าน ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยใด หากแต่ชาวบ้านเล่าสืบต่อกันมาว่า เดิมที่แห่งนี้เป็นเกาะกลางหนองน้ำ ชาวบ้านได้สร้างอารามเป็นเรือนไม้มุงด้วยหญ้าคากลางเกาะแห่งนั้น เมื่อจุลศักราช 1119 (พ.ศ.2300) แล้วนิมนต์พระสงฆ์จากวัดอื่นมาจำพรรษา ต่อมาเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่านทรงสร้างวิหารถวาย แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2434 

พิพิธภัณฑ์พระพุทธรูปไม้เกิดขึ้นจากการที่ชุมชนทำโครงการเสนอขอเงินจาก "โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน/ชุมชน" (SML) ของรัฐบาล ในปี 2547 แล้วนำมาสร้างพิพิธภัณฑ์ในชุมชน ให้เป็นสถานที่จัดเก็บโบราณวัตถุของวัดและใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน โดยได้รับความร่วมมือจากบรรดาปราชญ์ท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ให้ความรู้และคำแนะนำต่าง ๆ

ชั้นบนของศาลาพิทักษ์ไทยภายในวัดน้ำล้อมถูกดัดแปลงเป็นพื้นที่จัดแสดง ที่นี่ไม่เหมือนพิพิธภัณฑ์วัดส่วนใหญ่ที่จัดแสดงข้าวของจำนวนมากหลายชนิด หากแต่เน้นพระพุทธรูปไม้ เอกลักษณ์โดดเด่นของเมืองน่านและเป็นสมบัติเก่าแก่ของวัด จำนวนกว่า 200 องค์ พร้อมวัตถุเกี่ยวเนื่องศาสนาอื่น ๆ อาทิ คัมภีร์ใบลาน หีบพระธรรม ปราสาทจำลอง ลักษณะการจัดแสดงพระพุทธรูปไม้จะวางในตู้กระจกแปดเหลี่ยม ภายในทำเป็นชั้นวางลดลั่นทรงปิระมิด ผู้ชมสามารถเดินชมได้โดยรอบ ด้านหน้าตู้ติดป้ายคำอธิบายของพระพุทธรูปไม้แต่ละองค์  พระบางส่วนจัดแสดงในประสาทจำลองที่มีลวดลายสวยงาม ความงดงามของพระเจ้าไม้และแสงเงาที่ส่องกระทบ ทำให้บรรยากาศภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ดูขรึมขลังและสวยงามในขณะเดียวกัน

พระพุทธรูปไม้ในภาษาพื้นเมืองเรียกกันว่า "พระเจ้าไม้" ในอดีตชาวน่านทั้งชนชั้นปกครองและสามัญชนนิยมสร้างพระไม้หรือพระเจ้าไม้ เพื่อสืบทอดพุทธศาสนา พระเจ้าไม้ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีหลากหลายพุทธลักษณ์และหลายขนาด มีฐานสูงเพื่อจารึกข้อความ ส่วนมากบอกคำปรารถนาของผู้สร้าง ระบุวันเดือนปีที่สร้าง บางองค์ทำจากเกสรดอกไม้ โดยนำเกสรมาเผาแล้วนำมาปั้น ภายในเป็นโครงเหล็ก พระเจ้าไม้ทุกองค์ทางพิพิธภัณฑ์ได้ทำทะเบียนและบันทึกข้อมูลรายละเอียดไว้แล้ว และทำให้ทราบว่าพระเจ้าไม้ที่นี่มีอายุการสร้าง 200 กว่าปีมาแล้ว ตั้งแต่ พ.ศ. 2281 ถึง 2505 

ปณิตา สระวาสี / เขียน
ข้อมูลจาก: การสำรวจภาคสนาม วันที่ 27 ธันวาคม 2548
 
ชื่อผู้แต่ง:
-