พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เดิมเป็นที่ประทับของพระเจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดชฯ พระเจ้าน่าน ทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2446 เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น มีมุขด้านหน้า หลังคามุงด้วยไม้แป้นเกล็ด บนเนื้อที่ 14 ไร่ 2 งาน 32 ตารางวา ครั้นเมื่อเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้ายถึงพิราลัย เจ้านายบุตรหลานของเจ้าผู้ครองนครน่านจึงได้มอบหอคำหลังนี้พร้อมที่ดินให้แก่รัฐบาล เพื่อใช้เป็นอาคารศาลากลางจังหวัดน่าน ต่อมาเมื่อกระทรวงมหาดไทยได้ก่อสร้างอาคารศาลากลางจังหวัดหลังใหม่ขึ้น กรมศิลปากรจึงได้ขอรับมอบอาคารเพื่อใช้เป็นสถานที่จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ขึ้นในปี พ.ศ. 2517 และประกาศจัดตั้งอย่างเป็นทางการขึ้นในปี พ.ศ. 2528 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานประกอบพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2530

ที่อยู่:
ถนนผากอง ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน 55000
โทรศัพท์:
054-710561, 054-772777
วันและเวลาทำการ:
พุธ - อาทิตย์ (ปิดวันจันทร์-อังคาร) เวลา 09.00 - 16.00 น.
ค่าเข้าชม:
ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างประเทศ 100 บาท นักเรียน นักศึกษาในเครื่องแบบ ภิกษุ สามเณร และนักบวชในศาสนาต่างๆ ไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชม
เว็บไซต์:
ปีที่ก่อตั้ง:
2528
ของเด่น:
งาช้างดำ, หีบพระธรรมไม้แกะสลัก ฝีมือช่างสกุลน่าน, สมุดข่อยอาณาจักรหลักคำกฎหมายเมืองน่า,น ครุฑยุคนาค ฝีมือช่างล้านนา, ศิลาจารึกหลักที่ 64 อักษรสุโขทัย กล่าวถึงการกระทำสัตย์สาบานช่วยเหลือซึ่งกันและกันเมื่อเกิดศึกสงครามระหว่างเจ้าพระยาผากอง เจ้าผู้ครองนครน่าน และพระมหาธรรมราชาที่ 2 กษัตริย์แห่งสุโขทัย,d ศิลาจารึกหลักที่ 74 อักษรธรรมล้านนา กล่าวถึงพญาพลเทพกุรไชย เจ้าเมืองน่าน ได้ทำการบูรณะพระมหาวิหารให้วัดหลวงกลางเวียง (วัดช้างค้ำ)
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

“งาช้างดำ”ของล้ำค่าเมืองน่าน (โชคดีที่ไม่กลายเป็นงาช้างทอง)

ชื่อผู้แต่ง: ปิ่น บุตรี | ปีที่พิมพ์: 12 ธ.ค. 2550;12-12-2007

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 11 พฤศจิกายน 2557

แอ่วเมืองน่าน ม่วนใจ๋ใน “สามเหลี่ยมแห่งศิลปวัฒนธรรม”

ชื่อผู้แต่ง: ปิ่น บุตรี | ปีที่พิมพ์: 26 ธ.ค. 2556;26-12-2013

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มกราคม 2558


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน จัดแสดงในลักษณะพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมือง เนื้อหาการจัดแสดงมุ่งเน้นเรื่องราวเกี่ยวกับภูมิหลัง และภูมิปัญญาท้องถิ่น เริ่มตั้งแต่ก่อนสมัยประวัติศาสตร์ ที่ปรากฏร่องรอยการอยู่อาศัยของมุษย์ในพื้นที่แถบจังหวัดน่าน สมัยประวัติศาสตร์ แสดงให้เห็นอิทธิพลของศิลปะล้านนาและศิลปะสุโขทัย ที่ก่อให้เกิดวิวัฒนาการทางรูปแบบศิลปะสกุลช่างเมืองน่าน และจัดแสดงเรื่องราวการสร้างบ้านแปงเมืองของชาวน่าน และที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่านได้นำเสนอเรื่องราวทางชาติพันธุ์วิทยา แสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยพื้นเมืองทางเหนือ และเผ่าชนต่างๆที่อาศัยอยู่ในพื้นที่หุบเขาของจังหวัดน่าน 5 เผ่า ประเพณี พิธีกรรมและความเชื่อของชาวบ้าน

ข้อมูลจาก : สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ.“เที่ยว ท่อง ย่ำ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ” : สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม.กรุงเทพฯ,มปป. หน้า 60-61.
ชื่อผู้แต่ง:
-

แอ่วเมืองน่าน ม่วนใจ๋ใน “สามเหลี่ยมแห่งศิลปวัฒนธรรม”

น่านแม้จะเป็นเมืองเล็กๆ แต่ก็เป็นประเภทเล็กดีรสโต ที่เต็มไปด้วยสิ่งน่าสนใจให้ชวนค้นหา โดยเฉพาะมนต์เสน่ห์ของมรดกทางวัฒนธรรมแห่งล้านนาตะวันออก อันเป็นเอกลักษณ์ที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน ที่กลายเป็นปัจจัยสำคัญให้ใครหลายๆคนที่เคยไปแอ่วเมืองน่านแล้วต่างตกหลุมรักเมืองนี้เข้าเต็มเปาสำหรับตัวเมืองน่านมีพื้นที่ท่องเที่ยวสำคัญอยู่บริเวณ“ข่วงเมือง” ซึ่งเป็นลานกว้างใจกลางเมืองที่ใช้ประกอบพระราชพิธี รัฐพิธี งานประเพณีต่างๆ รวมทั้งเป็นที่แลกเปลี่ยนสินค้าของชาวบ้าน
ชื่อผู้แต่ง:
-

“งาช้างดำ”ของล้ำค่าเมืองน่าน

เวลาเห็นต้นลั่นทมขึ้นเรียงรายเป็นแถวเป็นแนวคราใด ใจผมมักจะอดนึกไปถึงเพลงดวงจำปาไม่ได้ และเหตุการณ์แบบนี้มันก็เกิดขึ้นกับผมอีกครั้งหนึ่ง ที่“พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน” ที่นี่มีต้นลั่นทมปลูกเรียงรายเป็นแถวเป็นแนวบนเส้นทางเดินเล็กๆ บริเวณด้านหน้าอาคารพิพิธภัณฑ์ ช่วงที่ผมไปเยือนลั่นทมไม่มีดอก แถมยังผลัดใบเกือบเหี้ยนเตียน แต่ว่าก็ดูสวยงามโรแมนติกไปอีกแบบ โดยเฉพาะยามเมื่อเดินอยู่ใต้ต้นลั่นทมที่แผ่สยายกิ่งก้านโค้งตัวเข้าหากัน มันให้ความรู้สึกว่ากำลังเดินอยู่ใต้ซุ้มลั่นทมยังไงยังงั้น
ชื่อผู้แต่ง:
-