พิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดหนองบัว


ที่อยู่:
วัดหนองบัว ต.ป่าคา อ.ท่าวังผา จ.น่าน 55140
โทรศัพท์:
089-265-1398 (เจ้าอาวาส)
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2545
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

จากแคว้นสิบสองปันนา สู่บ้านหนองบัว

ชื่อผู้แต่ง: คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมหมู่บ้านหนองบัว | ปีที่พิมพ์: 2548

ที่มา: คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมหมู่บ้านหนองบัว

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดหนองบัว

ชุมชนหนองบัวเป็นชุมชนไทลื้อ ที่บรรพบุรุษอพยพมาจากเมืองล้า แคว้นสิบสองปันนา ตั้งแต่สมัยพญามหายศเจ้าผู้ครองเมืองน่าน ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งอ้างอิงได้จากสมุดข่อยที่มีการค้นพบในหมู่บ้าน ปัจจุบันชุมชนยังเก็บรักษาได้อย่างดีเพราะถือเป็นเอกสารอ้างอิงอันหนึ่งเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของไทลื้อบ้านหนองบัว หลังจากตั้งบ้านเรือนมั่นคงแล้วชาวไทลื้อบ้านหนองบัว ส่วนหนึ่งยังแผ่เครือญาติไปตั้งรกรากที่ บ้านต้นฮ่าง บ้านดอนมูล อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน และบ้านแวนพัฒนา อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยาด้วย วัดหนองบัวเป็นวัดเก่าแก่ประจำบ้านหนองบัว จิตรกรรมฝาผนังวิหารวัดหนองบัวนับเป็นจิตรกรรมที่มีคุณค่าทางด้านศิลปกรรมและวรรณกรรมมาก มีหลักฐานว่าวาดขึ้นในรัชสมัยของรัชกาลที่ 4 โดยช่างชาวพวนจากลาว เป็นภาพเกี่ยวกับเรื่องจันทคาธชาดก และภาพพุทธประวัติ ชาวบ้านหนองบัวยังคงสืบต่อประเพณีต่าง ๆ ของไทลื้อไว้ อาทิ ประเพณีเลี้ยงเทวดาหลวงหรือเจ้าหลวงเมืองล้า

พิพิธภัณฑ์ชุมชนหนองบัว ตั้งอยู่ในวัดหนองบัว เป็นเรือนไทลื้ออายุร้อยกว่าปี ที่ทางชุมชนได้มาจากบ้านดอนมูล เป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูง โดยพยายามจำลองภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทลื้อ ผ่านข้าวของที่จัดแสดง ใต้ถุนบ้านจัดแสดงกี่ทอผ้าซึ่งชาวบ้านยังใช้งานจริง ใกล้กันมีครกกระเดื่องให้ผู้เข้าชมลองทดสอบพละกำลังเป็นที่สนุกสนาน ก่อนขึ้นเรือน บริเวณตีนบันไดจัดวางรองเท้าไม้หรือก๊อบแก๊บไว้สามสี่คู่ ชวนให้นึกถึงวิถีในอดีตตั้งแต่เริ่มขึ้นเรือน และยังเป็นสัญลักษณ์เตือนให้ผู้เข้าชมถอดรองเท้าก่อนขึ้นเรือนด้วย บนเรือนแบ่งสัดส่วนการใช้งานเป็นส่วนต่าง ๆ นอกชานด้านนอกจัดแสดงเครื่องมือทำมาหากินประจำวัน เครื่องจักสาน ที่วางไว้และแขวนได้ตามขื่อ อาทิ ต่างวัวไว้ขนข้าวเปลือก ม้าหั่นใบยาสูบ ฮอกวัวหรือกระดิ่งแขวนคอวัว ฮอกช้าง ฮอกม้า กะโล๊ะ(เกราะตีสัญญานประชุมหรือเมื่อเกิดภัย) ไซ ตุ้มดักปลาไหล น้ำเต้า บั้งเมี่ยงสำหรับดองเมี่ยง เหนือประตูทางเข้าห้องนอนประดับหำยนต์ ด้านในจัดแสดง ฟูกที่ปูด้วยผ้าหลบ หมอนสี่เหลี่ยม เสื้อผ้าชายหญิงแบบไทลื้อ ผนังไม้ด้านนอกหน้าห้องนอน แขวนภาพถ่ายเก่าของหมู่บ้านและภาพคนเฒ่าคนแก่ในชุมชน ถัดไปเป็นส่วนครัวไฟ จัดแสดงแม่เตาไฟ และเครื่องใช้ในครัวต่าง ๆ อาทิ หม้อดินเผา แอบข้าว โตก กัวะข้าว ซ้า เป็นต้น บ้านหนองบัวยังคงสืบทอดการทอผ้าลวดลายไทลื้อ ผู้สนใจผ้าทอลวดลายสวยงาม สามารถเลือกซื้อผ้าทอที่ชาวบ้านนำมาขายในบริเวณพิพิธภัณฑ์ และร้านค้าในหมู่บ้าน

ข้อมูลจาก:
การสำรวจภาคสนาม วันที่ 25 ธันวาคม 2548
คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมหมู่บ้านหนองบัว. จากแคว้นสิบสองปันนา สู่บ้านหนองบัว. เอกสารอัดสำเนา, 2543.
ชื่อผู้แต่ง:
-