พิพิธภัณฑ์วัดบ้านนาซาวสามัคคี


ที่อยู่:
วัดบ้านนาซาว หมู่ 1 บ้านนาซาว ต.นาซาว อ.เมือง จ.น่าน 55000
โทรศัพท์:
081-706-3980, 087-1885040
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2545
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

การจัดการโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถาน โดยองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

ชื่อผู้แต่ง: สายันต์ ไพรชาญจิตร์ | ปีที่พิมพ์: 2549

ที่มา: วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ดอยภูซาง ย่านอุตสาหกรรมสองยุค มรดกชาวน่าน

ชื่อผู้แต่ง: ศูนย์ประสานงานประชาคมจังหวัดน่าน | ปีที่พิมพ์: 2546

ที่มา: ศูนย์ประสานงานประชาคมจังหวัดน่าน พิมพ์เนื่องในวโรกาสสมเด็จพระเทพรัตน์ฯ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 4 รอบ วันที่ 2 เม.ย. 2546

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์วัดบ้านนาซาวสามัคคี

บ้านนาซาวเป็นชุมชนที่มีประวัติการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่เมื่อ 200-300 ปีมาแล้ว  วัดนาซาว เดิมชื่อวัดน้ำซาว มีหลักฐานการตั้งวัดมาตั้งแต่ราว พ.ศ. 2250 วัดปัจจุบันย้ายมาจากวัดเดิมที่ริมน้ำซาว(วัดเชียงของ) เนื่องจากเป็นวัดเก่าแก่ จึงมีโบราณวัตถุของวัดที่รวบรวมไว้จำนวนมาก โบราณวัตถุบางชิ้นมีอายุกว่า 250 ปี บางชิ้นถูกคัดเลือกนำไปจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน อาทิ วิหารน้อย พระประธานของวัดนาซาวได้ชื่อว่ามีพระพักตร์งดงามที่สุดองค์หนึ่งในจังหวัดน่าน ตามตำนานเล่ากันว่าพระพุทธรูปองค์นี้มีผู้หญิงหลงใหลกันมาก เรียกว่า "พระเจ้าสาวหม" จนต้องทำพิธีถอดหัวใจพระเจ้าออกเสีย กันความวุ่นวายทางโลกที่จะเกิดแก่พระสงฆ์และวัด เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันคือ พระอธิการบุญศรี สุขวัฒโน 
 
พิพิธภัณฑ์วัดบ้านนาซาวสามัคคี เกิดขึ้นในปี 2544 เมื่ออาจารย์สายันต์  ไพรชาญจิตร์ อาจารย์คณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และจ่าสิบตำรวจมนัส ติคำ ได้เข้าไปทำศึกษาทำทะเบียนพระพุทธรูปไม้ของน่าน และพบว่าท่านเจ้าอาวาสวัดนาซาวและผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชนหลายคน มีความสามารถในการอ่านและแปลความจารึกภาษาล้านนาบนฐานพระพุทธรูปไม้ได้เป็นอย่างดี และท่านได้พาชมวัตถุโบราณที่มีอยู่ในวัดโดยเฉพาะคัมภีร์โบราณที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ยังเก็บรักษาได้ไม่ดีเสี่ยงต่อการเสียหายได้ อาจารย์สายันต์จึงชักชวนท่านเจ้าอาวาสและผู้สูงอายุ เก็บรวบรวมวัตถุที่มีมาจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์  
 
จากนั้นอาจารย์ได้นำนักศึกษาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงไปจัด "ค่ายพัฒนาพิพิธภัณฑ์ชุมชน" ที่บ้านนาซาว โดยมีการสำรวจค้นหาผู้รู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น สำรวจโบราณวัตถุ เครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้านในหมู่บ้าน มีชาวบ้านผู้กลุ่มผู้สูงอายุ แม่บ้าน และเยาวชนให้ความร่วมมือ โดยผู้สูงอายุเป็นผู้อธิบายประวัติความเป็นมา วิธีการใช้งาน นักศึกษาและเยาวชนเป็นผู้จดบันทึก ถ่ายภาพ ทำทะเบียน ในที่สุดชาวบ้านและนักศึกษาจึงได้ร่วมก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์เพื่อจัดแสดงข้าวของต่าง ๆ ของทางวัดและของที่ชาวบ้านบริจาคให้ในวัดนาซาว ทำพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2545
 
พิพิธภัณฑ์วัดบ้านนาซาวสามัคคีเป็นอาคารชั้นเดียว ภายในแบ่งการจัดแสดงออกเป็นสองส่วนใหญ่ ๆ ส่วนแรกจัดแสดงวัตถุเกี่ยวกับศาสนา โดยมีของเด่นที่สำคัญได้แก่ พระพุทธรูปไม้ คัมภีร์ใบลาน หีบธรรม ตาลปัตรเก่า พ.ศ. 2457 ธรรมาสน์ ตุงกระดาษสาฉลุลายอายุกว่า 100 ปี สางข้าว ส่วนที่สอง จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้านต่าง ๆ ทั้ง การจัดแสดงครัวไฟ เครื่องมือในการทำนา เครื่องมือทอผ้า เครื่องจักสาน และเครื่องมือจับสัตว์ ยกตัวอย่างเช่น เคียว แอบข้าว กี่ทอผ้า ผ้าหลบ กัวะข้าว ถ้วยชามเซรามิก กลองแอว เป็นต้น โดยของทุกชิ้นมีป้ายทะเบียนติดเอาไว้ บางชิ้นมีแผ่นป้ายอธิบายชื่อเรียก ประวัติความเป็นมา การเข้าชมควรติดต่อล่วงหน้าเพื่อทางวัดและชุมชนจะได้เตรียมอาสาสมัครมาเป็นผู้นำชมพิพิธภัณฑ์
 
ข้อมูลจาก:
1. การสำรวจภาคสนาม วันที่ 26 กุมภาพันธุ์ 2548
2. สายันต์  ไพรชาญจิตร์. โบราณคดีชุมชน การจัดการอดีตของชาวบ้านกับการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: โครงการโบราณคดีชุมชน, 2546.
ชื่อผู้แต่ง:
-