พิพิธภัณฑ์วัดพญาชมภู


วัดพญาชมภูเป็นวัดเก่าแก่มีประวัติเล่าสืบต่อกันมาว่าพญาชมภู เป็นทหารมีบรรดาศักดิ์ได้พาครอบครัวมาตั้งถิ่นฐานในบริเวณบ้านชมพูและได้พบวัดเก่าซึ่งร้างเหลือแต่พระพุทธรูปปางมารวิชัยที่ประดิษฐานในพระวิหาร จึงได้สร้างวัดขึ้นใหม่ในราว พ.ศ.2500 โดยสร้างวิหารครอบองค์พระพุทธรูปและได้ให้ขุนดวงจันทร์ อุปสมบทเป็นครูบาดวงจันทร์เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก นับแต่นั้นมาวัดก็เป็นศูนย์กลางของชาวบ้านและมีศิลปวัตถุ โบราณวัตถุต่างๆ ของวัดเก็บรักษาตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน ของใช้เก่าของวัดจัดแสดงไว้ในศาลาบุญมีส่วนหนึ่ง เช่น พวกหีบภาพ เครื่องอุโบสถหลังเก่า มีช่อฟ้า บั้นลม ขันโตก เชิงเทียน ที่ทำจากเขาควายที่แสดงถึงภูมิปัญญาชาวบ้านที่ประยุกต์ใช้ของที่มีอยู่แล้วให้เป็นประโยชน์ นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปไม้ศิลปะล้านนาที่สวยงาม ของอีกส่วนหนึ่งจัดแสดงไว้ที่กุฏิเจ้าอาวาส ศิลปกรรมอีกชิ้นที่สวยงามมากคือ ปราสาทธรรมมาสน์ไม้ 8 เหลี่ยม กรมศิลปากร (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 4 เชียงใหม่) ขอยืมไปจัดแสดง

ที่อยู่:
วัดพญาชมภู ต.ชมพู อ.สารภี จ.เชียงใหม่ 50140
วันและเวลาทำการ:
เปิดเมื่อมีคนมาขอเข้าชม
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์วัดพญาชมภู

วัดพญาชมภูเป็นวัดเก่าแก่มีประวัติเล่าสืบต่อกันมาว่าพญาชมภู เป็นทหารมีบรรดาศักดิ์ได้พาครอบครัวมาตั้งถิ่นฐานในบริเวณบ้านชมพูและได้พบวัดเก่าซึ่งร้างเหลือแต่พระพุทธรูปปางมารวิชัยที่ประดิษฐานในพระวิหาร จึงได้สร้างวัดขึ้นใหม่ในราว พ.ศ.2500 โดยสร้างวิหารครอบองค์พระพุทธรูปและได้ให้ขุนดวงจันทร์ อุปสมบทเป็นครูบาดวงจันทร์เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก นับแต่นั้นมาวัดก็เป็นศูนย์กลางของชาวบ้านและมีศิลปวัตถุ โบราณวัตถุต่างๆ ของวัดเก็บรักษาตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน ของใช้เก่าของวัดจัดแสดงไว้ในศาลาบุญมีส่วนหนึ่ง เช่น พวกหีบภาพ เครื่องอุโบสถหลังเก่า มีช่อฟ้า บั้นลม ขันโตก เชิงเทียน ที่ทำจากเขาควายที่แสดงถึงภูมิปัญญาชาวบ้านที่ประยุกต์ใช้ของที่มีอยู่แล้วให้เป็นประโยชน์ นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปไม้ศิลปะล้านนาที่สวยงาม ของอีกส่วนหนึ่งจัดแสดงไว้ที่กุฏิเจ้าอาวาส ศิลปกรรมอีกชิ้นที่สวยงามมากคือ ปราสาทธรรมมาสน์ไม้ 8 เหลี่ยม กรมศิลปากร (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 4 เชียงใหม่) ขอยืมไปจัดแสดง

ข้อมูลจาก : บุบผา จิระพงษ์. สถานภาพของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะ มนุษยศาสตร์ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่,2544. หน้า 273.
ชื่อผู้แต่ง:
-