แหล่งความรู้ประจำหมู่บ้าน วัดม่วงโตน


พระครูอำนวย ธมฺมวโร และพระฉลอง อาภัสโร ได้ร่วมกันจัดหาของมาจัดแสดงตั้งแต่ปี พ.ศ.2531 เป็นต้นมา โดยมีความคิดว่า เป็นความภาคภูมิใจที่ได้มีของมีค่าเก่าแก่โบราณไว้ให้ลูกหลานได้ดูได้ศึกษา แทนที่จะเอาของมีค่าไปใส่เจดีย์และโบกปูนทับซึ่งจะไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย อาคารจัดแสดงเป็นอาคารศาลาบาตร ด้านทิศตะวันออกของวัด จากมุมประตูทางเข้าด้านเหนือยาวตลอดแนวกำแพงวัด โดยก่ออิฐเป็นผนังเจาะช่องประตูหน้าต่างกั้นเป็นห้องๆ ความยาวทั้งหมด 42 เมตร กั้นเป็นสามส่วน ส่วนแรกเป็นห้องสมุด ส่วนที่ 2 เป็นพิพิธภัณฑ์ มีวัตถุทางวัฒนธรรมใส่ตู้จัดแสดงไว้ 4 ตู้เช่น สลุงไม้ ผ้าตีนจก เชี่ยนหมาก เศียรพระปูนปั้น ธนบัตร และเหรียญ ตาชั่ง เศษภาชนะดินเผา เครื่องเขิน เป็นต้น ส่วนตรงกลางของห้องตั้งโต๊ะยาว ใช้เป็นที่ประชุมของประชาชน และเป็นที่สอนหนังสือ ฝาผนังด้านเหนือเป็นมุมจัดแสดงเกี่ยวกับวัตถุของใช้ในวัด เช่น สัตตภัณฑ์ เครื่องอุโบสถ (ช่อฟ้า หางหงส์) นอกจากนี้ยังมีมุมดนตรีพื้นเมือง มุมครัวไฟจัดแสดงก้อนเส้าไฟ และภาชนะใช้สอยในครัวไฟ มุมเครื่องทอผ้า และมุมอุปกรณ์ทำนา เป็นต้น

ที่อยู่:
วัดถาวรรังษี(วัดม่วงโตน) ต.แม่ก๊ะ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ 50220
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน 8.00 - 16.30 น. ยกเว้นวันที่มีงานปอย
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2531
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวของแหล่งความรู้ประจำหมู่บ้าน วัดม่วงโตน

พระครูอำนวย ธมฺมวโร และพระฉลอง อาภัสโร ได้ร่วมกันจัดหาของมาจัดแสดงตั้งแต่ปี พ.ศ.2531 เป็นต้นมา โดยมีความคิดว่า เป็นความภาคภูมิใจที่ได้มีของมีค่าเก่าแก่โบราณไว้ให้ลูกหลานได้ดูได้ศึกษา แทนที่จะเอาของมีค่าไปใส่เจดีย์และโบกปูนทับซึ่งจะไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย

อาคารจัดแสดงเป็นอาคารศาลาบาตร ด้านทิศตะวันออกของวัด จากมุมประตูทางเข้าด้านเหนือยาวตลอดแนวกำแพงวัด โดยก่ออิฐเป็นผนังเจาะช่องประตูหน้าต่างกั้นเป็นห้องๆ ความยาวทั้งหมด 42 เมตร กั้นเป็นสามส่วน ส่วนแรกเป็นห้องสมุด ส่วนที่ 2 เป็นพิพิธภัณฑ์ มีวัตถุทางวัฒนธรรมใส่ตู้จัดแสดงไว้ 4 ตู้เช่น สลุงไม้ ผ้าตีนจก เชี่ยนหมาก เศียรพระปูนปั้น ธนบัตร และเหรียญ ตาชั่ง เศษภาชนะดินเผา เครื่องเขิน เป็นต้น ส่วนตรงกลางของห้องตั้งโต๊ะยาว ใช้เป็นที่ประชุมของประชาชน และเป็นที่สอนหนังสือ ฝาผนังด้านเหนือเป็นมุมจัดแสดงเกี่ยวกับวัตถุของใช้ในวัด เช่น สัตตภัณฑ์ เครื่องอุโบสถ (ช่อฟ้า,หางหงส์) นอกจากนี้ยังมีมุมดนตรีพื้นเมือง มุมครัวไฟจัดแสดงก้อนเส้าไฟ และภาชนะใช้สอยในครัวไฟ มุมเครื่องทอผ้า และมุมอุปกรณ์ทำนา เป็นต้น

ข้อมูลจาก : บุบผา จิระพงษ์. สถานภาพของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะ มนุษยศาสตร์ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่,2544. หน้า 262.

ชื่อผู้แต่ง:
-