เฮือนอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้าน ร.ร.บ้านลวงเหนือ


แต่เดิมโรงเรียนจัดทำมุมพิพิธภัณฑ์ในห้องสมุดก่อน เนื่องจากบรรณารักษ์ คือ น.ส.วัชรา ใบสุขันธ์ เป็นลูกหลานเชื้อสายไทลื้อ และเคยเป็นผู้ประสานงานนำนักวิชาการที่ค้นคว้าเรื่องไทลื้อออกสำรวจเก็บข้อมูลในหมู่บ้าน จึงรวบรวมวัตถุต่าง ๆ นำมาเก็บรักษาไว้ในมุมหนึ่งของห้องสมุด ภายหลังจึงจัดทำเรือนอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านขึ้นในปี พ.ศ.2540 โดยใช้ไม้ที่เหลือจากการสร้างศาลาอเนกประสงค์ของวัดลวงเหนือ และเงินที่ได้จากการทอดผ้าป่าและขอบริจาคเพิ่มเติม อาคารพิพิธภัณฑ์เป็นเรือนใต้ถุนสูงลักษณะแบบยุ้งข้าวทางเหนือ หลังคามุงด้วยดินขอ มีห้องตรงกลางล้อมด้วยระเบียงที่เดินได้รอบด้าน ภายในจัดตั้งตู้เก่าและจัดแสดงวัตถุทางวัฒนธรรมที่เป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันสมัยเก่าของชาวบ้านไทลื้อ เช่น เชี่ยนหมาก ทั้งที่เป็นเครื่องเขินและไม้กลึง แอบยาเส้น ของใช้ในครัวไฟเช่น ครกไม้ ซ้าหวด ไหข้าว ชั้นบนของตู้จัดเก็บพระพุทธรูปไม้และพับสาใบลาน รอบๆระเบียงจัดแสดงเครื่องมือเกษตรเช่น คราดไถ เครื่องมือจับปลา เช่น สวิง แห กระชอน กระแซง นอกจากนั้นยังมีของใช้ทั่วไป เช่น หมวก คุตักน้ำ เครื่องมือทอผ้า เช่น กงปั่นด้าย ฟืมทอผ้า เป็นต้น

ที่อยู่:
โรงเรียนบ้านลวงเหนือ ต.ลวงเหนือ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ 50200
วันและเวลาทำการ:
เปิดในวันเวลาราชการ
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2540
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวของเฮือนอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้าน ร.ร.บ้านลวงเหนือ

แต่เดิมโรงเรียนจัดทำมุมพิพิธภัณฑ์ในห้องสมุดก่อน เนื่องจากบรรณารักษ์ คือ น.ส.วัชรา ใบสุขันธ์ เป็นลูกหลานเชื้อสายไทลื้อ และเคยเป็นผู้ประสานงานนำนักวิชาการที่ค้นคว้าเรื่องไทลื้อออกสำรวจเก็บข้อมูลในหมู่บ้าน จึงรวบรวมวัตถุต่าง ๆ นำมาเก็บรักษาไว้ในมุมหนึ่งของห้องสมุด ภายหลังจึงจัดทำเรือนอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านขึ้นในปี พ.ศ.2540 โดยใช้ไม้ที่เหลือจากการสร้างศาลาอเนกประสงค์ของวัดลวงเหนือ และเงินที่ได้จากการทอดผ้าป่าและขอบริจาคเพิ่มเติม อาคารพิพิธภัณฑ์เป็นเรือนใต้ถุนสูงลักษณะแบบยุ้งข้าวทางเหนือ หลังคามุงด้วยดินขอ มีห้องตรงกลางล้อมด้วยระเบียงที่เดินได้รอบด้าน ภายในจัดตั้งตู้เก่าและจัดแสดงวัตถุทางวัฒนธรรมที่เป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันสมัยเก่าของชาวบ้านไทลื้อ เช่น เชี่ยนหมาก ทั้งที่เป็นเครื่องเขินและไม้กลึง แอบยาเส้น ของใช้ในครัวไฟเช่น ครกไม้ ซ้าหวด ไหข้าว ชั้นบนของตู้จัดเก็บพระพุทธรูปไม้และพับสาใบลาน รอบๆระเบียงจัดแสดงเครื่องมือเกษตรเช่น คราดไถ เครื่องมือจับปลา เช่น สวิง แห กระชอน กระแซง นอกจากนั้นยังมีของใช้ทั่วไป เช่น หมวก คุตักน้ำ เครื่องมือทอผ้า เช่น กงปั่นด้าย ฟืมทอผ้า เป็นต้น

ข้อมูลจาก : บุบผา จิระพงษ์. สถานภาพของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่,2544. หน้า 177.
ชื่อผู้แต่ง:
-