พิพิธภัณฑ์บ้านควายไทย


พิพิธภัณฑ์บ้านควายไทย เปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวตั้งแต่ปี 2542 ให้นักท่องเที่ยวได้มาสัมผัสการดำเนินชีวิตของชาวนาไทยและควาย ซึ่งใช้ในการทำนามาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน โดยจะมีกิจกรรมต่าง ๆ ให้ได้รับชม อย่างการแสดงดนตรีบนหลังควาย แสดงสายพันธุ์และประวัติควายไทย วิธีการฝึกควาย การแสดงความผูกพันธ์ระหว่างชาวนากับควาย การสาธิตวิธีการใช้แรงงานควายในภาคเกษตรกรรม สาธิตการไถนา สาธิตกระบวนการทำนา การสาธิตการทำข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร กิจกรรมวิ่งแข่งควาย และนั่งควายชมทุ่ง ทั้งยังมีพิพิธภัณฑ์บ้านชาวนา ที่จัดแสดงถึงรูปแบบการดำเนินชีวิตของชาวนาไทย และเครื่องมือการเกษตรประเภทต่าง ๆ

ที่อยู่:
เลขที่ 30 ต.ริมเหนือ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 50180
โทรศัพท์:
0-5330-1628
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน 08.00-17.30 น.
ค่าเข้าชม:
ผู้ใหญ่150 บาท เด็ก 75 บาท นักเรียนนักศึกษา 40 บาท ถ้าขี่ควายชมทุ่งจ่ายเพิ่ม 80 บาท
ปีที่ก่อตั้ง:
2539
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ค-คน กับ ค-ควาน ชีวิตท้องทุ่งที่บ้านควายไทย

ชื่อผู้แต่ง: นรีภพ | ปีที่พิมพ์: 2545

ที่มา: ข้าวงอกดอกไม้บาน. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์บ้านควายไทย

บุญทา ชัยเลิศ ข้าราชการครู ระดับ 7 เห็นรถบรรทุกกระดูกควายเต็มคันรถจากโรงฆ่าสัตว์ทุกวัน เกิดความสงสารอยากช่วยชีวิตควายไว้ และเมื่อได้ยินเพื่อนครูบ่นเด็กว่าสอนควายยังเข้าใจกว่า จึงเกิดความคิดจะทำโรงฝึกควาย ด้วยการซื้อชีวิตควายจากโรงฆ่าสัตว์ไว้ถึง 22 ตัว และคิดที่จะฝึกควายทำกิจกรรมต่างๆ ในเนื้อที่ดิน จำนวน 21 ไร่ ได้จัดแบ่งเป็นส่วนเรือนไม้ปั่ว(เรือนเครื่องผูก) โครงไม้ไผ่หลังคาตองตึงแบบทางเหนือ 1 หลัง ประกอบด้วย ห้องนอน ชาน ระเบียงและครัวไฟ ที่ชานบ้าน(เติ๋น) จัดวางอุปกรณ์รับแขก เช่น เชี่ยนหมาก บุหรี่ ภายในห้องนอนจัดวางที่นอนหมอนมุ้ง ซึ่งกลางคืนมีคนใช้นอนจริง บนแคร่รอบระเบียงจัดวางเครื่องใช้ในครัวเรือนอื่นๆ มีของเล่น เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้าน เช่นกำหมุน จักสาน งูดูดนิ้ว นกหวีดดินเหนียว ลูกข่างไม้ไผ่ เป็นต้น ครัวไฟจัดวางเครื่องใช้ในครัว เช่น ไหแช่ข้าว รังถึงนึ่งข้าว กัวะข้าว กระติ๊บข้าว ชาวเคลือบ เตาไฟ หิ้งข่า ถัดออกไปจัดทำยุ้งข้าวแบบง่ายๆ เป็นโรงโถงยกพื้นสูงครึ่งเมตร มีเสวียนใหญ่ใส่ข้าว 2 ลูก ใส่ข้าวได้ประมาณ 5 กระสอบ พร้อมจัดแสดงอุปกรณ์การทำนา จำพวกแอก เฝือ ครกมองตำข้าว กระบุงใส่ข้าว สัดตวงข้าว กลางแจ้ง จัดวางหลุก (ระหัดวิดน้ำ) แรงควาย คือใช้ควายหมุนรวมทั้งการหีบอ้อยโดยใช้แรงควายอีกด้วย สิ่งของที่จัดแสดงทั้งหมดรวมทั้งควาย 22 ตัว ได้มาจากการจัดซื้อ ต่อมาได้มีผู้ซื้อชีวิตควายจากโรงฆ่าสัตว์มาบริจาคอีก 11 ตัว

ข้อมูลจาก : บุบผา จิระพงษ์. สถานภาพของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่,2544. หน้า 132.
ชื่อผู้แต่ง:
-