พิพิธภัณฑ์วัดหลวงฮอด


ชุมชนฮอดแห่งนี้อพยพย้ายถิ่นมาอันเนื่องมาจากการสร้างเขื่อนภูมิพลและมาอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบัน ต่อมาชุมชนฮอดรวมกับวัดหลวงฮอดจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2516 เพื่อเก็บรักษาโบราณวัตถุของทางวัดที่มีมากมายหลายชิ้น โดยเก็บรักษาไว้ในอาคารกุฏิสงฆ์ ซึ่งมีตู้เหล็กใส่กุญแจหลายชั้นรักษาอยู่และมีผู้ถือกุญแจเป็นกรรมการวัดจำนวน 20 คน อาคารพิพิธภัณฑ์เป็นอาคารชั้นเดียวใต้ถุนสูง จัดเก็บศิลปวัตถุพระพุทธรูปทำจากผลึกแก้วสีต่างๆ แหวนทองคำ บาตรจำลองทำด้วยทองคำ ของเหล่านี้เก็บไว้ในหีบไม้ใส่กุญแจและใส่ในตู้เหล็กใส่กุญแจและเก็บไว้ในห้องใส่กุญแจ แต่ของเหล่านี้ได้ถูกขโมยตัดกุญแจลักเอาไปจนหมดในวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2540 จึงเหลือแต่พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ ศิลปะล้านนาองค์ใหญ่ในวิหารอีก 5 องค์ และพระพุทธรูปยืนทำด้วยไม้แกะสลักอีก 2 องค์ ทั้งหมดอยู่ในวิหารและกรรมการวัดได้จัดทำลูกกรงใส่กุญแจไว้ ซึ่งก็ยังดูไม่แน่นหนาเท่าที่ควร นอกจากนั้นยังมีหีบธรรมอีก 6 ใบ ภาพถ่ายโบราณและไม้แกะสลัก และอาวุธ เช่นหอกเหล็กที่ยังเหลือเท่านั้น

ที่อยู่:
วัดหลวงฮอด ต.ฮอด อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ 50240
วันและเวลาทำการ:
ต้องทำหนังสือขออนุญาตชมล่วงหน้า
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2516
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์วัดหลวงฮอด

ชุมชนฮอดแห่งนี้อพยพย้ายถิ่นมาอันเนื่องมาจากการสร้างเขื่อนภูมิพลและมาอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบัน ต่อมาชุมชนฮอดรวมกับวัดหลวงฮอดจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2516 เพื่อเก็บรักษาโบราณวัตถุของทางวัดที่มีมากมายหลายชิ้น โดยเก็บรักษาไว้ในอาคารกุฏิสงฆ์ ซึ่งมีตู้เหล็กใส่กุญแจหลายชั้นรักษาอยู่และมีผู้ถือกุญแจเป็นกรรมการวัดจำนวน 20 คน อาคารพิพิธภัณฑ์เป็นอาคารชั้นเดียวใต้ถุนสูง จัดเก็บศิลปวัตถุพระพุทธรูปทำจากผลึกแก้วสีต่างๆ แหวนทองคำ บาตรจำลองทำด้วยทองคำ ของเหล่านี้เก็บไว้ในหีบไม้ใส่กุญแจและใส่ในตู้เหล็กใส่กุญแจและเก็บไว้ในห้องใส่กุญแจ แต่ของเหล่านี้ได้ถูกขโมยตัดกุญแจลักเอาไปจนหมดในวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2540 จึงเหลือแต่พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ ศิลปะล้านนาองค์ใหญ่ในวิหารอีก 5 องค์ และพระพุทธรูปยืนทำด้วยไม้แกะสลักอีก 2 องค์ ทั้งหมดอยู่ในวิหารและกรรมการวัดได้จัดทำลูกกรงใส่กุญแจไว้ ซึ่งก็ยังดูไม่แน่นหนาเท่าที่ควร นอกจากนั้นยังมีหีบธรรมอีก 6 ใบ ภาพถ่ายโบราณและไม้แกะสลัก และอาวุธ เช่นหอกเหล็กที่ยังเหลือเท่านั้น

ข้อมูลจาก : บุบผา จิระพงษ์. สถานภาพของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะ มนุษยศาสตร์ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่,2544. หน้า 292.
ชื่อผู้แต่ง:
-