ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ล้านนา ร.ร.บ้านสบเปิง


ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมล้านนา โรงเรียนสบเปิงวิทยา จัดตั้งเมื่อปี 2541 เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษาและภาษาไทย และเพื่อเก็บรักษาของโบราณเก่าแก่หายากของชุมชนให้คงอยู่ต่อไป โดยใช้ห้องเรียนขนาด 45 ตารางเมตร 1 ห้องในอาคารรัฐอุปถัมภ์เป็นสถานที่จัดแสดง ชั้นบนของอาคารมี 2 ห้อง ห้องแรกเป็นห้องดนตรี ห้องที่สองเป็นห้องจริยธรรมล้านนา จัดแสดงเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันในอดีต เครื่องจักสาน อาทิ วีพัดข้าว หมวก งอบ ข้อง กระบุง กระติบ ตะกร้าใส่เสื้อผ้า เครื่องมือทำนา เช่น แอก เฝือ คราด เครื่องดนตรี เช่น สะล้อ ซอ ซึง เครื่องประกอบวัวต่าง ม้าต่าง เครื่องมือทอผ้าเช่น กงปั่นฝ้าย เครื่องปั้นดินเผา เช่น ไหเหล้า ไหแช่ข้าวเหนียว น้ำต้นดินเผา หม้อแกง ตะเกียงแบบโบราณ ฮอกแขวนคอวัว ควาย สิ่งพิเศษของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้คือ จัดแสดงผลงานของนักเรียน เช่น การตัดกระดาษทำเป็นตุงหลากสีสรร สวยงาม และยังนำของเก่ามาดัดแปลงให้ใช้ประโยชน์ในการจัดนิทรรศการ เช่น คราดที่มีหลายอันทำเป็นขาตั้งแผ่นป้ายอธิบายนิทรรศการ เป็นต้น

ที่อยู่:
โรงเรียนสบเปิง ต.สบเปิง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ 50330
วันและเวลาทำการ:
เปิดจันทร์ - ศุกร์ 8.30 - 16.15 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2541
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวของศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ล้านนา ร.ร.บ้านสบเปิง

ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมล้านนา โรงเรียนสบเปิงวิทยา จัดตั้งเมื่อปี 2541 เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษาและภาษาไทย และเพื่อเก็บรักษาของโบราณเก่าแก่หายากของชุมชนให้คงอยู่ต่อไป โดยใช้ห้องเรียนขนาด 45 ตารางเมตร 1 ห้องในอาคารรัฐอุปถัมภ์เป็นสถานที่จัดแสดง ชั้นบนของอาคารมี 2 ห้อง ห้องแรกเป็นห้องดนตรี ห้องที่สองเป็นห้องจริยธรรมล้านนา จัดแสดงเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันในอดีต เครื่องจักสาน อาทิ วีพัดข้าว หมวก งอบ ข้อง กระบุง กระติบ ตะกร้าใส่เสื้อผ้า เครื่องมือทำนา เช่น แอก เฝือ คราด เครื่องดนตรี เช่น สะล้อ ซอ ซึง เครื่องประกอบวัวต่าง ม้าต่าง เครื่องมือทอผ้าเช่น กงปั่นฝ้าย เครื่องปั้นดินเผา เช่น ไหเหล้า ไหแช่ข้าวเหนียว น้ำต้นดินเผา หม้อแกง ตะเกียงแบบโบราณ ฮอกแขวนคอวัว ควาย สิ่งพิเศษของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้คือ จัดแสดงผลงานของนักเรียน เช่น การตัดกระดาษทำเป็นตุงหลากสีสรร สวยงาม และยังนำของเก่ามาดัดแปลงให้ใช้ประโยชน์ในการจัดนิทรรศการ เช่น คราดที่มีหลายอันทำเป็นขาตั้งแผ่นป้ายอธิบายนิทรรศการ เป็นต้น

ข้อมูลจาก : บุบผา จิระพงษ์. สถานภาพของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะ มนุษยศาสตร์ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่,2544. หน้า 200.
ชื่อผู้แต่ง:
-