โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 8/12/2551 (หน้า25)
ที่มา: มติชนรายวัน
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 18/12/2551
ที่มา: เดลินิวส์
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 14/12/2551
ที่มา: ไทยรัฐ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 19/12/2551
ที่มา: คม ชัด ลึก
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: นิอาเรฟ นิน๊ะ | ปีที่พิมพ์: 8/12/2551
ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 23/12/2551
ที่มา: ไทยรัฐ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: ดุลยปวีณ กรณฑ์แสง | ปีที่พิมพ์: 23 ม.ค. 2552;23-01-2009
ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ
แหล่งค้นคว้า:
โดย: ศมส.
วันที่: 11 มิถุนายน 2556
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 26 มกราคม 2552;26-01-2009
ที่มา: ผู้จัดการ
แหล่งค้นคว้า:
โดย: ศมส.
วันที่: 08 พฤศจิกายน 2556
ชื่อผู้แต่ง: ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ | ปีที่พิมพ์: 31 ม.ค. 59;31-01-2016
ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 01 กุมภาพันธ์ 2559
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 3 พ.ย. 2559;3-11-2016
ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 07 พฤศจิกายน 2559
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของพิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่1 (ฝาง)
เรื่องราวที่จัดแสดงในนิทรรศการภายในพิพิธภัณฑ์ ถ่ายทอดชีวิตหลากรูปแบบ ทั้งความเป็นมาของบ้านยาง ที่มาที่ไปของโครงการหลวงและโรงงานหลวงผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป รวมทั้งเหตุการณ์ที่เป็นความทรงจำของ “คนโรงงาน” และ “คนบ้านยาง” รวมถึงสถานการณ์ในปัจจุบันของพิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตแห่งนี้ กำเนิดโครงการหลวง การจัดแสดงเกี่ยวกับกำเนิดโครงการหลวงในพิพิธภัณฑ์ เกริ่นนำด้วยบรรยากาศจำลองที่จะพาเรากลับไปรู้จักเรื่องราวในอดีตของคนบ้านยาง ทั้งการจัดแสดงข้าวของที่ได้รับการบริจาคจากชาวบ้าน และการนำเสนอวีดิทัศน์ที่บอกเล่าความเป็นมา ก่อนที่เราจะเห็นสภาพของพื้นที่อย่างในปัจจุบัน พิพัฒพงศ์ อิศรเสนา ณ อยุธยา ผู้แทนพิเศษ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เล่าถึงความเป็นมาของวัตถุที่จัดแสดงใน “ห้องชีวิตชายขอบ”และได้สรุปถึงสาเหตุสำคัญของการพัฒนาพื้นที่สูง จนกลายเป็นโครงการหลวงดังที่เราเห็นในปัจจุบัน “เมื่อแรกตั้งพิพิธภัณฑ์ เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ต่อยอดแนวพระราชดำริของพระเจ้าอยู่หัวในเรื่องต่างๆ สิ่งเดียวที่คิดคือ ‘จะทำอย่างไรให้คนของเราเข้าไปอยู่ในสังคมนั้นๆ ได้’ ...เราเน้นการมีส่วนร่วม เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในสังคมนั้น แล้วเอาความรักให้คนในชุมชน แล้วสิ่งที่ได้กลับมา คือคนเอาความรักมาให้ต่อพิพิธภัณฑ์และคนในโรงงานหลวง ดังจะเห็นได้จากวัตถุจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ พอชาวบ้านเห็นว่าเราเอาจริง เขาก็เอาของมาให้จัดแสดง เพื่อเก็บไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้รับรู้ ว่าเมื่อยุคหนึ่งเกิดอะไรขึ้นบ้าง” จากห้องจัดแสดงที่เราจะรับรู้สภาพของพื้นที่ในอดีตประมาณ 40-50 ปีที่แล้ว เราจะได้เดินทางย้อนไปสัมผัสเรื่องราวกำเนิดโครงการหลวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราชทรงเยี่ยมราษฎรชาวไทยภูเขาในเขตจังหวัดภาคเหนือ เมื่อ พ.ศ. 2507 พระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นป่าไม้ถูกทำลายด้วยการปลูกฝิ่นและทำไร่เลื่อนลอย จึงมีพระราชดำริที่จะช่วยพสกนิกรเหล่านี้ “การปลูกฝิ่นโดยพื้นฐาน ‘กินปุ๋ย’ ในดินมาก เมื่อปลูกอีกแล้วไม่งาม แล้วต้องทำอย่างไร ชาวบ้านจะรู้ไหมว่าต้องทำปุ๋ยอินทรีย์มาใส่ เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของดิน เปล่าไม่ใช่ เขาถางป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์กว่า แล้วก็ปลูกฝิ่น เหล่านี้ เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์และความไม่รู้ ไม่ได้เกิดจากความตั้งใจของชาวเขา จริงๆ แล้วไม่ใช่ว่ามีแต่ชาวเขาที่สร้างความเสียหาย แต่ในส่วนของชาวเรามีความรู้ มีความโลภ อยากร่ำรวย ตัดไม้มาเพื่อการพาณิชย์ นอกจากนี้ ชาวเราได้รับผลกระทบจากสิ่งเหล่านี้เหมือนกัน เพราะว่าชาวเรา ลูกหลานของชาวเรา อาจติดยา มีปัญหาสังคม อย่าลืมว่าของพวกนี้มีราคาแพง เพราะฉะนั้นคนในพื้นที่ อาจมีโอกาสเสพได้น้อยกว่าคนในกรุงเทพ เพราะอำนาจซื้อต่างกัน ปัญหาที่เกิดขึ้นรุนแรง กว้างขวาง ส่งผลต่อชาวโลก เมื่อฝิ่นเป็นสารตั้งต้นเฮโรอีน ส่งผลมากขึ้น เมื่อไม่มีเงินซื้อ แต่ติดไปแล้วจะทำอย่างไร ฆ่าคนชิงทรัพย์ ขโมยของ หาทางทำให้ได้เงินมากขึ้น ค้าประเวณี แล้วก็มาเสพยา ของเหล่านี้ส่งผลกระทบเป็นไปทั่วโลก พระเจ้าอยู่หัวเล็งเห็นเมื่อสี่สิบปีที่แล้ว” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นผู้รับสนองพระราชดำริให้ตั้ง “โครงการพระบรมราชานุเคราะห์ชาวไทยภูเขา” เมื่อ พ.ศ. 2512 เพื่อหาทางแก้ปัญหาและศึกษาวิจัยพืชเมืองหนาว ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “โครงการหลวง” เมื่อ พ.ศ. 2513 และมีปณิธานสำคัญดังที่หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ได้ทรงสรุปความจากพระราชดำรัสของพระเจ้าอยู่หัว “ช่วยชาวเขา ช่วยชาวเรา ช่วยชาวโลก” จากพระราชดำริดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงดำเนินการต่างๆ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนในพื้นที่ โดยพระองค์ทรงศึกษาความเป็นอยู่ของชาวไทยภูเขา ทรงส่งเสริมให้ปลูกพืชเมืองหนาวแทนฝิ่น ทรงพระราชทานสัตว์เลี้ยง และทรงพระราชทานความช่วยเหลือด้านคุณภาพชีวิต ไพรัช คำดี ลูกหลานของผู้นำหมู่บ้านที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชุมชนบ้านยาง ระลึกถึงเหตุการณ์เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเยี่ยมราษฎรในพื้นที่บ้านยาง “คุณพ่อไปรับเสด็จที่อ่างขางสามสี่ครั้ง ที่บ้านยางอีกสี่ครั้ง คุณพ่อรับเสด็จในหลวงเจ็ดครั้ง ตอนนั้น คุณพ่อเป็นผู้นำหมู่บ้าน ต้องทำหน้าที่ติดต่อข้าราชการ ข้าราชการเข้ามาก็มาติดต่อ ให้ความช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา... ตอนในหลวงเสด็จฯ ผมอายุประมาณเจ็ดแปดขวบ ครั้งแรกยังเล็ก คุณพ่อคุณแม่ไปรับเสด็จฯ ที่อ่างขาง แม่ไปทำอาหารถวาย คุณแม่ไปทำ “เตาเฟิน” อาหารจีนยูนาน พี่สาวผมไปร้องเพลงจีนให้ฟัง ท่านยังเอาแป้งที่ทอดกรอบ เตาเฟินทำแห้ง ท่านชิมบอกอร่อย ในครั้งแรกๆ ท่านภีฯ เข้ามาก่อน รู้จักคุณพ่อ ถึงจะเริ่มโครงการหลวง ท่านภีฯ เอาพืชเมืองหนาวมา คุณพ่อเรียกชาวบ้านประชุม ให้ปลูกพืชที่ในหลวงเอามาให้ ในหลวงพระราชทานไก่ แพะ วัว ไก่งวง มาแจก เจ้าหน้าที่จาก ม.เกษตรฯ เข้ามาส่งเสริม มีการปลูกเห็ด แรกๆ ให้ที่บ้านก่อน หลังๆ ให้ชาวบ้านด้วย ทั่วไปในหมู่บ้าน ปลูกใกล้บ้าน มีการช่วยกันขุดฝาย ทดน้ำมาใช้” เรื่องราวเกี่ยวกับการดำเนินงานของโครงการหลวงนี้ จัดแสดงในห้องถัดจากเรื่องราวในอดีตของบ้านยาง ห้องที่จัดแสดงมีลักษณะของผนังเป็นวงกลมโดยรอบ และห้อมล้อมด้วยภาพถ่ายเก่าที่บันทึกการเสด็จพระราชดำเนินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ลักษณะของห้องจัดแสดงดังกล่าวสะท้อนพระราชดำริของพระองค์ในการทำงาน “การพัฒนาประเทศตามแนวพระราชดำริของพระองค์ คือใช้ราษฎรเป็นศูนย์กลาง และคิดไปสามร้อยหกสิบองศา” กำเนิดโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 1 (ฝาง) จากเรื่องราวของโครงการหลวง ที่เป็นเสมือนภาพกว้างของการพัฒนาชีวิตของชาวไทยภูเขา นิทรรศการพาเราไปรู้จักกับงานที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นจากพระราชดำริของพระเจ้าอยู่หัวเช่นกัน อันได้แก่ “โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป” หากถามว่า ทำไมโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปจะต้องมาจัดตั้งที่บ้านยาง กษิดิศ รัตนโอภาส ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 ให้คำอธิบายไว้ “เนื่องจากว่าโครงการหลวง ไม่มีถนนที่ดี การจะขนสินค้าจะต้องใช้ล่อขนด้วยซ้ำ การที่ผลไม้เมืองหนาวจะส่งไปถึงตัวเมืองเชียงใหม่ ผลผลิตอาจจะเสียได้ นี่คือเหตุผลหนึ่ง แต่ถ้าถามว่าทำไมต้องจุดนี้ ผมคิดว่า มีอีกเหตุผล ผู้พันจาง [“พ่อหลวง” หรือผู้ใหญ่บ้านในยุคนั้น] เอาท้อมาจากดอยอ่างขาง ท่านภีฯ เห็นว่าหากใช้พื้นที่ที่มีพ่อค้าอยู่ ก็เป็นเรื่องง่ายในการทำขนส่ง นอกจากนี้ ยังมีวาระซ่อนเร้น คือเอาโรงงานตั้งขวางทางขนส่งฝิ่น อย่างไรก็ตาม หากแก้ปัญหาเรื่องฝิ่นด้วยการรณรงค์ให้ปลูกพืชเมืองหนาวเพียงอย่างเดียว พระองค์ท่านทรงเล็งเห็นว่า วันหนึ่งสินค้าต้องล้นตลาด จึงได้มีการตั้งโรงงานหลวง เพื่อแปรรูปและอำนวยความสะดวกในการขนส่งง่าย เป็นการเพิ่มมูลค่า และหากชาวเขาปลูกพืชเมืองหนาวแล้ว แต่กลับขายไม่ได้ เขาอาจกลับไปปลูกฝิ่น” อย่างไรก็ตาม ลักษณะของโรงงานเมื่อแรกตั้งนั้นแตกต่างจากสภาพที่เราเห็นในปัจจุบัน ไพรัช คำดี บุตรชายของผู้พันจาง ย้อนบอกเล่าความทรงจำเกี่ยวกับการทำงานของโรงงานในครั้งแรก “เมื่อแรกที่มีโครงการหลวง หม่อมเจ้าภีศเดช ทรงเห็นท้อพื้นเมือง เอาพวก “ฟู๊ดซายน์ส” มาทำท้อลอยแก้วก่อน คนมาทำโรงงานหลวงแรกๆ ยังมาอยู่บ้านผมก่อน พวกอาจารย์มา ก็นอนที่บ้าน แรกๆ ยังใช้ฟืนต้มท้อ แต่เมื่อมีเครื่องไม้เครื่องมือเยอะขึ้น จึงย้ายไปที่ยังที่ตั้งของสถานีอนามัยเก่า ยังมีพี่สาวและแม่ไปช่วยงาน มีฝ่ายวิชาการมาจากมหาวิทยาลัยเกษตรฯ เมื่อย้ายไปข้างบนที่ปัจจุบัน แรกๆ ทำเป็นโรงเรือนเล็กๆ มีบ้านพัก ตอนนั้น มีแต่เด็กในหมู่บ้านไปทำงาน ผู้ควบคุมเป็นคนในหมู่บ้าน หลังๆ เมื่อเปลี่ยนผู้จัดการ ก็เอาคนข้างนอกมาทำ คนในหมู่บ้านไปทำน้อยลง แต่คนในหมู่บ้านปลูกพืชเกษตรตลอด” “วัตถุประสงค์อีกประการของการพระราชทานโรงงานหลวงฯ คือการพัฒนาอาชีพเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในชุมชน เมื่อชาวบ้านไม่สามารถออกไปข้างนอกได้ เนื่องจากไม่มีบัตรประชาชน เขาต้องอยู่ในนี้ (...) เพราะฉะนั้น จึงสร้างรายได้ให้ชาวบ้าน” จากสภาพของโรงงานที่ปลูกในลักษณะที่เป็นโรงเรือนง่ายๆ และใช้เทคโนโลยีที่ไม่สลับซับซ้อน โรงงานขยายตัวมากขึ้น ต่อมามีการเพิ่มผลิตภัณฑ์ “ทำมะเขือเทศ ข้าวโพดฝักอ่อน ทำแยมพีช ทำสาลี่ลอยแก้ว อบแห่งนิดหน่อย โดยมีวัตถุดิบมาจากในหมู่บ้านส่วนหนึ่ง มาจากโครงการหลวงที่อ่างขางส่วนหนึ่ง มาจากการส่งเสริมการปลูกของโรงงาน พอหมดฤดูกาลเพาะปลูก ก็เตรียมเครื่องพัก ตอนนั้น ยังผลิตได้ไม่มาก” วิขัย สมนึก เจ้าหน้าที่โรงงานที่ทำงานมากว่ายี่สิบปี ย้อนเล่าถึงเหตุการณ์ครั้งมาเข้าทำงานเมื่อ พ.ศ. 2531 “วันแรกที่มามอบตัว รู้สึกตื่นเต้น ถนนยังเป็นดินลูกรัง เราแปลกใจว่า ทำไมโรงงานตั้งอยู่ลึก เราคิดว่า พระเจ้าอยู่หัว คงมีแนวคิดอยากช่วยหรืออยากทำอะไรให้ชุมชนดีขึ้น” ส่วนลักษณะของอาคาร “เป็นอาคารไม้โดยส่วนใหญ่ ตอนที่ผมเข้า มีการปรับปรุงเป็นอาคารปูน เป็นอาคารโครงสร้างเหล็ก ในช่วงแรก มีอาคารผลิตหลังเดียว เป็นอาคารไม้เก่า และมีห้องเก็บสารเคมี” ต่อมาราว พ.ศ. 2533 มีการปรับปรุงโรงงาน “เริ่มมีการก่อสร้างอาคารต้นกำลัง อาคารห้องเย็น อาคารคลังสินค้า ย้ายบอยเลอร์ เครื่องจักร ตอนนั้นมีการปรับปรุงค่อนข้างเยอะ เพิ่มกำลังการผลิต เริ่มปรับเป็นโรงงานที่มีโครงสร้างเหล็ก” ยุภาภรณ์ เจริญสุข หนึ่งในพนักงานเป็นได้เห็นการขยายตัวของโรงงานเล่าถึงการปรับปรุงโรงเรือนสำหรับการผลิตที่มีความมิดชิดมากขึ้น “เปลี่ยนจากตาข่ายสีฟ้า มาเป็นกรอบปูน เพื่อไม่ให้มีฝุ่นและให้มิดชิดมากขึ้น ประกอบกับว่าต้องทำระบบที่มีมาตรฐานต่างๆ โครงสร้างอาคารเป็นไม้ด้านบน แต่มีการตัดเสาหล่อด้วยปูน และปรับพื้นที่ข้างล่างให้ถูกต้องตามหลักจีเอ็มพี เหมาะกับการผลิตอาหาร เริ่มเป็นระบบอุตสาหกรรมมากขึ้น” ลักษณะของอาคารที่พัฒนาขึ้นนี้ มีความสำคัญต่อการขยายสายการผลิต เกษม ทิพแก้ว เล่าถึงสายการผลิตอาหารแช่แข็ง “เริ่มมีการลงทุนมากขึ้น... เราทำการผลิตสตรอเบอรี่แช่แข็ง ครั้งแรกที่มีการส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่ ผลิตได้ปริมาณไม่น้อย สามร้อยถึงห้าร้อยตันต่อปี รู้สึกว่าเริ่มขยายขึ้นมา ตั้งแต่ปี 2535 การเติบโตเชิงการค้ามากขึ้น มีลูกค้าญี่ปุ่นเข้ามามากขึ้น โรงงานมีความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าญี่ปุ่น ถึงกับมีการส่งพนักงานของเราไปฝึกงานที่ญี่ปุ่นหลายรุ่น” การพัฒนาโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป ยังคงดำเนินอย่างต่อเนื่อง “ความเติบโตของการผลิต เห็นได้จากกำลังผลิตที่มากขึ้น คือมีการผลิตทั้งปี จากที่ผ่านมา บางสายการผลิตใช้งานไม่ถึงห้าสิบเปอร์เซ็นต์ต่อปี โดยเฉพาะแคนนิ่ง [การผลิตอาหารบรรจุกระป๋อง] เมื่อก่อนเราไม่มีระบบฆ่าเชื้อโรคแบบสายพาน เป็นการฆ่าเชื้อแบบหม้อต้มแทน พอเริ่มมีการผลิตมากขึ้น ก็เพิ่มเครื่องจักร คุกเกอร์ ที่ใช้ฆ่าเชื้อกระป๋อง เป็นแบบสายพานต่อเนื่องกัน ตัวนี้ทำให้กำลังผลิตเรามากขึ้น รับวัตถุดิบจากเกษตรกรได้มากขึ้น เพิ่มขยายห้องเย็นเพื่อรองรับแช่แข็งให้มากขึ้น ประจวบกับมีการจดทะเบียนเป็นบริษัทดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด และมีแนวนโยบายการบริหารที่เปลี่ยนมาก คือเน้นการผลิตสินค้าที่ให้มีกำไรมากขึ้น มีการจัดโครงสร้างองค์กรบางส่วนบางตำแหน่ง ทำให้คล่องตัวมากขึ้น ทั้งงานผลิต งานรับจ้างผลิต เพื่อให้มีรายได้” เกษม ทิพแก้ว ผู้จัดการโรงงานหลวงฯ คนปัจจุบันได้ให้คำอธิบายถึงการขยายตัวของโรงงาน จนเรียกได้ว่าช่วงเวลาทศวรรษ 2540 “เป็นช่วงเวลาที่เฟื่องฟูที่สุด” ของโรงงาน ก่อนที่ทุกอย่างจะนำไปสู่เหตุการณ์น้ำท่วม เมื่อ พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นเสมือนจุดสิ้นสุดและเริ่มต้นฉากตอนใหม่ของโรงงาน “น้ำท่วมเป็นความเจ็บปวดของคนในชุมชน เขาเกิดความสูญเสียบ้านเรือน สินทรัพย์ ความเสียใจ และที่ร้ายกาจ คือการเสียชีวิตของญาติสนิทพี่น้อง อันเกิดจากผลที่เขาทำหรือไม่ได้ทำ เนื่องจากมีการตัดไม้ ฝนตกมาไม่มีที่จะอุ้มน้ำ (...) ก่อให้เกิดปัญหามากมาย น้ำท่วม น้ำป่า เพราะฉะนั้น พิพิธภัณฑ์เลือกเอาหัวข้อนี้เข้ามา เพื่อเป็นความรู้จากความผิดพลาดในอดีต และเป็นอุทาหรณ์เตือนใจคนในปัจจุบันและอนาคต ว่าอย่าได้คิดทำในสิ่งที่เคยผิดพลาดมาแล้ว ขอให้บทเรียนครั้งนี้ จงเป็นครั้งสุดท้ายที่จะทำให้เกิดปัญหาเหล่านี้ต่อไป” จากเรื่องราวกำเนิดโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 1 ที่นำเสนอด้วยการจำลองสภาพของการทำงาน ตั้งแต่โรงงานในระยะเริ่มแรก จนถึงโรงงานที่มีการพัฒนากำลังการผลิตและใช้เครื่องจักรที่มีเทคโนโลยีที่สลับซับซ้อน ผู้ชมจะเดินทางเข้าสู่ห้องจัดแสดงเครื่องจักรที่เหลือรอดจากเหตุการณ์น้ำท่วม เครื่องจักรได้รับการจัดแสดงตามสายการผลิต และยังมีวีดิทัศน์ที่นำเสนอคำบอกเล่าของพยานที่รู้เห็นเหตุการณ์ เขาและเธอมาถ่ายทอดความรู้สึกของตนเองต่อเหตุการณ์ดังกล่าว ในจุดนี้ เราคงต้องใช้จินตนาการของสภาพหลังเหตุการณ์น้ำท่วมตามคำบอกเล่า ทั้งที่ได้ฟังจากวีดิทัศน์และเนื้อหาในเอกสารฉบับนี้ แต่คำถามที่สำคัญคือ “เราจะก้าวต่อไปอย่างไร?” ด้วยเหตุนี้ การเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ที่อยู่ใน “โรงเล่าเรื่อง” ที่ได้กล่าวมาตั้งแต่ต้น จึงเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตที่ไม่สามารถแยกออกระหว่างชุมชน โรงงาน และพิพิธภัณฑ์ ดังที่ เกษม ทิพแก้ว ได้ให้ความหมายของโรงงานหลวงฯ ภายหลังจากเหตุการณ์ “สถานภาพความเป็นอยู่ของโรงงานไม่เหมือนเดิม คนเราต้องปรับสภาพให้เข้าใจสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน เมื่อก่อนทีมงานมุ่งแต่ทำงาน ผลิต ขนสินค้า แต่เมื่อเราหรือโรงงานมีสถานภาพเป็นศูนย์รวม เป็นแหล่งเรียนรู้ เราก็ต้องปรับวิธีการทำงานให้สอดคล้องกับองค์ความรู้ในชุมชน คือโรงงานเป็นสถานที่เยี่ยมชม ขอความรู้ หรือฝึกปฏิบัติ” นี่คือสิ่งที่ยืนยันว่า พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง) เป็นพื้นที่ที่มีชีวิตแนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
ฟื้นชีวิตพิพิธภัณฑ์โรงงานหลวง
เปิดตัว พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง) จังหวัดเชียงใหม่ หลังน้ำท่วม-โคลนถล่มพังยับ พระเทพฯ ทรงรับสั่ง "ฉันสร้างใหม่ให้ ไม่ต้องเสียใจ" ในวิกฤติย่อมมีโอกาส เช่นเดียวกับ โอกาสใหม่ ที่ผลิบานขึ้นอีกครั้ง ในชุมชนหมู่บ้านยาง ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ วันนี้ โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 1 (ฝาง) โรงงานหลวงแห่งแรก ซึ่งได้รับความเสียหายอย่างหนัก เนื่องจากเหตุการณ์อุทกภัยและโคลนถล่ม เมื่อเดือนตุลาคม 2549 ได้รับการพลิกฟื้นให้กลับมีชีวิตขึ้นมาใหม่พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ ๑ (ฝาง) สืบสานก้าวย่าง...พลิกฟื้นชีวิตชุมชน
นับเป็นการพลิกฟื้นชีวิตชาว ชุนชนบ้านยาง ต.แม่งอน อ.ฝาง จ. เชียงใหม่ ขึ้นอีกครั้ง เมื่อโครงการตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการบูรณะพื้นที่เดิมของโรงงานหลวงที่ ๑ (ฝาง) ซึ่งได้รับความเสียหายอย่างหนักจากเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อเดือนตุลาคม 2549 ที่ผ่านมา ถึงคราวเสร็จสมบูรณ์ตามพระประสงค์ ที่ทรงมอบหมายให้ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) ดำเนินการฟื้นฟูให้เป็นพิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ ๑ (ฝาง) ในฐานะที่เป็นโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปแห่งแรกจากแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวชมพิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง) เที่ยวอุทยานหลวงราชพฤกษ์
จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเมืองท่องเที่ยวอันดับต้นๆ สำหรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ มีสถานที่เที่ยวที่น่า สนใจมากมายหลายแห่ง สำหรับคราวนี้จะชวนขึ้นไปชม พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง) ที่อำเภอฝาง แล้วกลับลงมาชม อุทยานหลวงราชพฤกษ์ ที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง) ก่อตั้งขึ้นตามพระราชดำริของสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเผยแพร่พระราชอัจฉริยภาพของพระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว“พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง)” แหล่งรวมรอยพระเมตตาในหลวง ร.9 ผู้ทรงพลิกจาก “ดอยฝิ่น” สู่ “ดอยคำ”
ด้วยพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่มีพระราชประสงค์จะ “ช่วยชาวเขา ช่วยชาวเรา ช่วยชาวโลก” และทรงต้องการพัฒนาความเป็นอยู่ของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดารให้อยู่ดีกินดี จึงเกิดเป็น “โครงการหลวง” ที่ส่งเสริมให้ราษฎรเพาะปลูกทำการเกษตร จำพวกผักและผลไม้เมืองหนาว แทนการปลูกฝิ่นที่มีมาแต่ดั้งเดิม และนอกจากนั้น ยังมีพระราชดำริให้ก่อสร้าง “โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 1 (ฝาง)” ขึ้นที่หมู่บ้านยาง ต.แม่งอน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ใน พ.ศ.2515เที่ยวแบบได้ข้อคิดที่ พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง)
พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 วางตัวอยู่ในหมู่บ้านยาง ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง โดยพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ จัดตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ในการเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงการศึกษาด้านอุตสาหกรรมการเกษตรแปรรูป และเป็นสถานที่รวบรวมและจัดแสดงแนวพระราชดําริในการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
โรงงานหลวงที่ 1 บ้านยาง
พิพิธภัณฑ์โครงการศึกษาเครื่องปั้นดินเผา ภาควิชาประวัติศาสตร์
จ. เชียงใหม่
ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอสันกำแพง โรงเรียนสันกำแพง
จ. เชียงใหม่
พิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุดอยสุเทพวรมหาวิหาร
จ. เชียงใหม่