พิพิธภัณฑ์บ้านโบราณโรงเรียนวัดบวกหมื้อ เกิดขึ้นเนื่องจากทางโรงเรียนไปดูงานที่อื่น ๆ แล้วเห็นว่ามีการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านในลักษณะนี้จึงต้องการจะทำบ้าง แต่จะค่อย ๆ ดำเนินการไปตามกำลังที่มี ทั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากชุมชนที่ช่วยบริจาควัสดุเช่น ไม้ กระเบื้อง ล้มเลื่อยต้นไม้ที่ยืนตาย นำมาสร้างเป็นเรือนพื้นบ้านหลังนี้ และยังได้รับเงินบริจาคสมทบจากโครงการศุภนิมิตรอีกจำนวนหนึ่งด้วย อาคารแล้วเสร็จในปี 2540 ลักษณะเป็นเรือนชนบท พื้นไม้ หลังคามุงด้วยกระเบื้องว่าว ภายในจัดเป็นห้องนอน และใช้เป็นเรือนพยาบาลด้วย นอกจากนั้นจัดแสดงห้องครัวไฟ วัตถุจัดแสดง เช่น ของใช้ในครัวเรือน เตารีด หม้อหุงข้าว ไหแช่ข้าว ตู้เก่า เครื่องมือทำการเกษตร เช่น แอก ไถ เป็นต้น
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของพิพิธภัณฑ์บ้านโบราณโรงเรียนวัดบวกหมื้อ
พิพิธภัณฑ์บ้านโบราณโรงเรียนวัดบวกหมื้อ เกิดขึ้นเนื่องจากทางโรงเรียนไปดูงานที่อื่น ๆ แล้วเห็นว่ามีการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านในลักษณะนี้จึงต้องการจะทำบ้าง แต่จะค่อย ๆ ดำเนินการไปตามกำลังที่มี ทั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากชุมชนที่ช่วยบริจาควัสดุเช่น ไม้ กระเบื้อง ล้มเลื่อยต้นไม้ที่ยืนตาย นำมาสร้างเป็นเรือนพื้นบ้านหลังนี้ และยังได้รับเงินบริจาคสมทบจากโครงการศุภนิมิตรอีกจำนวนหนึ่งด้วย อาคารแล้วเสร็จในปี 2540 ลักษณะเป็นเรือนชนบท พื้นไม้ หลังคามุงด้วยกระเบื้องว่าว ภายในจัดเป็นห้องนอน และใช้เป็นเรือนพยาบาลด้วย นอกจากนั้นจัดแสดงห้องครัวไฟ วัตถุจัดแสดง เช่น ของใช้ในครัวเรือน เตารีด หม้อหุงข้าว ไหแช่ข้าว ตู้เก่า เครื่องมือทำการเกษตร เช่น แอก ไถ เป็นต้นข้อมูลจาก : บุบผา จิระพงษ์. สถานภาพของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะ มนุษยศาสตร์ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่,2544. หน้า 193.
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
วิถีชีวิตท้องถิ่นและภูมิปัญญา เครื่องมือการเกษตร ครัวไฟ ของใช้ในครัวเรือน
ศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชนป่าแดด (วัดวังสิงห์คำ)
จ. เชียงใหม่
ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยไทลื้อ บ้านใบบุญ
จ. เชียงใหม่
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่
จ. เชียงใหม่