พิพิธภัณฑ์หมู่บ้านชาวเขาดอยปุย


หมู่บ้านชาวเขาดอยปุย เป็นหมู่บ้านกลุ่มชาติพันธุ์ม้งแรกๆ ที่เปิดต้อนรับนักท่องเที่ยว เพื่อตอบสนองนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวของเมืองเชียงใหม่ ตั้งแต่ปลายทศวรรษ 2520 พิพิธภัณฑ์ริเริ่มก่อตั้งโดยพ่อหลวง(ผู้ใหญ่บ้าน)ของหมู่บ้าน เพื่อรองรับการท่องเที่ยวในชุมชน ลักษณะพิเศษของพิพิธภัณฑ์คืออาคารจัดแสดงที่ตั้งนั้นผสมกลมกลืนรวมกันไปกับบ้านของชาวบ้าน อาคารพิพิธภัณฑ์สร้างแบบง่าย ๆ เป็นกระท่อมไม้ไผ่มุง แบ่งเป็น 3 หลัง หลังแรกจัดแสดงเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวเขากลุ่มต่าง ๆ อาคารหลังที่สองจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำการเกษตรของชาวเขา และอาคารหลังที่สามเป็นบ้านตัวอย่างแสดงวิถีชีวิตชาวม้ง

ที่อยู่:
บ้านดอยปุย ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
โทรศัพท์:
081-706-6572 ติดต่อคุณยิ่งยศ
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน 09.00-17.00 น
ค่าเข้าชม:
คนละ 10 บาท
ปีที่ก่อตั้ง:
2527
จัดการโดย:
เนื้อหา:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

พหุลักษณ์ของสำนึกทางชาติพันธุ์ม้งภูสวยกับการจัดระเบียบทางเศรษฐกิจและการเมือง

ชื่อผู้แต่ง: มนตรา พงษ์นิล | ปีที่พิมพ์: 2541

ที่มา: วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญามานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์หมู่บ้านชาวเขาดอยปุย

ชื่อผู้แต่ง: วิชญดา ทองแดง | ปีที่พิมพ์:

ที่มา: วารสารเมืองโบราณ

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์หมู่บ้านชาวเขาดอยปุย

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก่อตั้งขึ้นในปี 2527 โดยคุณยิ่งยศ หวางวนวัฒน์ ซึ่งเป็นคนม้งและเป็นพ่อหลวงบ้านดอยปุยในขณะนั้น โดยใช้เงินทุนส่วนตัวและสร้างในที่ดินของพ่อหลวงเอง  เนื่องจากท่านเห็นว่ามีนักท่องเที่ยวเข้ามาซื้อของเก่าจำพวกเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำของคนม้ง จึงเกรงว่ารุ่นลูกหลานจะไม่ได้เห็นอีกต่อไป จึงเริ่มเก็บสะสมของต่าง ๆ ทั้งโดยวิธีขอรับบริจาคจากชาวบ้าน และใช้เงินทุนส่วนตัวซื้อมา ลักษณะพิเศษของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้คืออาคารจัดแสดงที่ตั้งนั้นผสมกลมกลืนรวมกันไปกับบ้านของชาวบ้าน อาคารพิพิธภัณฑ์สร้างแบบง่าย ๆ เป็นกระท่อมไม้ไผ่มุงจากตามรูปแบบบ้านคนม้ง โดยปลูกบนพื้นดินไม่ยกพื้น แบ่งเป็น 3 หลัง หลังแรกจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวเขากลุ่มต่าง ๆ โดยมีรูปถ่ายและแผ่นป้ายเล่าประวัติเรื่องราวของชาวเขาในไทย อาทิ ม้ง เย้า ลาหู่ อาข่า ผีตองเหลือง เป็นต้น และจัดแสดงเสื้อผ้า เครื่องดนตรี เครื่องใช้ไม้สอยในบ้าน เครื่องจักสาน อุปกรณ์เกี่ยวเนื่องกับการปลูก/กรีดฝิ่น หน้าไม้ ของชาวเขา
         
อาคารหลังที่สองเชื่อมติดกับหลังแรก จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ที่เกี่ยวเนื่องกับการทำการเกษตรของชาวเขา เช่น ครกตำข้าว โม่ข้าวโพดม้ง เครื่องปั่นฝ้าย เป็นต้น และอาคารหลังที่สามเป็นบ้านตัวอย่างแสดงวิถีชีวิตชาวม้ง มีส่วนแท่นบูชา ครัวไฟ และห้องนอน นอกจากนี้ยังมีสวนพันธุ์ไม้เมืองหนาวเล็ก ๆ ให้นักท่องเที่ยวได้ชมด้วย
       
 มีมัคคุเทศน์ท้องถิ่นนำชมพิพิธภัณฑ์ นอกจากนี้บริเวณหน้าพิพิธภัณฑ์กลุ่มผู้หญิงม้งรวมตัวกันนั่งเย็บปักผ้าและขายผลิตภัณฑ์แก่นักท่องเที่ยวด้วย
       
 รายได้จากการขายบัตรเข้าชม นอกเหนือจากเป็นค่าจ้างคนมาดูแลพิพิธภัณฑ์ เงินส่วนที่เหลือนำไปบริจาคช่วยเหลือทุนอาหารกลางวันเด็กนักเรียน และงานพัฒนาหมู่บ้าน

ข้อมูลจาก: 
1. การสำรวจภาคสนาม วันที่ 14 สิงหาคม 2547  
2. สัมภาษณ์ พ่อหลวงยิ่งยศ หวางวนวัฒน์  บ้านม้งดอยปุย วันที่ 14 สิงหาคม 2547
 
ชื่อผู้แต่ง:
-

รีวิวของพิพิธภัณฑ์หมู่บ้านชาวเขาดอยปุย

หลายวันก่อนผมถ่อสังขารตัวเองมาตะลุยบ้านดอยปุยในช่วงเย็น ซึ่งถือว่าอากาศกำลังดี แดดอ่อนๆร่ำไร ระหว่างทางไปบ้านดอยปุยสังเกตเห็นหญ้าแฝกที่ปลูกใหม่ไว้ริมถนน ตรงที่ลาดชันสองข้างทาง เพื่อช่วยลดความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดิน มีสลับไปกับต้นสนสามยอดที่ขึ้นเรียงราย มองแลดูไกลๆ มีกลิ่นไอเสน่ห์เหมือนป่าเมืองนอก
ชื่อผู้แต่ง:
-