เรือนพิพิธภัณฑ์บ้านโบราณ ร.ร.สันป่ายางวิทยาคม (ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอแม่แตง)


พ.ศ.2534 อาจารย์วิษณุ ไชยแก้วเมศ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสันป่ายางวิทยาคม ได้ซื้อบ้านเก่านำมาปลูกสร้างใหม่ในโรงเรียน พร้อมกับสร้างคอกวัว คอกควาย โรงครกมอง เล้าไก่ และคอกหมู ได้ด้วย เพื่อต้องการให้เป็นส่วนประกอบของครัวเรือนที่ครบถ้วน ก่อสร้างเนื่องในโอกาสร่วมเฉลิมฉลองสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระชนม์มายุครบ 60 พรรษา แล้วเสร็จในปี 2536 โดยใช้เป็นศูนย์วัฒนธรรมประจำอำเภอแม่แตงด้วย ลักษณะอาคารเป็นเรือนกาแล หลังคากระเบื้องดินขอ แบบเรือนหลังคาสองหลังร่วมพื้นเดียวกัน มีเสาทั้งหมด 41 ต้น เรือนหลังนี้สร้างด้านหน้าเรือนลดชั้นระเบียงด้านหน้า ตามแบบเรือนกาแลทั่วไป มีชานน้ำอยู่สุดระเบียง ด้านขวาของเรือนฝาบ้านบางส่วนเป็นไม้ บางส่วนเป็นฝาไม้ไผ่ขัดแตะ ฝาส่วนที่เป็นไม้ได้จากการบริจาคไม้อาคารเก่าของโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ภายในจัดแสดงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ เช่น ครัวไฟแบบล้านนา จัดไว้ในห้องซ้าย ห้องทางขวาจัดแสดงสิ่งของเล็กๆ ที่วางอยู่ในตู้ อาทิ เหรียญ ธนบัตร มูยาดินเผา เครื่องเขิน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเครื่องจักสาน หีบผ้า กงปั่นฝ้าย กับดักหนู และแมวขูดมะพร้าว เป็นต้น

ที่อยู่:
โรงเรียนสันป่ายางวิทยาคม บ้านสันป่ายาง ต.สันป่ายาง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ 50330
วันและเวลาทำการ:
เปิดในวันเวลาราชการ
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2536
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวของเรือนพิพิธภัณฑ์บ้านโบราณ ร.ร.สันป่ายางวิทยาคม (ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอแม่แตง)

พ.ศ.2534 อาจารย์วิษณุ ไชยแก้วเมศ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสันป่ายางวิทยาคม ได้ซื้อบ้านเก่านำมาปลูกสร้างใหม่ในโรงเรียน พร้อมกับสร้างคอกวัว คอกควาย โรงครกมอง เล้าไก่ และคอกหมู ได้ด้วย เพื่อต้องการให้เป็นส่วนประกอบของครัวเรือนที่ครบถ้วน ก่อสร้างเนื่องในโอกาสร่วมเฉลิมฉลองสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระชนม์มายุครบ 60 พรรษา แล้วเสร็จในปี 2536 โดยใช้เป็นศูนย์วัฒนธรรมประจำอำเภอแม่แตงด้วย ลักษณะอาคารเป็นเรือนกาแล หลังคากระเบื้องดินขอ แบบเรือนหลังคาสองหลังร่วมพื้นเดียวกัน มีเสาทั้งหมด 41 ต้น เรือนหลังนี้สร้างด้านหน้าเรือนลดชั้นระเบียงด้านหน้า ตามแบบเรือนกาแลทั่วไป มีชานน้ำอยู่สุดระเบียง ด้านขวาของเรือนฝาบ้านบางส่วนเป็นไม้ บางส่วนเป็นฝาไม้ไผ่ขัดแตะ ฝาส่วนที่เป็นไม้ได้จากการบริจาคไม้อาคารเก่าของโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ภายในจัดแสดงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ เช่น ครัวไฟแบบล้านนา จัดไว้ในห้องซ้าย ห้องทางขวาจัดแสดงสิ่งของเล็กๆ ที่วางอยู่ในตู้ อาทิ เหรียญ ธนบัตร มูยาดินเผา เครื่องเขิน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเครื่องจักสาน หีบผ้า กงปั่นฝ้าย กับดักหนู และแมวขูดมะพร้าว เป็นต้น

ข้อมูลจาก : บุบผา จิระพงษ์. สถานภาพของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะ มนุษยศาสตร์ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่,2544. หน้า 183.
ชื่อผู้แต่ง:
-