โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
ชื่อผู้แต่ง: นรีภพ | ปีที่พิมพ์: 2545
ที่มา: ข้าวงอกดอกไม้บาน. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: วิชัย ทาเปรียว | ปีที่พิมพ์: 19/4/2548
ที่มา: ข่าวสด
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: ขนิษฐา แดงพัด | ปีที่พิมพ์: 20/11/2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11212 (หน้า 21)
ที่มา: มติชนรายวัน
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: ศรัณย์ ทองปาน | ปีที่พิมพ์: 13, 150(ส.ค.40)
ที่มา: สารคดี
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
“มีดแหกพิษ” ความเชื่อการรักษาโรคในชุมชนวัดร้องเม็ง
สังคมล้านนาในอดีตเมื่อมีคนเจ็บไข้ได้ป่วยที่หาสาเหตุไม่พบ หรือเชื่อว่าโดนคุณไสย หรือถูกงูพิษกัด จะรักษาโดยใช้การ “แหกพิษ” คำว่า “แหก” หมายถึง การกรีดหรือรีด หมอเมืองหรือหมอพื้นบ้าน จะใช้มีดแหกที่ทำจากเขาสัตว์ เช่น เขาควาย เขียวเสือ งาช้าง ที่ผ่านการลงคาถาและปลุกเสกแล้ว มารีดหรือกดบริเวณรอบแผลหรือตามร่างกายของผู้ป่วย พร้อมทั้งบริกรรมคาถา เพื่อแหกพิษออกและปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายออกจากร่างกายพิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็ง ต.หนองแหย่ง อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ เป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของคนล้านนา และรวบรวมปั๊บสาตำรายาพื้นบ้าน และวัตถุต่างๆ ที่ใช้หมอเมืองใช้รักษาโรค โดยเฉพาะมีดแหกพิษ ซึ่งมีหลากหลายทั้งขนาดและวัสดุที่ใช้ทำมีดแหก ท่านพระครูโกวิท ธรรมโสภณ เจ้าอาวาสวัดร้องเม็ง อธิบายถึงคติความเชื่อเรื่องการรักษาโรคของคนเมืองในอดีตว่า
“เมื่อก่อนชุมชนตำบลหนองแหย่งและใกล้เคียง ยังไม่มีสถานีอนามัย โรงพยาบาลก็อยู่ในเมือง การคมนาคมก็ลำบาก ยานพาหนะก็ไม่มี ยามเกิดโรคภัยไข้เจ็บ ก็พึ่งหมอเมือง ที่รักษาด้วยยาสมุนไพร และเขี้ยวงา ตามความเชื่อของคนชนบทในยามนั้น โรคบางอย่างเช่น ปวดเจ็บตามร่างกาย ปวดแสบปวดร้อน แบบไม่ทราบสาเหตุ เขาก็ไปเชิญหมอเมืองมารักษา โดยสิ่งที่นำมารักษาคนไข้ประเภทนี้ เช่น เขี้ยวเสือ ไขนช้างที่เป็นงาช้างตัวเมีย เขาควายที่ตายฟ้าผ่า มีดหมอด้ามงาฝักเงิน หมอเมืองจะเอาวัตถุพวกนี้มา “แหก” หมายถึงเอามารีด เช็ดถูตามร่างกาย และตามที่เจ็บปวด”
ท่านพระครูอธิบายลักษณะของมีดแหกต่างๆ ที่ทางวัดได้รับการบริจาคจากอดีตหมอเมืองหรือทายาท เช่น เขี้ยวเสือขนาดใหญ่ ยาวกว่า 10 ซม. และเขี้ยวเสือขนาดกลาง ที่ผ่านการใช้งานมาหลายสิบปี มีดแหกที่ทำจากเขาควายที่ตายเพราะถูกฟ้าผ่า โดยนำเอาเขาควายที่ถูกฟ้าผ่าตายไปเลื่อย ผ่าตัดตกแต่งให้เล็กลง เป็นมีดเล็กๆ ยาวประมาณเท่ากับนิ้วชี้ เพื่อให้พอเหมาะกับการใช้งาน วัตถุเหล่านี้ส่วนใหญ่ได้รับบริจาคมาจากนายอ้าย ศรีวิชัย อายุ 85 ปี อดีตหมอแหก ในชุมชนหนองแหย่ง และอดีตหมอเมืองท่านอื่นๆ ในหมู่บ้านใกล้เคียง
หากสอบถามคนในชุมชนหนองแหย่งที่เป็นผู้สูงวัย ส่วนใหญ่ล้วนมีประสบการณ์กับการรักษาโรคโดยหมอเมืองมาแล้วทั้งนั้น เพราะเป็นที่พึ่งของชาวบ้านในอดีต ที่การแพทย์แผนปัจจุบันยังไม่ได้แพร่หลาย และปัจจุบันหมอเมืองก็ยังเป็นทางเลือกของผู้คนอยู่ด้วยเช่นกัน
คุณแม่ไว ประสพ อายุ 78 ปี แม่อุ๊ยในชุมชนหนองแหย่ง เล่าถึงประสบการณ์การติดโรคตุ่มตาควายจนเกือบเอาชีวิตไม่รอด เมื่อครั้งสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา ท่านเล่าว่าตอนนั้นยังเด็กและติดโรคตุ่มตาควายจากพี่ชาย ที่เป็นทหารเมื่อครั้งที่กลับมารักษาตัวที่บ้าน และยังมีคนในหมู่บ้านติดเชื้อโรคตุ่มตาควายกันอีกหลายคน โรคตุ่มตาควายเป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกตามลักษณะของตุ่มแผลสีแดงที่ขึ้นตามร่างกาย ลักษณะเป็นตุ่มขนาดใหญ่ราว1-2 นิ้ว เท่ากับลูกตาควาย
เมื่อแม่อุ๊ยติดโรคตุ่มตาควาย ตอนแรกรักษากับหมอเมือง ซึ่งเป็นวิถีปกติของคนชนบทที่ห่างไกลโรงพยาบาล โดยครั้งนั้นหมอเมืองมาเป่าคาถา และใช้สมุนไพรที่เรียกว่าบัวบุกคล้ายใบบอน นำมาซอยแล้วคั่วในหม้อดิน จากนั้นบดและนำมาโปะที่แผล และแนะนำว่าในตอนเช้าให้นำไม้ฝางมาต้ม ใช้เป็นน้ำล้างแผล และให้ทำให้ทุกวันจนกว่าจะหาย เมื่อถามถึงสรรพคุณและการสัมฤทธิ์ แม่อุ๊ยก็ว่า ใช้ยาสมุนไพรรักษาอยู่นานแต่ก็ยังไม่หายขาด ครอบครัวจึงเชิญหมอแผนปัจจุบันมารักษา ใช้เวลากว่า 1 ปีจนหายขาด และยังฝากแผลเป็นขนาดใหญ่บริเวณข้อเท้า ลึกเกือบถึงกระดูกจนถึงทุกวันนี้
ท่านพระครูโกวิท ธรรมโสภณ ยังได้ย้อนความทรงจำเล่าถึงโรคตาแดง โรคระบาดที่ท่านประสบมากับตัวเองเมื่อครั้งยังเป็นเด็กว่า ในตอนนั้นราวปี 2504 ท่านอายุได้ 10 ขวบ โรคตาแดง โรคเจ็บตา เกิดบ่อยมากในชุมชน คุณตาของท่านได้สอนคาถา “เป่าตา” เพื่อใช้รักษาโรคตาแดง ท่านยังจำคาถานี้ไม่ลืมและยังท่องได้มาจนบัดนี้ ความว่า
“วะโร วะรัญญู วะระโท วะราหะโร อนุตตะโร ธัมมะวะรัง”
คุณตาของท่าน ยังสอนถึงแนวปฏิบัติในการรักษาให้อีกด้วยว่า ถ้าคนไข้เป็นผู้ชาย ให้เป่าคาถาทางท้ายทอย 3 ครั้ง หากคนไข้เป็นผู้หญิงห้ามเป่าท้ายทอยเขาเด็ดขาด ให้เอาคณโทมาใส่น้ำ อย่าให้เต็มแล้วเสกเป่าคาถา 3 ครั้ง เสร็จแล้วให้ใช้ใบตองกล้วยม้วนทำเป็นกระสวยปิดปากคณโท แล้วให้คนป่วยนำไปล้างหน้าและดื่มกิน หายแล
ท่านพระครูให้แง่คิดเสริมว่า สาเหตุคุณตาสอนว่า ไม่ให้เป่าบริเวณท้ายทอยผู้หญิง เพราะคิดว่าดูแล้วไม่น่าเป็นกริยาที่เหมาะสม
เรื่องราวนี้สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะพิเศษในภูมิรู้ของชาวบ้าน ที่มิได้เป็นผู้รู้แต่เพียงอย่างเดียว แต่มักจะมาพร้อมกับมุมมองและความคิดที่อยู่บนพื้นฐานของศีลธรรมจริยธรรมด้วย
ผู้เขียน: ปณิตา สระวาสี
ข้อมูลจาก : สำรวจภาคสนามวันที่ 17 พฤษภาคม 2555
สัมภาษณ์
พระครูโกวิท ธรรมโสภณ วันที่ 17 พฤษภาคม 2555
นางไว ประสบ วันที่ 17 พฤษภาคม 2555
หมายเหตุ: ตีพิมพ์ในหนังสือ ภูมิรู้สู้วิกฤต. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร,2555.
รีวิวของพิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็ง
จากก้าวแรกที่หันมาสนใจอนุรักษ์ของเก่าจำพวกเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันแล้วนำเอาของชิ้นแรกคือ ปิมดินกี่ มาไว้ที่โต๊ะหน้ากุฏิ พร้อมกับเห็นข้าวของเก่าๆ อาทิ ถ้วย จาน ชาม กระเบื้อง ก็นำจัดวางไว้ รวมประมาณ 100 ชิ้น ศรัทธาชาวบ้านใกล้เคียงที่มาพบเห็นเข้าก็เริ่มสนใจสอบถามที่มาที่ไป และวัตถุประสงค์ของการเก็บรักษา สิ่งของบางอย่างคนรุ่นใหม่มาเห็นแล้วก็ยังสงสัยไม่ทราบว่าเป็นอะไรกันแน่ ก็ถามถึงประโยชน์ที่ใช้ พระครูก็จะอธิบายให้ฟัง จนกระทั่งศรัทธาประชาชนทราบวัตถุประสงค์ก็พากันนำวัตถุโบราณ สิ่งของเครื่องใช้เก่าๆ พระพุทธรูปเก่า มาถวาย นับรวมได้ประมาณ 1,000 ชิ้น จนคณะกรรมการวัดเริ่มเห็นว่าสถานที่เก็บคับแคบ จึงได้ใส่ตู้เก็บเข้าไว้ในกุฏิถึง 3 ห้อง ในที่สุดพระครูโสภณธรรมโกวิทจึงดำริให้ก่อสร้างอาคารหลังปัจจุบันขึ้น เพื่อจัดวัตถุสิ่งของไว้ให้เป็นสัดส่วน เมื่อเรื่องนี้ทราบไปถึงศรัทธาญาติโยม ต่างหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และต่างจังหวัด ก็นำของมาบริจาคอยู่เนือง ๆ
ปัจจุบันมีโบราณวัตถุและศิลปวัตถุพื้นบ้านกว่า 4,000 ชิ้น ซึ่งล้วนได้มาจากการบริจาคหรือถวายให้กับวัด เมื่อรับบริจาคเข้ามาแล้วทางวัดก็ได้จัดทำบัญชีไว้ เก็บสิ่งของต่างๆ ไว้ เมื่อมีศรัทธามาเยี่ยมชมมากขึ้น ได้พบเห็นว่าวัดเก็บรักษาของเก่าแก่โบราณเอาไว้ดี ก็มีความวางไว้ใจถวายสิ่งของให้ตลอดเวลา ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์มีอาคารจัดแสดง 3 หลัง แต่เปิดให้เข้าชมได้เพียง 2 หลัง ส่วนอาคารหลังที่สามยังไม่ได้จัดหมวดหมู่
หลังแรก เป็นอาคารคอนกรีตชั้นเดียว ของที่จัดแสดงได้แก่ เอกสารราชการที่น่าสนใจเช่น ใบขับขี่ล่อ ใบทะเบียนสมรส ใบสัญญาซื้อขายทาส พ.ศ.2431 หวยรัฐบาลใบละ 1 บาท เขียนว่า "รัถบาน" หนังสือพิมพ์สมัยสงครามโลก ปี พ.ศ.2488 ใบมรณบัตรปี พ.ศ.2495 ระบุว่า "ตายเพราะอายุมาก" ใบรับเงินของราชการ บริจาคเงินเมื่อปี พ.ศ.2485 หีบพระธรรม พระพุทธรูปไม้แกะสลักศิลปะพม่า เครื่องเขิน รองเท้าก็อบแก๊บ(รองเท้าแตะที่ทำด้วยไม้) อายุ 100 กว่าปี กระดิ่งห้อยคอวัวควาย ภาชนะดินเผา ถ้วยกระเบื้อง ชามตราไก่ ตะเกียง วิทยุ นาฬิกา เครื่องพิมพ์ดีด ตั่ง หมวกกะโล่ เครื่องจักสาน เป็นต้น ส่วนผนังทั้งสี่ด้านเป็นภาพเขียนสีเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวล้านนาในอดีต เช่น ภาพแอ่วสาว-ตำข้าว ภาพแอ่วสาวปั่นฝ้าย ภาพหมู่บ้านชนบทในอดีต ภาพงานหัตถกรรมพื้นบ้าน ขบวนล้อเกวียน การคมนาคมในอดีต เป็นต้น ภาพเหล่านี้เกิดจากการรับรู้และจินตนาการของท่านเจ้าอาวาส แล้วถ่ายทอดให้นายเจริญ มานิตย์ ช่างชาวอำเภอสันทราย วาดออกมา
ส่วนอาคารหลังที่สอง เป็นอาคารชั้นเดียว จัดเก็บเครื่องชิ้นส่วนไม้แกะสลัก อาทิ เพดานพระประธานในโบสถ์ บานประตูไม้ เปิงมาง(ที่แขวนกลองใบเล็กเวลาบรรเลงดนตรี) ตู้ลิกไตซึ่งเป็นตู้พระธรรมศิลปะไทใหญ่ เป็นต้น โดยข้าวของต่าง ๆ ในอาคารหลังนี้ได้รับบริจาคมาทั้งหมดจากผู้สะสมรายหนึ่งเมื่อปี 2543
ข้อมูลจาก:
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
ตามไปดูของเก่า เอามาเล่าใหม่ใน “พิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็ง”
พิพิธภัณฑ์ วัดร้องเม็ง เกิดขึ้นจาก พระครูโกวิทธรรมโสภณ เจ้าอาวาสวัดร้องเม็ง ที่เล็งเห็นคุณค่าของเก่าโบราณ ซึ่งหาได้ยากตั้งแต่เป็นสามเณร โบราณวัตถุชิ้นแรกสุดของพิพิธภัณฑ์ คือแบบพิมพ์ปั้นอิฐรูปโค้งทำจากไม้สัก โดยได้รับจากที่บ้านของโยมแม่ ตกทอดมาจากบรรพบุรุษอายุกว่า 100 ปี“พิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็ง”แหล่งรวบรวมเครื่องใช้โบราณของคนล้านนา
ในระยะแรกข้าวของที่เก็บไว้ยังมีอยู่ไม่มาก จนชาวบ้านที่ทราบข่าวให้ความสนใจเข้ามาชมและบางส่วนก็ได้รับการบริจาคจากชาวบ้านนั่นเอง เมื่อจำนวนของมีมากขึ้นสถานเก็บรักษาก็ไม่เพียงพอ ท่านพระครูโกวิทธรรมโสภณจึงได้เริ่มสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ซึ่งเป็นหลังในปัจจุบันนี้ขึ้น เป็นอาคารคอนกรีตชั้นเดียวทรงไทยประยุกต์ ปัจจุบันภายในพิพิธภัณฑ์มีข้างของเครื่องใช้สมัยก่อนจัดแสดงประมาณกว่า 3,000 ชิ้นแนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
พระพุทธรูป วัด เอกสารราชการ ก๊อบแก๊บ ใบขับขี่เกวียน
ศูนย์มรดกเมืองเทศบาลเชียงใหม่
จ. เชียงใหม่
พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณสบันงา
จ. เชียงใหม่
ห้องภูมิปัญญาท้องถิ่น ร.ร.บ้านแม่ตะมาน
จ. เชียงใหม่