วัตถุที่จัดแสดง มาจากการศึกษาขุดค้นภาคสนามของอาจารย์และนักศึกษา ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในพื้นที่ต่างๆ พิพิธภัณฑ์ตั้งขึ้นเพื่อการศึกษาในคณะ เครื่องปั้นดินเผาที่จัดแสดงมาจากแหล่งเตาในล้านนา เช่น แหล่งเตาสันกำแพง แหล่งเตาเวียงกาหลง แหล่งเตาบ่อสวก และเครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งอื่น ๆ นอกจากนี้ยังจัดแสดงศิลาจารึกเก่าแก่ที่ได้จากการศึกษาสำรวจเวียงมโน และศิลปวัตถุอื่น ๆ ที่พบจากที่ต่าง ๆ เช่น ตุ๊กตาดินเผารูปสัตว์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของพิพิธภัณฑ์โครงการศึกษาเครื่องปั้นดินเผา ภาควิชาประวัติศาสตร์
ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการเรียนการสอนในสาขาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและโบราณคดี และพานักศึกษาออกศึกษาภาคสนาม ศึกษาขุดค้น ในพื้นที่ต่างๆ พร้อมกับได้โบราณวัตถุจากการสำรวจและจากการบริจาคของประชาชนพื่อการศึกษาอีกจำนวนมาก จึงได้จัดทำห้องจัดเก็บและจัดแสดงถาวร เพื่อสะดวกในการศึกษาค้นคว้า ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2525 เป็นต้นมา ภายในห้องจัดแสดง ออกแบบตู้เพื่อจัดแสดงเครื่องปั้นดินเผาโบราณจำนวน 13 ตู้ เครื่องปั้นดินเผาที่จัดแสดงส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งเตาในล้านนา อาทิ แหล่งเตาสันกำแพง แหล่งเตาเวียงกาหลง แหล่งเตาบ่อสวก แหล่งเตาเมืองพาน แหล่งเตาวังเหนือแหล่งเตาสันทราย และเครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งอื่น ๆ ได้แก่แหล่งเตาสุโขทัย แหล่งเตาศรีสัชนาลัย แหล่งเตาบ้านกรวดบุรีรัมย์ แหล่งเตาของพม่า เขมร เวียดนาม นับเป็นแหล่งสะสมศิลปวัตถุเพื่อการศึกษาค้นคว้าที่หลากหลาย ครบถ้วน และมีความต่อเนื่องที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่งของเชียงใหม่ นอกจากนี้ยังจัดแสดงศิลาจารึกเก่าแก่ที่ได้จากการศึกษาสำรวจเวียงมโน และศิลปะวัตถุอื่นๆ ที่พบจากที่ต่างๆ เช่น ตุ๊กตาดินเผารูปสัตว์ ลวดลายปูนปั้นประดับตกแต่ง สถาปัตยกรรมและโบราณวัตถุที่ได้จากการขุดฐานรากอาคาร ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่อีกด้วยข้อมูลจาก : บุบผา จิระพงษ์. สถานภาพของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่,2544. หน้า 90.
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
ประวัติศาสตร์และโบราณคดี เครื่องปั้นดินเผา แหล่งเตาเผา ลายปูนปั้น
พิพิธภัณฑ์หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง
จ. เชียงใหม่
พิพิธภัณฑ์วัดหลวงฮอด
จ. เชียงใหม่
พิพิธภัณฑ์บ้านบานเย็น
จ. เชียงใหม่