วัดบวกค้าง เดิมชื่อวัดบวกค่าง สร้างขึ้นสมัยพระเจ้ากือนา ได้สร้างวัดตรงที่ฝูงค่างป่ามาขุดบวก (สระน้ำ) ไว้ดังปรากฏในตำนาน จึงได้ชื่อว่า วัดบวกค่าง (ภายหลังเพี้ยนเป็นบวกค้าง) หลังจากที่พระเจ้ากาวีละกอบกู้เอกราชของเมืองเชียงใหม่คืนจากพม่า ได้ยกทัพขึ้นไปกวาดต้อนผู้คนจากเมืองยองมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เชียงใหม่ ณ บ้านบวกค้าง ได้อาราธนาครูบาเจ้าญาณสิริ จากวัดบ้านแซมหลวง เมืองยอง มาเป็นเจ้าอาวาส และบูรณะวัดขึ้นใหม่ และได้สร้างพระนอนหล้า วิหารหลังคาแฝด พระอุโบสถ หอพระไตร และถาวรวัตถุต่าง ๆ ซึ่งผู้คนในบริเวณชุมชนแถบนี้ส่วนใหญ่เป็นชาวยอง จึงได้ชื่อว่าเป็นชุมชนคนยองมาถึงปัจจุบัน
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของพิพิธภัณฑ์วัดบวกค้าง
บ้านบวกค้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรกว่าครึ่งมีเชื้อสายยอง ที่มีภาษาพูดและวัฒนธรรมประเพณีบางอย่างเป็นเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง วัดบวกค้างนำโดยพระอธิการถวิล จน.ทส.โรและพระจตุพล พรหมชานนท์ จึงต้องการเก็บรักษาและอนุรัก์ศิลปวัตถุของชาวยองเอาไว้เพื่อให้ลูกหลานได้ดูต่อไป วัตถุที่จัดแสดงได้แก่ หีบธรรม ดาบเจ้าเมืองยองนั้นเจ้าสุริยวงศานำติดตัวมาจากเมืองยอง พระพุทธรูปไม้เก่าขนาดเล็ก ผ้าห่อคัมภีร์ ผ้ายันต์ที่เขียนชะตาเกิดเหมือนสูติบัตร ภาพเจ้าเมืองยองภายในวิหารหลังปัจจุบัน กู่คำ มณฑปพระเจ้า สร้างในสมัยพระเจ้ากือนา พระเจ้าขาวสร้างด้วยดินเหนียว เครื่องบวชพระเจ้าที่มีลวดลายแกะสลักสวยงามมาก นอกจากนั้นยังมีข้าวของเครื่องใช้ในการทำบุญอื่นๆ อีก เช่น ม่าน ตุง ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้า เป็นต้นข้อมูลจาก : บุบผา จิระพงษ์. สถานภาพของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะ มนุษยศาสตร์ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่,2544. หน้า 248.
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
วัด ชาติพันธุ์ ยอง
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมชุมชนบ้านแม่โป่ง
จ. เชียงใหม่
พิพิธภัณฑ์หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง
จ. เชียงใหม่
ศูนย์สร้างสรรค์เมืองเชียงใหม่ แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน
จ. เชียงใหม่