พิพิธภัณฑ์หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง ริเริ่มศิษยานุศิษย์ของหลวงปู่แหวน ที่ได้บริจาคค่าก่อสร้าง โดยตั้งใจสร้างเป็นมณฑปไว้อัฐบริขารของหลวงปู่แหวน รวมทั้งรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งของท่าน ส่วนอื่นๆของอาคารได้ใช้เงินของวัดสร้างขึ้นจนสำเร็จสมบูรณ์ เปิดให้ประชาชนเข้าชมได้ในปี พ.ศ.2529 เป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่แหวน สุจิณโณ อาคารพิพิธภัณฑ์เป็นศาลารูปดาวสี่แฉก หลังคาซ้อนทรงชัน ปูพื้นด้วยหินอ่อนสีเทาทั้งหลัง ภายในผนังส่วนคอสองแผงใหญ่ทั้ง 4 ด้าน ประดับด้วยภาพนูนต่ำดินเผา เล่าเรื่องราวของหลวงปู่แหวน เช่น ตอนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถเสด็จเยี่ยมหลวงปู่แหวน การรักษาหลวงปู่แหวนโดยหลวงตาหนู เป็นต้น ศาลานี้มีผนังและซุ้มทางเข้า 4 ซุ้ม แต่ละซุ้มทำเป็นตู้กระจกบานเลื่อน ภายในจัดแสดงอัฐบริขารที่หลวงปู่เคยใช้สอยเป็นประจำ เช่น ย่าม จีวร หม้อกรองน้ำ ซุ้มกระจกด้านทิศเหนือ ประดิษฐานรูปปั้นรูปเหมือนหลวงปู่แหวนในท่านั่งสมาธิ ซุ้มกระจกด้านตะวันออก จัดแสดงชามศิลาดลเคลือบเขียวไข่กาใบสมบูรณ์ และกระปุกทรงคนโทเคลือบสีน้ำตาลเข้มเกือบดำอีกใบ ซึ่งหลวงตาหนูเคยเล่าว่า ขุดได้เมื่อกำลังขุดฐานรากของอาคาร ภายในวัดดอยแม่ปั๋งนี่เอง ตรงกลางอาคารสร้างมณฑปหินอ่อน ทรงคล้ายโกฏิ เป็นที่ประดิษฐานอัฐิของหลวงปู่แหวน จัดวางแท่นบูชาพุ่มพานดอกไม้โดยรอบ
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของพิพิธภัณฑ์หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง
ดร.อมร มหพัฒนางกูร ลูกศิษย์ของหลวงปู่แหวน เป็นผู้บริจาคค่าก่อสร้างฐานรากอาคารพิพิธภัณฑ์รวมทั้งหินอ่อนปูพื้นและหินอ่อนมณฑป โดยตั้งใจสร้างเป็นมณฑปไว้อัฐบริขารของหลวงปู่แหวน รวมทั้งรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งของท่าน ส่วนอื่นๆของอาคารได้ใช้เงินของวัดที่หลวงตาหนู(พระครูวิจิตตวิโสธนาจารย์) เป็นผู้ดูแลจัดสร้างขึ้นจนสำเร็จสมบูรณ์ เปิดให้ประชาชนเข้าชมได้ในปี พ.ศ.2529 เป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่แหวน สุจิณโณ อาคารพิพิธภัณฑ์เป็นศาลารูปดาวสี่แฉก หลังคาซ้อนทรงชัน ปูพื้นด้วยหินอ่อนสีเทาทั้งหลัง ภายในผนังส่วนคอสองแผงใหญ่ทั้ง 4 ด้าน ประดับด้วยภาพนูนต่ำดินเผา เล่าเรื่องราวของหลวงปู่แหวน เช่น ตอนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถเสด็จเยี่ยมหลวงปู่แหวน การรักษาหลวงปู่แหวนโดยหลวงตาหนู เป็นต้นศาลานี้มีผนังและซุ้มทางเข้า 4 ซุ้ม แต่ละซุ้มทำเป็นตู้กระจกบานเลื่อน ภายในจัดแสดงอัฐบริขารที่หลวงปู่เคยใช้สอยเป็นประจำ เช่น ย่าม จีวร หม้อกรองน้ำ ซุ้มกระจกด้านทิศเหนือ ประดิษฐานรูปปั้นรูปเหมือนหลวงปู่แหวนในท่านั่งสมาธิ ซุ้มกระจกด้านตะวันออก จัดแสดงชามศิลาดลเคลือบเขียวไข่กาใบสมบูรณ์ และกระปุกทรงคนโทเคลือบสีน้ำตาลเข้มเกือบดำอีกใบ ซึ่งหลวงตาหนูเคยเล่าว่า ขุดได้เมื่อกำลังขุดฐานรากของอาคาร ภายในวัดดอยแม่ปั๋งนี่เอง ตรงกลางอาคารสร้างมณฑปหินอ่อน ทรงคล้ายโกฏิ เป็นที่ประดิษฐานอัฐิของหลวงปู่แหวน จัดวางแท่นบูชาพุ่มพานดอกไม้โดยรอบ
ข้อมูลจาก : บุบผา จิระพงษ์. สถานภาพของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะ มนุษยศาสตร์ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่,2544. หน้า 282.
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
บุคคลสำคัญ วัด หุ่นขี้ผึ้ง หลวงปู่แหวน อัฐบริขาร
ศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชนป่าแดด (วัดวังสิงห์คำ)
จ. เชียงใหม่
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ล้านนา ร.ร.บ้านสบเปิง
จ. เชียงใหม่
เฮือนเจียงลือ
จ. เชียงใหม่