ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอสันป่าตอง ร.ร.สันป่าตองวิทยาคม


ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอสันป่าตอง ตั้งอยู่ภายในโรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม ก่อตั้งเมื่อปี 2531 จัดแสดงวัตถุโบราณ เช่น เครื่องปั้นดินเผา น้ำต้น คนโท และวัตถุทางวัฒนธรรมที่ทำด้วยไม้และเครื่องจักสาน ได้แก่ อุปกรณ์จับสัตว์ ข้อง แซะ ไซ ตะกร้า หมวก เครื่องมือที่ใช้ทอผ้า กงปั่นฝ้าย อุปกรณ์ทำนา เช่น คราด ไถ โดยวัตถุที่น่าสนใจเช่น ใบสูติบัตรที่ทำด้วยไม้ไผ่ จารึกวันเดือนปีเกิด เรียกว่า "ไม้จ๊ะต๋า" ครกบดยาที่ทำด้วยไม้ และพับสาใบลาน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การบรรยายให้ความรู้แก่นักเรียนและชุมชน การจัดงานวันอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมร่วมกับสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ และยังจัดให้มีการเรียนการสอนภาษาล้านนาในโรงเรียน และมีการสืบค้นภาษาดั้งเดิมของกลุ่มชนต่างๆ เช่น เขิน ยอง ลัวะ เงี้ยว และชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ในอำเภอสันป่าตอง

ที่อยู่:
โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม ต.ยุหว่า อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ 50120
โทรศัพท์:
053-311-360
วันและเวลาทำการ:
เปิดจันทร์ - ศุกร์ 8.30 - 16.30 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2531
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวของศูนย์วัฒนธรรมอำเภอสันป่าตอง ร.ร.สันป่าตองวิทยาคม

ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอสันป่าตอง โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม ก่อตั้งขึ้นในปี 2531 ใช้มุมหนึ่งในห้องพักอาจารย์หมวดสังคมเป็นที่จัดแสดง โดยจัดทำชั้นไม้วางของแบบง่ายๆ และมีตู้กระจกปิดผนัง จัดแสดงวัตถุที่แตกเสียหายง่าย อาทิ เครื่องปั้นดินเผา น้ำต้น คนโท ส่วนวัตถุทางวัฒนธรรมที่ทำด้วยไม้และเครื่องจักสาน ได้แก่ อุปกรณ์จับสัตว์ ข้อง แซะ ไซ ตะกร้า หมวก เครื่องมือที่ใช้ทอผ้า กงปั่นฝ้าย อุปกรณ์ทำนา เช่นคราด ไถ จัดวางบนชั้นไม้ วัตถุที่น่าสนใจเช่น ใบสูติบัตรที่ทำด้วยไม้ไผ่ จารึกวันเดือนปีเกิด เรียกว่า "ไม้จ๊ะต๋า" ครกบดยา ทำด้วยไม้ นอกจากนั้นก็มีพับสาใบลานอยู่อีกจำนวนหนึ่ง กิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดได้แก่ การบรรยายให้ความรู้แก่นักเรียนและชุมชน มีการจัดงานวันอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมร่วมกับสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่และศูนย์วัฒนธรรมอำเภอสันป่าตอง จัดให้มีการเรียนการสอนภาษาล้านนาในโรงเรียน และมีการสืบค้นภาษาดั้งเดิมของกลุ่มชนต่างๆ เช่น เขิน ยอง ลัวะ เงี้ยว และชนกลุ่มน้อยอื่นๆในสันป่าตอง

ข้อมูลจาก : บุบผา จิระพงษ์. สถานภาพของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะ มนุษยศาสตร์ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่,2544. หน้า 207.
ชื่อผู้แต่ง:
-