ศูนย์มรดกเมืองเทศบาลเชียงใหม่


เดิมชื่อ "หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่" โดยโครงการจัดตั้งหอศิลปวัฒนธรรมเชียงใหม่ เริ่มขึ้นเมื่อราว พ.ศ.2534 ในครั้งนั้นมีการกำหนดพื้นที่เพื่อการจัดสร้างหอศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งระดมนักวิชาการท้องถิ่นทำการศึกษาในประเด็นต่างๆ ในพ.ศ. 2540 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้จัดสรรงบประมาณเพื่อการจัดตั้ง และเงินกู้รัฐบาลญี่ปุ่นในโครงการ JBIC เพื่อการบูรณะอาคารศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่หลังเดิมที่สร้างตั้งแต่ พ.ศ.2467 เปิดให้เข้าชมเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ.2545 กระทั่งปัจจุบันได้มีการปรับปรุงการจัดแสดงและเปลี่ยนชื่อเป็น "ศูนย์มรดกเมืองเชียงใหม่"

ที่อยู่:
ศาลากลางหลังเก่า ถ.พระปกเกล้า ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
โทรศัพท์:
0-5321-7793, 0-5321-9833
วันและเวลาทำการ:
เปิดวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา 08.30 - 16.30 น. ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ (ปิดทำการวันจันทร์-อังคาร และวันหยุดเทศกาลสงกรานต์)
ค่าเข้าชม:
คนไทย เด็ก 10 บาท ผู้ใหญ่ 20 บาท, ชาวต่างประเทศ เด็ก 40 บาทผู้ใหญ่ 90 บาท
เว็บไซต์:
ปีที่ก่อตั้ง:
2545

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ ความภาคภูมิใจของล้านนา

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 30-10-2550

ที่มา: คมชัดลึก

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

แอ่วเวียงพิงค์ ชม "หอศิลป์" เชียงใหม่

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 19-05-2549

ที่มา: ผู้จัดการรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่

ชื่อผู้แต่ง: กฤช เหลือลมัย | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 38 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2555;vol. 38 No.1 January-March 2012

ที่มา: วารสารเมืองโบราณ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 10 มีนาคม 2557


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของศูนย์มรดกเมืองเทศบาลนครเชียงใหม่

โครงการจัดตั้งหอศิลปวัฒนธรรมเชียงใหม่ เริ่มขึ้นเมื่อราว พ.ศ.2534 ในช่วงที่นายชัยยา พูนศิริวงศ์ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ในครั้งนั้นมีการกำหนดพื้นที่เพื่อการจัดสร้างหอศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งระดมนักวิชาการท้องถิ่นทำการศึกษาในประเด็นต่างๆ หลังจากนั้นใน พ.ศ. 2536 จึงได้รับอนุมัติโครงการให้ดำเนินการด้วยการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการและนำเสนอการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสนับสนุนงบประมาณ
 
ในพ.ศ. 2540 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้จัดสรรงบประมาณเพื่อการจัดตั้ง หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่เป็นงบประมาณของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและเงินกู้รัฐบาลญี่ปุ่นในโครงการ JBIC เพื่อการบูรณะอาคารศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่หลังเดิม ซึ่งผลการบูรณะอาคารศาลากลางดังกล่าวได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่นประเภทที่ทำการอาคารสาธารณะจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อ พ.ศ. 2542 และจัดแสดงนิทรรศการถาวรภายในอาคาร การดำเนินงานของโครงการ ใช้เวลา 4 ปี จึงแล้วเสร็จ และเปิดให้เข้าชม เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ.2545
 
หอศิลปวัฒนธรรมเชียงใหม่ เป็นอาคารเก่าแก่ที่มีลักษณะสถาปัตยกรรมอันงดงามสร้างเมื่อปี พ.ศ.2467 เคยใช้เป็นหอคำ ศาลาว่าการรัฐบาลมณฑลพายัพ และศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ อาคารตั้งอยู่บริเวณสะดือเมืองในอดีต เคยเป็นที่ตั้งของ เสาอินทขิล หรือเสาหลักเมืองก่อนที่จะย้ายไปไว้ที่วัดเจดีย์หลวง เดิมเป็นมรดกตกทอดกับมาตั้งแต่สมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ถึงเจ้าเทพไกรสรพระธิดา ซึ่งเสกสมรสกับเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่คนที่ 7 ผู้ซึ่งใช้คุ้มกลางเวียงเป็นศูนย์กลางการบริหารนครเชียงใหม่ เมื่อเจ้าอินทวิชยานนท์ถึงแก่พิราลัยจึงตกเป็นของเจ้าดารารัศมี พระธิดา ต่อมาเมื่อจัดการปฏิรูปการปกครองตามระบบเทศาภิบาลเจ้าดารารัศมีจึงให้ใช้คุ้มกลางเวียงแห่งนี้เป็น "ศาลารัฐบาล" หรือที่ทำการรัฐบาล
 
ต่อมาเมื่อจังหวัดเชียงใหม่ ได้เริ่มใช้ศาลากลางหลังใหม่จึงย้ายหน่วยงานออกหมดในปี พ.ศ.2539 
ภายในหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ได้จัดแบ่งพื้นที่อาคารด้านหน้าเป็นส่วนจัดแสดงนิทรรศการถาวร อาคารด้านหลังเป็นสถานที่จัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม นิทรรศการหมุนเวียน ห้องจำหน่ายของที่ระลึก ห้องนิทรรศการศิลปกรรมล้านนา ห้องสารสนเทศและห้องภัณฑารักษ์
 
ห้องนิทรรศการถาวร 15 ห้อง จัดแบ่งเนื้อหาสาระนับตั้งแต่เวลายุคก่อนประวัติศาสตร์ ยุคสร้างบ้านแปงเมือง ล่วงเลยผ่านวันเวลาอันรุ่งเรืองและเสื่อมถอยเปลี่ยนแปลงจวบจนเป็นเมืองเชียงใหม่ในปัจจุบัน ระบบการปกครอง วิถีชีวิต ภูมิปัญญาและเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอันน่าภูมิใจของชาวเชียงใหม่ นำเสนอด้วยการแสดงผสานสื่ออันทันสมัย ทั้งสไลด์ วีดิทัศน์ ซอฟแวร์ หุ่นจำลอง บอร์ดกราฟฟิค และภาพประกอบคำบรรยาย เพื่อให้หการชมนิทรรศการได้ทั้งความรู้และความตื่นตาตื่นใจ
 
หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่เป็นหน่วยงานราชการในสังกัดเทศบาลนครเชียงใหม่ บริหารจัดการโดยคณะกรรมการที่ประกอบด้วย ประธาน คือ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ ส่วนกรรมการบริหาร ได้แก่ กรรมการในส่วนของเทศบาลนครเชียงใหม่และกรรมการในส่วนของจังหวัดเชียงใหม่


ต่อมาในปี 2567 ได้มีการปรับปรุงหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ และเปลี่ยนชื่อเป็น "ศูนย์มรดกเมืองเชียงใหม่"

ศูนย์มรดกเมืองเชียงใหม่ เป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับของเทศบาลนครเชียงใหม่ ประกอบด้วย หอกลางเวียง (หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่เดิม) หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ และหอพื้นถิ่นล้านนา(พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนาเดิม) ตั้งอยู่ในย่านใจกลางเมืองเก่าเชียงใหม่หรือพื้นที่สะดือเมืองตามความเชื่อในอดีต จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ในบริเวณพื้นที่ย่านใจกลางเมืองเก่าเชียงใหม่ สื่อสารให้เห็นถึงคุณค่าความเป็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของชาวล้านนาให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้รับรู้อย่างลึกซึ้ง ถึงแก่นแท้ของเมือง นอกจากนี้ยังได้ขยายความร่วมมือออกไปในบริบทพื้นที่เมืองเก่าภายใต้การทำงานร่วมกับภาคีต่างๆ ในนามของโครงการฟื้นบ้าน ย่าน เวียงเชียงใหม่ รวมทั้งการพัฒนาพื้นที่ห้องสมุดฟื้นบ้าน ย่าน เวียงเชียงใหม่ให้เป็นพื้นที่สาธารณะที่ประชาชนเข้ามาใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ ซึ่งก็ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี และปัจจุบันคือศูนย์ฟื้นบ้าน ย่าน เวียงเชียงใหม่ โดยมีภารกิจในการเป็นศูนย์กลางข้อมูลและความร่วมมือของเมือง

หอกลางเวียง (หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่เดิม)

ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่สะดือเมืองตามความเชื่อในอดีต อาคารที่ปรากฏในปัจจุบันสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นศาลาว่าการรัฐบาลมณฑลพายัพ ต่อมาใช้เป็นศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อสถานที่คับแคบจึงย้ายไปอยู่ศูนย์ราชการที่ถนนโชตนา จนกระทั่ง พ.ศ.2540 เทศบาลนครเชียงใหม่จึงเข้ามาปรับปรุงอาคารเพื่อสร้างเป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ ปัจจุบันได้ทำการเปลี่ยนชื่อเป็นหอกลางเวียง

มีการต่อเติมอาคารปัจจุบันรวมสามครั้ง อาคารหลักส่วนด้านหน้าสร้างในปี พ.ศ.2462 มีลักษณะหลังคาทรงปั้นหยา เปิดจั่วที่มุขด้านหน้าและหลัง โครงสร้างทั่วไปเป็นแบบผนังรับน้ำหนัก (Wall bearing) ส่วนอาคารด้านหลังสร้างขึ้นหลังจากอาคารแรกประมาณ 30 ปี และ 50 ปีตามลำดับ ในบริเวณที่ตั้งของหอกลางเวียงยังปรากฏเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมซึ่งมีลักษณะเป็นเจดีย์ในยุคต้นของล้านนาอีกด้วย

หอกลางเวียงตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นศูนย์กลางของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในเขตเมือง เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงใหม่ รวมทั้งวิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ที่เป็นเอกลักษณ์ของเชียงใหม่

การจัดแสดงประกอบด้วยนิทรรศการถาวร เรื่องราวนับแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ยุคสร้างบ้านเมือง ผ่านความเปลี่ยนแปลงจนมาเป็นเมืองเชียงใหม่ในปัจจุบัน รวมถึงระบบการปกครอง วิถีชีวิต ภูมิปัญญา และเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม

นิทรรศการหมุนเวียนจัดแสดงในอาคารส่วนหลัง พร้อมทั้งลานกิจกรรมกลางแจ้ง สำหรับกิจกรรมทางวัฒนธรรมรูปแบบต่างๆ

หอกลางเวียง (หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่เดิม) ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับ รางวัลยอดเยี่ยม ประเภทแหล่งท่องเที่ยวศิลปวัฒนธรรม (ภาคเหนือ) จากการประกวดรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย (Thailand Tourism Awards) ครั้งที่ 6 ประจำปี 2549 และ รางวัล ASEANTA Awards for Excellence 2007 : BEST ASEAN CULTURAL PRESERVATION EFFORT และในปี พ.ศ. 2562 หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ได้รับ รางวัลดีเด่นด้านความสัมพันธ์กับชุมชน ประเภทพิพิธภัณฑ์ด้านสังคม ศิลปะ และวัฒนธรรม (Museum Thailand Awards 2019) จากสถาบันพิพิธภัณฑ์ การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม)

ชื่อผู้แต่ง:
-