พิพิธภัณฑ์วัดท่ากาน


วัดท่ากานตั้งอยู่เกือบใจกลางเวียงท่ากาน ซึ่งเป็นชุมชนโบราณตามประวัติในเอกสารว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอาทิตยราชแห่งเมืองหริภุญไชย (ลำพูน) ราวพุทธศตวรรษที่ 13 มีหลักฐานบ่งชี้เช่น โบราณสถานและพระพุทธรูปทรงเครื่องโลหะ พระพิมพ์พระแผง ศิลปะสมัยหริภุญไชย ศิลปกรรมสำคัญที่ทางวัดเก็บไว้ได้จากการขุดปรับสภาพที่วัดร้างข้างวัดท่ากาน ศิลปวัตถุที่สำคัญได้แก่ โถลายครามขนาดสูง 38 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางโถประมาณ 32 ซม. มีหูเล็กๆเป็นรูปมังกร เป็นศิลปะจีนสมัยราชวงศ์หยวนตอนปลาย ซึ่งปรากฏอยู่เพียงไม่กี่ใบในโลก พระพุทธรูปทองคำดุนนูน ศิลปะสกุลช่างหริภุญไชยที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะศรีวิชัยและลพบุรี พระพุทธรูปดุนนูนสำริดเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องมีเศียรเป็นรูปใบไม้หรือขนนก พระบัวเข็มเนื้อมุกปิดทอง สำหรับศิลปวัตถุสำคัญที่กล่าวมาข้างต้นทางวัดได้จัดเก็บไว้ในหีบไม้ ขนาด 60 x 60 นิ้ว บรรจุในกรงเหล็ก 2 ชั้น ใส่กุญแจแต่ละชั้นเก็บไว้ที่ห้องข้างกุฏิเจ้าอาวาส มีกุญแจถือไว้โดยกรรมการวัด 26 คน เป็นการเก็บอย่างรอบคอบระวัดระวังมากเพราะเป็นศิลปวัตถุมีค่ามาก การเก็บโบราณวัตถุอื่นๆเช่น ใบลาน 200 - 300 ผูก ไม้แกะสลัก หีบธรรม เก็บไว้ในวิหาร ต้องการเข้าชมโปรดทำหนังสือแจ้งขอเข้าชม

ที่อยู่:
วัดท่ากาน ต.บ้านกลาง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
วันและเวลาทำการ:
ต้องทำหนังสือแจ้งขอเข้าชม
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
จัดการโดย:
เนื้อหา:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์วัดท่ากาน

วัดท่ากานตั้งอยู่เกือบใจกลางเวียงท่ากาน ซึ่งเป็นชุมชนโบราณตามประวัติในเอกสารว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอาทิตยราชแห่งเมืองหริภุญไชย (ลำพูน) ราวพุทธศตวรรษที่ 13 มีหลักฐานบ่งชี้เช่น โบราณสถานและพระพุทธรูปทรงเครื่องโลหะ พระพิมพ์พระแผง ศิลปะสมัยหริภุญไชย ศิลปกรรมสำคัญที่ทางวัดเก็บไว้ได้จากการขุดปรับสภาพที่วัดร้างข้างวัดท่ากาน ศิลปวัตถุที่สำคัญได้แก่ โถลายครามขนาดสูง 38 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางโถประมาณ 32 ซม. มีหูเล็กๆเป็นรูปมังกร เป็นศิลปะจีนสมัยราชวงศ์หยวนตอนปลาย ซึ่งปรากฏอยู่เพียงไม่กี่ใบในโลก พระพุทธรูปทองคำดุนนูน ศิลปะสกุลช่างหริภุญไชยที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะศรีวิชัยและลพบุรี พระพุทธรูปดุนนูนสำริดเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องมีเศียรเป็นรูปใบไม้หรือขนนก พระบัวเข็มเนื้อมุกปิดทอง สำหรับศิลปวัตถุสำคัญที่กล่าวมาข้างต้นทางวัดได้จัดเก็บไว้ในหีบไม้ ขนาด 60 x 60 นิ้ว บรรจุในกรงเหล็ก 2 ชั้น ใส่กุญแจแต่ละชั้นเก็บไว้ที่ห้องข้างกุฏิเจ้าอาวาส มีกุญแจถือไว้โดยกรรมการวัด 26 คน เป็นการเก็บอย่างรอบคอบระวัดระวังมากเพราะเป็นศิลปวัตถุมีค่ามาก การเก็บโบราณวัตถุอื่นๆเช่น ใบลาน 200 - 300 ผูก ไม้แกะสลัก หีบธรรม เก็บไว้ในวิหาร ต้องการเข้าชมโปรดทำหนังสือแจ้งขอเข้าชม

ข้อมูลจาก : บุบผา จิระพงษ์. สถานภาพของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะ มนุษยศาสตร์ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่,2544. หน้า 288.
ชื่อผู้แต่ง:
-