พิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดเกตุการาม


วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง คือเพื่อเก็บรักษาวัตถุที่มิได้ใช้ในชีวิตประจำวันในปัจจุบันแล้ว ข้าวของที่จัดแสดงโดยมากเป็นวัตถุดั้งเดิมของวัด ของถวายจากศรัทธาวัด และข้าวของที่รับบริจาคในระหว่างที่มีการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ อาคารของพิพิธภัณฑ์เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว อดีตกุฏิพระครูชัยศีลวิมล (พ.ศ. 2429 - 2500) เรียกกันว่า"โฮงตุ๊เจ้าหลวง" วัตถุที่จัดแสดงอาทิ เครื่องใช้ในครัวเรือนและเครื่องดนตรีล้านนา ผ้าทอพื้นเมือง ภาพถ่ายเก่า พระพุทธรูป พระพิมพ์ ตาลปัตร หนังสือวรรณกรรมเกี่ยวกับล้านนา เทวรูปที่ปะปนกันตั้งแต่เรื่องของรูปแบบ วัสดุ (ไม้ หิน ปูน) ตุ๊กตาจีน เครื่องชั่งตวงในสมัยก่อน เทป และแผ่นเสียงเก่า และยังมีสำเนารูปภาพเมืองเชียงใหม่ในอดีต ถ่ายโดยคุณบุญเสริม สาตราภัย

ที่อยู่:
เลขที่ 96 บ้านวัดเกต ถ.เจริญราษฎร์ ต.วัดเกต อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000
โทรศัพท์:
0-5320-4273, 0-5326-2605, 0-5324-3550
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน 10.00-16.30 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2542
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

วัดเกต ในวาระแห่งการเปลี่ยนแปลง

ชื่อผู้แต่ง: วรวิมล ชัยรัต | ปีที่พิมพ์:

ที่มา: http://www.khonmuang.com/watergae.htm

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เนรมิตโฮงตุ๊เจ้าหลวงเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดเกตุ แหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชนเชียงใหม่

ชื่อผู้แต่ง: วิมล กิจวานิชขจร | ปีที่พิมพ์: ปีที่25ฉบับที่ 7 พ.ค. 2547

ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

Museum in need

ชื่อผู้แต่ง: Yvonne Bohwongprasert | ปีที่พิมพ์: 23-Mar-06

ที่มา: Bangkok Post

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ไหว้พระธาตุประจำปีจอ เยือนพิพิธภัณฑ์วัดเกต

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 04/09/2551

ที่มา: มติชนรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

“เกตการาม”วัดงาม กับความฝันของลุงแจ๊ค

ชื่อผู้แต่ง: ปิ่น บุตรี | ปีที่พิมพ์: 27 ส.ค. 2551;07-08-2008

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 05 สิงหาคม 2557


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์วัดเกตการาม

วัดเกตการามเป็นวัดเก่าแก่ของเมืองเชียงใหม่ สร้างในปี พ.ศ. 1971 สมัยพระเจ้าสามฝั่งแกน ย่านวัดเกตอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ถือเป็นย่านเศรษฐกิจสำคัญของเชียงใหม่มาตั้งแต่อดีต ปัจจุบันย่านวัดเกตเป็นทั้งย่านที่อยู่อาศัย และย่านท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของเมืองเชียงใหม่ 
 
พิพิธภัณฑ์วัดเกตการามก่อตั้งขึ้นโดยความร่วมมือของศรัทธาวัดเกต เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2542 มีคณะกรรมการวัดเกตการามเป็นผู้ดูแล อาคารของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เคยเป็นกุฏิพระครูชัยศีลวิมล (พ.ศ. 2429 - 2500)  เรียกกันว่า"โฮงตุ๊เจ้าหลวง" การเข้าชมพิพิธภัณฑ์โดยปกติแล้ว คุณลุงจริน เบน ศรัทธาวัดทำหน้าที่ในการดูแล และต้อนรับเยี่ยมผู้ชม หากแต่ยามใดที่ไม่มีผู้ดูแลประจำอยู่ ณ ที่นั้น ผู้ต้องการเข้าชมสามารถที่จะกดกริ่ง เพื่อเรียกให้คนมาเปิดประตู   เมื่อสอบถามเจ้าอาวาสเพิ่มเติมได้ทราบว่า ก่อนที่จะจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ คณะกรรมการวัดไปดูการจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์วัดร้องเม็งมาก่อน และเห็นว่า ชุมชนวัดเกตการามมีวัตถุทางวัฒนธรรมที่สามารถจัดแสดงได้เช่นกัน จึงต้องการที่จะจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ขึ้นมา เพื่อเก็บรักษาวัตถุที่มิได้ใช้ในชีวิตประจำวันในปัจจุบันแล้ว ข้าวของที่จัดแสดงโดยมากเป็นของที่บริจาคมาเพิ่มเติมในระหว่างที่มีการก่อตั้ง ผู้บริจาคคนสำคัญคือ คุณลุงจรินทร์ เบน และคุณอนันต์ ฤทธิเดช (เจ้าของเฮือนรัตนา หางดง) และยังมีรูปภาพเมืองเชียงใหม่ในอดีต ถ่ายโดยคุณบุญเสริม สาตราภัย (ภาพที่จัดแสดงเป็นสำเนาภาพ พร้อมคำอธิบายที่มีการแปลเป็นภาษาอังกฤษโดย สุรพงษ์ ภักดี) มีนักวิชาการ รวมทั้งนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่เข้ามาช่วยในการทำป้ายอธิบาย
 
เมื่อเดินเข้าสู่อาคารพิพิธภัณฑ์ ห้องจัดแสดงส่วนแรก เป็นโถงกว้างที่ไม่ได้มีการจัดแบ่งเป็นส่วนด้วยผนังใด ๆ แต่กลุ่มของวัตถุสื่อถึงประเภทของวัตถุ ดังนั้น พื้นที่จึงแตกต่างกันไปโดยปริยาย ทางขวาจากทางเข้า ปรากฏหิ้งพระและพระพุทธรูปศิลปะแบบพม่า เมื่อสอบถามเจ้าอาวาสทราบว่าวัดเพิ่งได้รับบริจาคเมื่อไม่นานมานี้ ส่วนทางซ้ายมือมีกลุ่มวัตถุสำคัญ 2 ประเภทคือ กลุ่มเครื่องใช้ในครัวเรือนและเครื่องดนตรีล้านนา
 
เครื่องใช้ในครัวเรือนโดยมากเป็นเครื่องปั้นดินเผาที่จัดวางตามชั้นไม้ประกอบขึ้นอย่างง่าย หากวัตถุชิ้นใดมีลักษณะการใช้งานแบบแขวน วัตถุจะได้รับการแขวนตามการใช้งานเดิม ทั้งนี้ จะมีป้ายชื่อของผู้ที่บริจาคสิ่งของ   และป้ายชื่อเรียกวัตถุนั้น ๆ ส่วนกลุ่มวัตถุที่เป็นเครื่องดนตรี มีทั้งเครื่องดนตรีล้านนา สะล้อ ซึง กลองปูจา ฯลฯ และเครื่องดนตรีไทยเช่น ระนาด ฆ้องวง เป็นต้น ซึ่งก่อนที่จะเข้าไปในบริเวณดังกล่าวมี "รั้วไม้" สูงประมาณสะโพกกั้นเป็นทางเข้าไว้ จากนั้น ผู้ชมสามารถเลือกเข้าชมห้องถัดไป หรืออาจเดินออกไปชมภาพสำเนาแสดงภาพเชียงใหม่ในอดีต ในอาคารเปิดโล่งด้านนอกอีกอาคารหนึ่ง
 
จากโถงจัดแสดงด้านนอก เมื่อเดินเข้าไปจะแบ่งห้องจัดแสดงไว้ 3 ห้อง ห้องแรก มีปริมาณสิ่งของจำนวนมากและหลากหลาย ทำให้ห้องดังกล่าวไม่ต่างจากคลังวัตถุ สิ่งของบางประเภทเป็นกลุ่มวัตถุใหญ่ เช่น ผ้า ที่ได้รับการจัดเรียงบนราว ประมาณ 3 ชั้น ซ้อนกันในตู้กระจก หนังสือเก่าต่าง ๆ และของที่เกี่ยวข้องกับศาสนา เครื่องแก้ว ถ้วยโถโอชาม พัดลมผ้าติดเพดาน เครื่องปั้มน้ำ สิ่งของร่วมสมัยอื่น ๆ ซึ่งมีอายุไม่เก่ามากนักแต่มิได้ใช้งานแล้ว
ห้องที่ 2 จัดแสดงของหลากหลายเช่นเดียวกับห้องแรก ประกอบด้วย ภาพเก่า พระพุทธรูป พระพิมพ์ ตาลปัตร (พัดยศของพม่า) หนังสือวรรณกรรมเกี่ยวกับล้านนา เทวรูปที่ปะปนกันตั้งแต่เรื่องของรูปแบบ วัสดุ (ไม้ หิน ปูน) ตุ๊กตาจีน เครื่องชั่งตวงในสมัยก่อน เทป แผ่นเสียงเก่า 
 
ห้องที่ 3 ซึ่งอยู่ด้านในสุด มีขนาดไม่กว้างมากนัก ประมาณ 2 * 4 เมตร   มีประตูที่แยกพื้นที่ที่ชัดเจน ห้องดังกล่าวเน้นการแสดงวัตถุที่มีวัสดุเป็นผ้า ธงต่าง ๆ ธงมังกร ผ้ากำปี(ผ้าคัมภีร์) เครื่องแต่งกาย   วัตถุจัดแสดงไว้ทั้งในตู้และขึงบนผนัง ผนังด้านหนึ่งของห้องติดกระดาษแสดงรายชื่อสิ่งของที่จัดแสดงในห้องดังกล่าว ซึ่งเป็นห้องเดียวที่มีกระดาษแสดงรายชื่อวัตถุจัดแสดง และเมื่ออ่านรายละเอียดที่มาที่ไปของวัตถุแล้วจะเห็นว่า เกี่ยวข้องกับกษัตริย์และราชวงศ์ที่ปกครองล้านนาเสียเป็นส่วนใหญ่
 
ข้อมูลจาก: 
1. การสำรวจเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2547 
2. สัมภาษณ์ท่านเจ้าอาวาสวัดเกตการาม วันที่ 10 สิงหาคม 2547
ชื่อผู้แต่ง:
-

“เกตการาม” วัดงาม กับความฝันของลุงแจ๊ค

ผมไปแอ่วเชียงใหม่มาหลายต่อหลายครั้ง แต่ประทานโทษกับ“วัดเกตการาม”บนถนนเจริญราษฎร์นั้น มีแต่ผ่านไป-ผ่านมา และผ่านมา-ผ่านไป ไม่เคยแวะเวียนเข้าไปเที่ยวเลยสักครั้ง ทั้งๆที่ก็รู้อยู่ว่า วัดนี้เป็นที่ประดิษฐาน“พระธาตุเกศแก้วจุฬามณี” พระธาตุสำหรับคนเกิดปีจอ ตามคติความเชื่อของล้านนา "วัดสวยๆไม่พลุกพล่านแบบนี้ แม้มึงไม่ได้เกิดปีจอแต่สไตล์คนปากปีจออย่างมึงน่าจะชอบนะ"เพื่อนที่เคยไปแอ่ววัดนี้มาแล้วให้คำแนะนำ
ชื่อผู้แต่ง:
-