พิพิธภัณฑ์วัดบุพพาราม (หอมนเฑียรธรรม)


หอมณเฑียรธรรม วัดบุพพาราม เป็นมณฑปปราสาทจัตุรมุขทรงล้านนา 2 ชั้น โดยหอมณเฑียรธรรมหลังปัจจุบันนั้น พระราชพุทธิญาณ สร้างขึ้นในปี 2539 เพื่อทดแทนหลังเก่าที่สร้างขึ้นสมัยพระเมืองแก้วที่ทรุดโทรมมากแล้ว ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปซึ่งพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระราชทานว่า พระพุทธบุพพาภิมงคล ภปร. และพระพุทธนเรศร์สักชัยไพรีพินาศ แกะด้วยไม้สัก ขนาดหน้าตักกว้าง 1 วาเศษ มีอายุประมาณ 400 ปี ชั้นล่างของหอมณเฑียรธรรมจัดเป็นห้องสมุดศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่นล้านนา

ที่อยู่:
วัดบุพพาราม ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100
โทรศัพท์:
053-275-142
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน 7.00 - 18.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2539
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวของพิพิธภัณฑ์วัดบุพพาราม(หอมนเฑียรธรรม)

พระราชพุทธิญาณ เจ้าอาวาสวัดบุพพารามและเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่(มหานิกาย) ได้สร้างหอมณเฑียรธรรมขึ้นในปี พ.ศ.2539 เพื่อทดแทนหอมณเฑียรธรรมหลังเก่าที่สร้างในสมัยพระเมืองแก้ว ที่ทรุดโทรมไป เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระเมืองแก้วและถวายเป็นพระราชกุศลในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ครบ 50 ปี และเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเชียงใหม่อายุครบ 700 ปีด้วย หอมณเฑียรธรรมเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น หลังคาเรือนยอดชั้นบนเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญสององค์คือ พระพุทธบุพพาภิมงคล ภ.ป.ร. สร้างเมื่อปี พ.ศ.2519 ถวายเป็นพระราชกุศลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมมายุครบ 49 พรรษา ห้องมุขด้านทิศตะวันตกประดิษฐานพระพุทธนเรศร์สักชัยไพรีพินาศ เป็นพระพุทธรูปไม้สักปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 1 วาเศษ เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่อายุ 396 ปี (พ.ศ.2543) ตามประวัติสร้างโดยพระนเรศวรมหาราช นับเป็นพระพุทธรูปไม้สักองค์ใหญ่และสวยงามที่สุดองค์หนึ่งในประเทศไทย ชั้นล่างเป็นห้องสมุดและหอธรรม และจัดแสดงวัตถุต่างๆ อาทิ หีบธรรมใส่พับสาใบลานและหนังสือในสมัยปัจจุบัน เครื่องเขิน ไม้แกะสลัก เครื่องปั้นดินเผา กลอง กระจกคันฉ่อง เครื่องดนตรี เป็นต้น นอกจากนี้มีนิทรรศการภาพถ่ายพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวนประมาณ 100 ภาพ ส่วนบนฝาผนังของห้องประดับด้วยจิตรกรรมฝาผนังสีฝุ่น

ข้อมูลจาก : บุบผา จิระพงษ์. สถานภาพของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะ มนุษยศาสตร์ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่,2544. หน้า 234.
ชื่อผู้แต่ง:
-
คำสำคัญ: