หอธรรมโฆษณ์ ตั้งอยู่ภายในวัดอุโมงค์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ จัดสร้างโดยเจ้าชื่น สิโรรส เมื่อปี พ.ศ.2525 เป็นอาคาร 2 ชั้น หลังคาทรงไทย ศิลปวัตถุที่นำมาจัดแสดงเป็นของที่พบในบริเวณวัดอุโมงค์ ซึ่งเดิมวัดอุโมงค์เป็นวัดร้างมาก่อน นอกจากนั้นยังจัดแสดงวัตถุที่เป็นข้าวของเครื่องใช้ในวัด เครื่องประกอบอุโบสถ ฯลฯ อีกกลุ่มหนึ่งเป็นเครื่องมือเก่าที่เจ้าชื่น และชาวสวนพุทธธรรมเคยใช้เผยแพร่ธรรมในระหว่างปี พ.ศ.2492-2526 การจัดแสดงจัดแบ่งเป็นกลุ่มๆ ตามชนิดของวัตถุและประโยชน์ใช้สอย
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
ชื่อผู้แต่ง: เพ็ญฉาย สิโรรส | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 ม.ค.-มี.ค. 2554;Vol.37 No.1 Jan-Mar 2011
ที่มา: วารสารเมืองโบราณ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 06 ธันวาคม 2556
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
รีวิวของหอธรรมโฆษณ์ วัดอุโมงค์
หอธรรมโฆษณ์ วัดอุโมงค์ จัดสร้างโดยเจ้าชื่น สิโรรส เมื่อปี พ.ศ.2525 เป็นอาคาร 2 ชั้น หลังคาทรงไทย เนื้อที่ชั้นล่างเป็นห้องสมุดบริการหนังสือธรรมในศาสนาพุทธ พื้นที่บนชั้นสองจัดเป็นพิพิธภัณฑ์มีขนาดเนื้อที่ประมาณ 123 ตารางเมตร ศิลปวัตถุที่นำมาจัดแสดงเป็นของที่พบในบริเวณวัดอุโมงค์ ซึ่งเดิมเป็นวัดร้างมาก่อน นอกจากนั้นยังวัตถุที่เป็นของใช้ในวัด ของใช้ในการก่อสร้าง อาคาร เครื่องประกอบอุโบสถ วิหาร เช่น ช่อฟ้า ใบระกา นาคลำยอง เหล็กเกลิ้มสำหรับงัดเหล็ก ตาปูโบราณ แผ่นอิฐสำหรับก่อเสาวิหาร การจัดแสดงจัดแบ่งเป็นกลุ่มๆ ตามชนิดของวัตถุและประโยชน์ใช้สอย เช่น กลุ่มพระพุทธรูปทำด้วยทองแดง ทองเหลือง เชี่ยนหมากสำริด ไม้แกะสลัก เครื่องปั้นดินเผาโบราณ เครื่องทอง เครื่องเงิน เครื่องเขิน อาวุธ เอกสารตัวเขียน ธนบัตร เหรียญ เงินของประเทศต่างๆ เช่น จีน อิตาเลียน ออสเตรเลีย อินเดีย เยอรมัน เหรียญเงินสมัยรัชกาลที่ 4 - 9 เบี้ยใช้ในการเล่นการพนันในสมัยรัชกาลที่ 4 ภาพถ่ายจิตรกรรมฝาผนังรูปนกในอุโมงค์ของวัดอุโมงค์ รูปเทพชุมนุมในกรุวัดอุโมงค์ ภาพถ่ายเจดีย์วิหารในเมืองเชียงใหม่สมัยเก่า ภาพพระราชชายาดารารัศมี ท่านพุทธทาส ท่านปัญญานันทะภิกขุ เป็นต้น อีกกลุ่มหนึ่งเป็นเครื่องมือเก่าที่เจ้าชื่นและชาวสวนพุทธธรรมเคยใช้เผยแพร่ธรรมในระหว่างปี พ.ศ.2492-2526 ได้แก่เครื่องฉายภาพยนตร์ขนาด 8 ม.ม. และ16ม.ม. เครื่องบันทึกเสียง เครื่องขยายเสียง กล่องเหล็กใส่สไลด์ กล้องส่องดูดาวขนาดขยาย 160 เท่า สิ่งของพวกนี้อีกส่วนหนึ่งจัดแสดงไว้ที่ห้องพิพิธภัณฑ์เจ้าชื่นที่สำนักศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสถาบันราชภัฏเชียงใหม่ด้วยข้อมูลจาก : บุบผา จิระพงษ์. สถานภาพของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะ มนุษยศาสตร์ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่,2544. หน้า 231.
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
พระพุทธรูป วัด เครื่องฉายภาพยนตร์
ศูนย์วัฒนธรรมภูมิปัญญาชาวบ้าน โรงเรียนวัดแม่แพะ
จ. เชียงใหม่
พิพิธภัณฑ์วัดศรีดอนชัย
จ. เชียงใหม่
พิพิธภัณฑ์วัดอินทขีลสะดือเมือง
จ. เชียงใหม่