พิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง


พิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มน้ำโขงจัดตั้งโดยมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ในปี พ.ศ. 2547 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ศิลปวัฒนธรรมแถบอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในลักษณะพิพิธภัณฑสถานที่มีมาตรฐาน เป็นแหล่งค้นคว้า บริการวิชาการ และเผยแพร่องค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมสู่สังคม การจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มน้ำโขง แบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ นิทรรศการภายนอก ห้อง Cultural Innovation Hub นิทรรศการหมุนเวียน และนิทรรศการภายใน ไฮไลท์สำคัญของพิพิธภัณฑ์คือ 1. พระนามาภิไธย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี บนจานเซรามิก 2. การรอดซุ้มประตูโขงจำลองเพื่อความเป็นสิริมงคลตามความเชื่อของชาวล้านนา 3. ห้องวิหาร สักการะพระธาตุจำลอง 12 องค์ จาก 4 ประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนบน ถ่ายภาพร่วมกับตุงมงคล ย้อนอดีตไปกับภาพถ่ายและวัตถุทางวัฒนธรรม และมองกลุ่มดาวบนท้องฟ้าในเวลากลางวัน 4. ตุงดินน้ำลมไฟที่ระลึกงาน “เมือบ้านดำนางแล ครบ 100 วัน ถวัลย์ ดัชนี” 5. วัตถุทางวัฒนธรรมซึ่งปัจจุบันอาจมีให้พบเห็นได้ไม่มาก เช่น เรือหาปลาในลุ่มน้ำโขงที่ขุดจากต้นไม้ทั้งต้น คุตีข้าวขนาดใหญ่สานด้วยไม้ ปราสาทธรรมาสน์ นัตพม่า เหรียญที่ระลึกชาวเขา ช้อนรองเท้างาช้าง เป็นต้น

ที่อยู่:
โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มน้ำโขง (อาคาร D2) มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เลขที่ 333 หมู่ 1 ตำบลท่าสุด อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย 57100
โทรศัพท์:
053917067-8, 053917042
วันและเวลาทำการ:
เปิดบริการเข้าชมทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00 น. - 16.00 น. (ยกเว้นวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์) หากต้องการเข้าชมนอกเหนือวันและเวลาทำการ กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อแจ้งกำหนดการเข้าชมล่วงหน้าอย่างน้อย 1-3 วัน
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
อีเมล:
mekong-museum@mfu.ac.th
ปีที่ก่อตั้ง:
2547
ของเด่น:
1. พระนามาภิไธย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี บนจานเซรามิก 2. การรอดซุ้มประตูโขงจำลองเพื่อความเป็นสิริมงคลตามความเชื่อของชาวล้านนา 3. ห้องวิหาร สักการะพระธาตุจำลอง 12 องค์ จาก 4 ประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนบน ถ่ายภาพร่วมกับตุงมงคล ย้อนอดีตไปกับภาพถ่ายและวัตถุทางวัฒนธรรม และมองกลุ่มดาวบนท้องฟ้าในเวลากลางวัน 4. ตุงดินน้ำลมไฟที่ระลึกงาน “เมือบ้านดำนางแล ครบ 100 วัน ถวัลย์ ดัชนี” 5. วัตถุทางวัฒนธรรมซึ่งปัจจุบันอาจมีให้พบเห็นได้ไม่มาก เช่น เรือหาปลาในลุ่มน้ำโขงที่ขุดจากต้นไม้ทั้งต้น คุตีข้าวขนาดใหญ่สานด้วยไม้ ปราสาทธรรมาสน์ นัตพม่า เหรียญที่ระลึกชาวเขา ช้อนรองเท้างาช้าง เป็นต้น
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

Catalogue II Mekong Museum Pieces

ชื่อผู้แต่ง: พิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง | ปีที่พิมพ์: 2562

ที่มา: พิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

แหล่งค้นคว้า: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

โดย: ศมส.

วันที่: 06 มิถุนายน 2564

ดูลิงค์ต้นฉบับ

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ

Catalogue I Mekong Museum Pieces

ชื่อผู้แต่ง: พิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง | ปีที่พิมพ์: 2557

ที่มา: พิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

แหล่งค้นคว้า: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

โดย: ศมส.

วันที่: 06 มิถุนายน 2564

ดูลิงค์ต้นฉบับ


พิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

พิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มน้ำโขงจัดตั้งโดยมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ในปี พ.ศ. 2547 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ศิลปวัฒนธรรมแถบอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในลักษณะพิพิธภัณฑสถานที่มีมาตรฐาน เป็นแหล่งค้นคว้า บริการวิชาการ และเผยแพร่องค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมสู่สังคม และเพื่อเป็นการร่วมเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระชนมายุครบ 50 พรรษา ในปี พ.ศ. 2548

ในปี พ.ศ. 2547 – 2556 พิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มน้ำโขงตั้งอยู่ที่อาคารหมายเลข 8 อาคารส่วนหน้ามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ในปลายปี พ.ศ. 2556 ได้ย้ายมาบริเวณอาคาร D2 ในระหว่างปี พ.ศ. 2557 – 2559 ได้ดำเนินการขนย้ายและปรับปรุงพื้นที่อาคาร D2 เพื่อให้มีความเหมาะสมในการดำเนินงานด้านพิพิธภัณฑ์ เมื่อการดำเนินงานแล้วเสร็จ พิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มน้ำโขงจึงได้เปิดบริการให้กับผู้ที่สนใจเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เป็นต้นมา

การจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มน้ำโขง แบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ นิทรรศการภายนอก ห้อง Cultural Innovation Hub นิทรรศการหมุนเวียน และนิทรรศการภายใน รายละเอียดดังนี้

1. นิทรรศการภายนอก เป็นเสมือนประตูเพื่อให้ผู้เยี่ยมชมก้าวล่วงสู่พิพิธภัณฑ์ ส่วนที่หนึ่ง คือ สวนสิงห์ ปูนปั้นรูปสิงห์ 5 ตัว สร้างจำลองมาจากศิลปะของ 5 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประเทศไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และราชอาณาจักรกัมพูชา แสดงถึงความมีวัฒนธรรมร่วมกันของประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และวัฒนธรรมหินตั้งจำลองซึ่งเป็นวัฒนธรรมและคติความเชื่อก่อนการเข้ามาของพุทธศาสนา การตั้งหินเป็นการกำหนดขอบเขตบริเวณเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางความเชื่อต่างๆ ส่วนที่สอง เป็นการบอกเล่าวิถีชีวิตของคนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการเดินทางในอดีต ผ่านทางวัตถุทางวัฒนธรรม ได้แก่ มองตำข้าว คุตีข้าว เรือระมาด เกวียน หลาว ครกไม้ และถังเมี่ยง

2. ห้อง Cultural Innovation Hub นำเสนอนวัตกรรมทางวัฒนธรรมที่สืบเนื่องมาจากงานวิจัย การนำองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างมูลค่าเพิ่ม

3. นิทรรศการหมุนเวียน นำประเด็นหรือเรื่องราวทางศิลปวัฒนธรรมล้านนาและอารยธรรมลุ่มน้ำโขงมานำเสนอในรูปแบบนิทรรศการ จัดแสดง 1 – 2 ครั้ง/ปีงบประมาณ ปัจจุบัน (พ.ศ. 2564) จัดแสดงในรูปแบบนิทรรศการออนไลน์ หัวข้อ ภาพวาดวิถีชีวิตช่วงวิกฤตไวรัสโควิด 19 “ไร้หนทางที่จะเดินหน้าหรือถอยกลับแค่มีชีวิตปัจจุบันยังยาก” เผยแพร่ทาง เพจ เฟซบุ๊ก Mekong Basin Civilization Museum เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/media/set?vanity=Mekong.Museum.MFU&set=a.5004142246325133

4. นิทรรศการภายใน ประกอบด้วย

- ซุ้มประตูโขงจำลอง ชาวล้านนามีความเชื่อว่าการได้รอดซุ้มประตูโขงจะเสริมสร้างความเป็นสิริมงคล - พระนามาภิไธย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี บนจานเซรามิก

- ปราสาทธรรมาสน์ ศิลปะแบบไทปลัง สำหรับพระสงฆ์นั่งแสดงธรรม

- ภาพจากการลงพื้นที่สำรวจศิลปวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในแถบอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ได้แก่ เขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน และเมืองเชียงตุง เมืองลา เมืองสามต้าว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา

- ภาพเก่าบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนบริเวณอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในอดีต (จัดทำสำเนาจากหนังสือ Gay, Bernard. (1996). Le bassin du Mekong: images du passé = The basin of the Mekong River: images of the past Basin of the Mekong River. Descente du Mekong, Inalco Paris: Paris.) - ตุงมงคล ได้แก่ ตุงสิบสองนักษัตรล้านนา ตุงไย ตุงไทลื้อ ตุงพระพุทธเจ้า ฯลฯ - พระธาตุเจดีย์จำลอง 12 องค์ จาก 4 ประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนบน - แผนผังดวงดาวล้านนา บอกเล่ารูปลักษณ์ของดวงดาว ชื่อของกลุ่มดาวในภาษาล้านนา

- ตุงดิน ตุงน้ำ ตุงลม ตุงไฟ ที่ระลึกงาน “เมือบ้านดำนางแล ครบ 100 วัน ถวัลย์ ดัชนี” ผลงานโดย: อาจารย์ทรงเดช ทิพย์ทอง ศิลปินเชียงราย

- ตู้จัดแสดงวัตถุทางวัฒนธรรม บอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิต วัฒนธรรมของกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในแถบอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ในหัวข้อต่างๆ เช่น การเดินทาง ความเชื่อก่อนการเข้ามาของพุทธศาสนา เครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นต้น ผ่านการจัดแสดงวัตถุทางวัฒนธรรม

ชื่อผู้แต่ง:
ชูชาติ ใจแก้ว และสิริวรรณ กิตติร่มโพธิ์งาม