ซุ้มดินศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิต ชนเผ่าบ้านจะแล


หมู่บ้านจะแลเป็นชุมชนชาวลาหู่ ที่อพยพมาจากบริเวณรอยต่ออำเภอแม่ฟ้าหลวง "ซุ้มดินศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตชนเผ่าบ้านจะแล" หรือพิพิธภัณฑ์ชาวเขาที่สร้างขึ้นเมื่อปี 2545 โดยความร่วมมือของศูนย์วัฒนธรรมกระจกเงา และชาวบ้านจะแล เพื่อบอกเล่าเรื่องราว วิถีวัฒนธรรม ประเพณี และแสดงอัตลักษณ์ความเป็นชาวลาหู่ ท่ามกลางกระแสพัฒนาหลักในปัจจุบัน ลักษณะของพิพิธภัณฑ์เป็นซุ้มดินขนาดใหญ่จำนวน 4 หลัง และเรือนไม้ไผ่อีก 2 เรือน แบ่งเป็นซุ้มแสดงประเพณี วัฒนธรรมและวิถีชีวิต ห้องฉายภาพวิดีโอสารคดีชนเผ่า ซุ้มศิลปะและภาพถ่าย และร้านค้าชุมชน  โดยผู้ชมจะได้เข้าชมวิดีโอข้อมูลชนเผ่าที่ห้องฉายภาพ เพื่อปูความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา และวิถีชีวิตของชาวเขาเผ่าต่างๆ ในพื้นที่ห้วยแม่ซ้าย ถัดจากห้องฉายภาพจะเป็นซุ้มพิพิธภัณฑ์ที่บอกเล่าเรื่องราวผ่านสิ่งของเครื่องใช้ เครื่องดนตรี และของเล่นนานาชนิด นอกจากนี้ยังมีเครื่องแต่งกายของชนเผ่าจัดแสดงไว้อย่างสวยงาม สิ่งของเครื่องใช้ที่นำมาจัดแสดงนี้ เป็นข้าวของที่ชาวบ้านในชุมชนเต็มใจมอบให้พิพิธภัณฑ์เพื่อใช้เป็นวิทยาทานแก่บุคคลภายนอก นอกจากพิพิธภัณฑ์แล้ว เยาวชนในหมู่บ้านยังรวมกลุ่มกันจัดการท่องเที่ยวในชุมชน โฮมสเตย์ มัคคุเทศก์ท้องถิ่น การแสดงวัฒนธรรม และกลุ่มศิลปหัตถกรรม เพื่อรองรับผู้มาเยี่ยมเยือนที่อยากเรียนรู้และสัมผัสกับวิถีชีวิตชนเผ่า

ที่อยู่:
หมู่ 11 ต.แม่ยาว อ.เมือง จ.เชียงราย 57000
โทรศัพท์:
0-5373-7421-3
วันและเวลาทำการ:
ทุกวัน 08.00-19.00น.
ค่าเข้าชม:
คนละ 20 บาท
เว็บไซต์:
ปีที่ก่อตั้ง:
2545
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

เมื่อชาวเขาทำพิพิธภัณฑ์บ้านนอก สตูดิโอ

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 9/16/2547

ที่มา: มติชนรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

บ้านจะแล พิพิธภัณฑ์ชุมชนลาหู่

ชื่อผู้แต่ง: - | ปีที่พิมพ์: 20-Dec-48

ที่มา: มติชนรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ชุดการเรียนรู้กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย

ชื่อผู้แต่ง: โครงการพิพิธภัณฑ์ชาวเขาออนไลน์ | ปีที่พิมพ์: 2549

ที่มา: เชียงราย: โครงการพิพิธภัณฑ์ชาวเขาออนไลน์ มูลนิธิกระจกเงา

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์ชาวเขา ชุมชนบ้านจะแล

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 25-11-2549(หน้า5)

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจเสาร์สวัสดี

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของซุ้มดินศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิต ชนเผ่าบ้านจะแล

ก่อนถึงหมู่บ้านอาข่าพัฒนาราว 2 กิโลเมตร จะผ่าน "หมู่บ้านจะแล" ชุมชนของชาวไทยภูเขาเผ่าลาหู่ ที่ยังคงความเชื่อเรื่องวัฒนธรรมประเพณีโบราณตลอดจนการใช้วิถีชีวิตแบบดั้งเดิมไว้อย่างสมบูรณ์
 
จะสี อดีตผู้นำหมู่บ้านจะแล เล่าว่า ชาวบ้านจะแลเดิมเป็นชาวลาหู่ที่อยู่บนพื้นที่สูงบริเวณรอยต่ออำเภอแม่ฟ้าหลวง ต่อเมื่อมีการพัฒนาจนพื้นที่ที่เคยเป็นไร่นาของชาวบ้านกลายเป็นเขตป่าหวงห้าม พวกเขาจึงต้องย้ายหมู่บ้านลงมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี 2504 กว่าจะลงมาเอย ณ ที่ตั้งมั่นใหม่นี้ ก็ผ่านการโยกย้ายมาแล้วถึง 3 ครั้ง 
 
หากมาที่บ้านจะแล และต้องการความรู้เรื่องประวัติความเป็นมา รวมถึงวิถีชนเผ่า ให้เข้าไปศึกษาข้อมูลได้ที่ "ซุ้มดินศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตชนเผ่าบ้านจะแล" หรือพิพิธภัณฑ์ชาวเขาที่สร้างขึ้นเมื่อปี 2545 โดยความร่วมมือของศูนย์วัฒนธรรมกระจกเงา และชาวบ้านจะแล เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 08.00-19.00 น. อัตราค่าเข้าชม 20 บาท 
เหตุที่มาของการสร้างพิพิธภัณฑ์ชาวเขาแห่งนี้ เป็นเพราะครั้งหนึ่งหนุ่มสาวชนเผ่าที่มีความรู้และทักษะด้านภาษาไทย พากันหลั่งไหลเข้าไปทำงานในเมือง จนชุมชนเงียบเหงาไปพักใหญ่ เหลือแต่เด็กและคนวัยชรา การเดินทางออกจากหมู่บ้านเช่นนี้ ไม่เพียงแต่เป็นการสูญเสียแรงงานเยาวชนสู่เมืองใหญ่เท่านั้น หากแต่การนำพาสินค้าใหม่ๆจากเมืองเข้าสู่หมู่บ้าน ยังเป็นการทำลายวัฒนธรรมและกลืนกินความเป็นลาหู่ไปทีละเล็กทีละน้อย จนเกือบจะเปลี่ยนวิถีชนเผ่าไปเป็นคนเมือง ถ้าผู้ใหญ่ในหมู่บ้านไม่ช่วยกันยับยั้งไว้ได้ทัน
 
การร่วมแรงร่วมใจในการสร้างพิพิธภัณฑ์ชาวเขา ชุมชนบ้านจะแล จึงเกิดขึ้น เพื่อชี้ให้เห็นถึงการเคลื่อนตัวของชุมชนเล็กๆ ชุมชนหนึ่งที่พยายามบอกเล่าเรื่องราว และแสดงความเป็นตัวของตัวเอง ท่ามกลางกระแสพัฒนาหลักในปัจจุบัน 
ลักษณะของพิพิธภัณฑ์เป็นซุ้มดินขนาดใหญ่จำนวน 4 หลัง และเรือนไม้ไผ่อีก 2 เรือน แบ่งเป็นซุ้มแสดงประเพณี วัฒนธรรมและวิถีชีวิต ห้องฉายภาพวิดีโอสารคดีชนเผ่า ซุ้มศิลปะและภาพถ่าย และร้านค้าชุมชน 
 
ก่อนอื่นนักท่องเที่ยวจะได้เข้าชมวิดีโอข้อมูลชนเผ่าที่ห้องฉายภาพ เพื่อปูความรู้เกี่ยวกับ ประวัติความเป็นมา และวิถีชีวิตของชาวเขาเผ่าต่างๆ ในพื้นที่ห้วยแม่ซ้าย หากมีข้อสงสัยก็จะมีเจ้าหน้าที่ชนเผ่าคอยไขข้อข้องใจอยู่
ถัดจากห้องฉายภาพจะเป็นซุ้มพิพิธภัณฑ์ที่บอกเล่าเรื่องราวผ่านสิ่งของเครื่องใช้ เครื่องดนตรี และของเล่นนานาชนิด นอกจากนี้ยังมีเครื่องแต่งกายของชนเผ่าจัดแสดงไว้อย่างสวยงามอีกด้วย ซึ่งสิ่งของ เครื่องใช้ที่นำมาจัดแสดงนี้ เป็นข้าวของที่ชาวบ้านในชุมชนเต็มใจมอบให้พิพิธภัณฑ์เพื่อใช้เป็นวิทยาทานแก่บุคคลภายนอก
 
นอกจากพิพิธภัณฑ์แล้ว เยาวชนในหมู่บ้านยังรวมกลุ่มกันจัดการท่องเที่ยวในชุมชน โดยคนหนุ่มสาวได้เข้ามามีบทบาทในการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการท่องเที่ยว การจัดการด้านโฮมสเตย์ มัคคุเทศก์ท้องถิ่น การจัดกลุ่มการแสดงวัฒนธรรม และกลุ่มศิลปหัตถกรรม เพื่อรองรับผู้มาเยี่ยมเยือนที่อยากเรียนรู้และสัมผัสกับวิถีชีวิตชนเผ่า
สำคัญที่สุดคือเพื่อเป็นการกำหนดทิศทางของชุมชนในการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ โดยให้คนหนุ่มสาวสามารถอยู่ในชุมชน ได้มีอาชีพและรายได้พอที่จะพึ่งพาตัวเองบนพื้นฐานจารีตประเพณีดั้งเดิมต่อไป 
 
ข้อมูลจาก: พิพิธภัณฑ์ชาวเขา ชุมชนบ้านจะแล.กรุงเทพธุรกิจเสาร์สวัสดี ฉบับวันที่ 25-11-2549 (หน้า5)
ชื่อผู้แต่ง:
-