ศูนย์วัฒนธรรมนิทัศน์และพิพิธภัณฑ์เมืองเชียงราย 750 ปี


ที่อยู่:
ถนนอุตรกิจ ตำบลรอบเวียง อำเถอเมือง จังหวัดเชียงราย
โทรศัพท์:
053-601760
วันและเวลาทำการ:
เปิดวันจันทร์ - วันศุกร์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ หยุดวันเสาร์และวันอาทิตย์ 09.00 - 17.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
อีเมล:
cr750@chiangraipao.go.th
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

ศูนย์วัฒนธรรมนิทัศน์และพิพิธภัณฑ์เมืองเชียงราย 750 ปี

ศูนย์วัฒนธรรมนิทัศน์และพิพิธภัณฑ์เมืองเชียงราย 750 ปี จังหวัดเชียงราย ก่อตั้งโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย เพื่อร่วมฉลองเมืองเชียงรายครบ 750 ปี และเป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรมล้านนา และชนเผ่าชาติพันธุ์ต่างๆในจังหวัดเชียงราย  ภายในศูนย์วัฒนธรรมนิทัศน์และพิพิธภัณฑ์เมืองเชียงราย 750 ปี ประกอบด้วยแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรมล้านนา และชนเผ่าชาติพันธุ์ต่างๆในจังหวัดเชียงราย ได้แก่

หอประวัติเมืองเชียงราย

หอประวัติเมืองเชียงราย เป็นส่วนหนึ่งภายในศูนย์วัฒนธรรมนิทัศน์และพิพิธภัณฑ์เมืองเชียงราย 750 ปี โดยการปรับปรุงอาคารหอประชุมเม็งรายอนุสรณ์เดิม จัดขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านภูมิหลังของท้องถิ่น พัฒนาการทางสังคม ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี ในส่วนของการจัดแสดงนิทรรศการภายในได้จัดแสดงเนื้อหานับตั้งแต่ยุคสมัยก่อน ประวัติศาสตร์ ยุคของการสร้างบ้านเมือง การเปลี่ยนแปลง จนกระทั่งเป็นเมืองเชียงรายในปัจจุบัน นอกจากนั้นยังจัดแสดงเรื่องราววิถีชีวิตภูมิปัญญา การเมืองการปกครองและเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอันน่าภูมิใจของคนเชียงราย ซึ่งทั้งหมดนี้นำเสนอด้วยแบบจำลองผสานสื่อที่ทันสมัย ทั้งสไลด์ วีดีทัศน์ ซอฟแวร์ หุ่นจำลอง บอร์ดกราฟฟิค และภาพประกอบคำบรรยายที่ทันสมัยสวยงามน่าสนใจ และง่ายต่อการเรียนรู้โดยมีการจัดแสดงนิทรรศการภายในเป็น 9 โซน

โซนที่ 1 ก่อร่างสร้างเมืองเชียงราย

กล่าวถึงตำนานเมืองพญานาค การค้นพบวัฒนธรรมหิน ยุคสังคมเกษตรกรรม ยุคสังคมล่าสัตว์ ยุคแคว้นโยนกไชยบุรีศรีช้างแสน ฯลฯ

การเริ่มต้นด้วยคำถาม ให้ผู้เยี่ยมชมรับรู้ชวนค้นหาข้อมูล และติดตามข้อมูลที่แสดงให้หาคำตอบในโซนต่อไป มีการจัดแสดงข้อมูลคำถาม/ตอบ และตอบโต้ด้วยคอมพิวเตอร์ระบบทัชสกรีน

โซนที่ 2 ร่องรอยไหนในถิ่นฐาน

จัดแสดงหลักฐานการค้นพบทางประวัติศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับถิ่นฐานในอดีตที่ได้มีการค้นพบ ในทางโบราณคดี ในรูปแบบของการแสดงจำลองวัตถุจริง และให้ข้อมูลด้วยสื่อมัลติมีเดีย

ต่อเนื่องจากโซนที่ 1 กล่าวถึงยุคประวัติศาสตร์ก่อนสมันอาณาจักร ยุคแคว้นเชียงราย(มังราย) ยุคสมัยอาณาจักรล้านนา ราชวงค์มังราย ยุคสมัยประเทศราชของพม่า ยุคฟื้นม่าน ยุคประเทศราชของสยาม เวียงกุมกาม อาณาจักรหริภุณไชย การสร้างเวียงเชียงราย เมืองหิรัญนครเงินยาง เวียงปรึกษา แคว้นโยนกนาคนคร นอกจากนั้นยังแสดงเกี่ยวกับโบราณวัตถุที่ค้นพบในแต่ละยุค ฯลฯ

โซนที่ 3 เล่าแจ้งแถลงไข

เป็นเธียร์เตอร์สำหรับ 32 ที่นั่ง สำหรับการบรรยายและฉายภาพโดยเครื่องโปรเจคเตอร์ไปยังจอภาพบนเวทีด้านหน้า โดยเล่าเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาเมืองเชียงราย และพญามังรายมหาราช ความยาว 11.45 นาที

โซนที่ 4 เมืองโบราณ อาณาจักรล้านนา

จัดแสดงหุ่นจำลอง พื้นที่ภูมิประเทศของจังหวัดเชียงราย และอาณาเขตโดยรอบ รวมทั้งหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในการสร้างเมือง

ในบริเวณนี้จะมีการแสดงหุ่นจำลองพื้นที่ภูมิประเทศของจังหวัดเชียงราย และอาณาเขตโดยรอบ รวมทั้งหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ไม่ว่าเป็นเครื่องปั้นดินเผา พับสา แสดงเมืองโบราณแห่งอาณาจักรล้านนา ร่องรอยประตูเมืองและกำแพงเมือง แหล่งเตาเวียงกาหลง กฏหมายมังรายศาสตร์

โซนที่ 5 พญามังรายมหาราช

จัดแสดงพระรูปจำลอง พระราชประวัติของพญามังรายมหาราช การสถาปนาอาณาจักรล้านนา ลำดับกษัตริย์ราชวงค์มังราย ฯลฯ

โซนที่ 6 สู่เมืองเชียงราย

กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงจากเวียงไชยบุรี สู่หิรัญนครชัยบุรีศรีเชียงแสน การตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า จนกระทั่งกลับสู่อิสรภาพ เมืองพันธุมติรัตนอาณาเขต มณฑลพายัพ ประกาศยกเมืองเชียงรายเป็นหัวเมืองจัตวารวมอยู่ในมณฑลพายัพ หอระมานหรือตราประจำเมืองในอดีต จนพัฒนารูปแบบการปกครองจนแบ่งออกเป็น 18 อำเภอ นอกจากนั้นยังแสดงประวัติความเป็นมาของแต่ละอำเภอ รวมถึงความรู้เกี่ยวกับสะดือเมืองอย่างละเอียด ประวัติเกี่ยวกับพระอารามหลวง อันได้แก่ วัดพระแก้ว วัดพระสิงห์ วัดเจ็ดยอด ประตูเมืองเชียงราย จำนวน 12 ประตู ความรู้เกี่ยวกับทักษา ทักษาตามวันเกิด ฯลฯ

โซนที่ 7 ความรู้อยู่รอบตัว

แสดงเกี่ยวกับศาสนสถานสำคัญของเมืองเชียงราย ได้แก่ประวัติของวัด 10 วัด และพระธาตุ 9 จอม การจัดแสดงสื่อให้ผู้เข้าชมเห็นถึง การหาความรู้ มองเห็นคุณค่าของประวัติศาสตร์จากสิ่งรอบตัว และบริเวณที่คุ้นเคย โดยจะเสริมทักษะในการสังเกต โดยการทดสอบกับชุดคอมพิวเตอร์มัลติมีเดี่ยที่จัดเตรียมไว้ก่อนบริเวณทางออก
โซนที่ 8 ห้องสมุดหอประวัติ

ห้องหนังสือในลักษณะร่วมสมัย การตกแต่งแบบคลาสสิค มีอุปกรณ์บริการที่ทันสมัย เอื้ออำนวยในการค้นคว้าได้อย่างรวดเร็ว ฯลฯ

ข้อมูลจาก: http://www.chiangraipao.go.th/

 

ชื่อผู้แต่ง:
-