หอนิทรรศการ สำนักงานศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย


สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวอทยาลัยราชภัฏเชียงราย แต่เดิมมีชื่อเรียกว่า ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ที่ประกอบด้วยสำนักงานและอาคารหอนิทรรศการ เพื่อจัดนิทรรศการหมุนเวียน โดยมีที่มาจากความพยายามร่วมกับศิลปินชาวเชียงรายในอันที่จะได้มีหอศิลป์เกิดขึ้นในจังหวัดเชียงราย จึงได้มีการจัดสร้างอาคารขึ้นหลังหนึ่งให้เป็น ”หอนิทรรศการ” สำหรับจัดนิทรรศการหมุนเวียนตลอดทั้งปี และได้เป็นสถานที่จัดงานนิทรรศการครั้งสำคัญ “ศิลปะสล่าเชียงราย” เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2542 ในโอกาสครบรอบ 25 ปีของสถาบันราชภัฏเชียงราย นับเป็นงานที่ยิ่งใหญ่อีกงานหนึ่งและต่อมาผู้บริหารของสถาบัน ผศ.ดร.มาณพ ภาษิตวิไลธรรม ในขณะนั้น ได้เห็นถึงความสำคัญของการที่จะต้องมีแหล่งสะสมและจัดแสดงผลงานศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินในท้องถิ่น จึงได้มีการสร้างอาคารเพิ่มคือหอศิลปะ “CHIANGRAI ART MUSEUM” ขึ้น เปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 6 สิงหาคม 2547 ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เรียกได้ว่าเป็นหอศิลป์แห่งแรกของจังหวัดเชียงราย

ที่อยู่:
มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย อ.เมือง จ.เชียงราย 57000
โทรศัพท์:
0-5379-3466
วันและเวลาทำการ:
วัน-เวลาราชการ (โปรดติดต่อก่อนการเข้าชม)
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
ปีที่ก่อตั้ง:
2542
จัดการโดย:
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวของสำนักงานศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

สำนักศิลปวัฒนธรรม ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ต.บัานดู่ อ.เมือง จ.เชียงราย มีอาคารสำนักงาน และอาคารหอนิทรรศการ เพื่อจัดนิทรรศการหมุนเวียน สำนักศิลปะวัฒนธรรม เป็นหน่วยงานเทียบเท่าคณะวิชาของ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ได้ดำเนินงานด้านวัฒนธรรมมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.252 2(ตาม พ.ร.บ.ปี 2518 ของวิทยาลัยครู) โดยแต่เดิมมีชื่อเรียกว่า "ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม" ที่ปฏิบัติภารกิจด้านทำนุบำรุง ส่งเสริมเผยแพร่และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมต่อมาเมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย พ.ศ.2538 ทำให้ชื่อ "ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม" ที่เคยใช้มาแต่เดิมเปลี่ยนเป็น "สำนักศิลปวัฒนธรรม" โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
 
1.เพื่อให้เป็นแหล่งศักษาค้นคว้าข้อมูลทางวัฒนธรรม 
2.เพื่อจัดแสดงนิทรรศการทั้งถาวรและหมุนเวียนที่เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม ท้องถิ่น 
3.เพื่อศึกษาค้นคว้าและวิจัยเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น 
4.เพื่อส่งเสริมและจัดกิจกรรมรณรงค์วัฒนธรรมสู่นักศึกษาและประชาชน ทั่วไป ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย 
5.เพื่อจัดกิจกรรมและสร้างเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สืบสาน ด้านวัฒนธรรมท้องถิ่นให้กว้างขวางมากขึ้น

โดยภายในสำนักศิลปวัฒนธรรมได้มีการจัดแหล่งค้นคว้าให้ความรู้แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ 

1.ข้อมูลสารสนเทศที่เป็นวัตถุทางวัฒนธรรม ในกลุ่มข้อมูลสารสนเทศที่เป็นวัตถุทางวัฒนธรรม 
ได้แก่ ข้อมูลประเภทเทปบันทึกเสียง CD เครื่องปั้นดินเผา และวัตถุที่ใช้ประกอบพิธีกรรม 

2.ข้อมูลสารสนเทศที่เป็นเอกสารสิ่งพิมพ์ สำหรับข้อมูลที่เป็นเอกสารสิ่งพิมพ์ แบ่งย่อยออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ 


2.1.เอกสารสิ่งพิมพ์ทั่วไปของห้องบริการค้นคว้าข้อมูลสำนักศิลปะวัฒนธรรม ข้อมูลที่ให้บริการเป็นข้อมูลเฉพาะด้าน
ศิลปวัฒนธรรมของ สำนักศิลปวัฒนธรรม ปัจจุบัน ข้อมูลที่เป็นเอกสารสิ่งพิมพ์ทั่วไปของห้องบริการค้นคว้า ข้อมูลมีจำนวน 4,000 เล่ม จัดทำระบบแล้ว จำนวน 3,700 เล่ม 
2.2.เอกสารโบราณของล้านนาที่เก็บรวบรวมไว้ในคลังข้อมูลของ สำนักศิลปวัฒนธรรม มีจำนวน 517 ผูก มีทั้งที่เป็นคัมภีร์ ใบลาน พับสา และคัมภีร์ธรรมรุ่นใหม่ที่เป็นสมุดจารซึ่งจารด้วยตัวอักษร ล้านนา ตัวอักษรพม่า และตัวฝักขาม ที่อยู่ระหว่างการดำเนินงาน จัดทำระบบข้อมูลเอกสารโบราณ โดยแบ่งเป็นทั้งหมด 21 หมวด 


ในส่วนของหอนิทรรศการ มีที่มาคือ ในช่วงที่ผู้บริหารของสถาบันฯ ในขณะนั้น คือ ผศ.สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์ เล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องมีสถานที่อย่างเป็นเอกเทศในการจัดกิจกรรมเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม จึงได้จัดสร้างอาคารขึ้นหลังหนึ่งให้เป็น ”หอนิทรรศการ” สำหรับจัดนิทรรศการหมุนเวียนตลอดทั้งปี และได้เป็นสถานที่จัดงานนิทรรศการครั้งสำคัญ “ศิลปะสล่าเชียงราย” เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2542 ในโอกาสครบรอบ 25 ปีของสถาบันราชภัฏเชียงราย และต่อมาผู้บริหารของสถาบัน ผศ.ดร.มาณพ ภาษิตวิไลธรรม ได้เห็นถึงความสำคัญของการที่จะต้องมีแหล่งสะสมและจัดแสดงผลงานศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินในท้องถิ่น จึงได้มีการสร้างอาคารให้เป็นหอศิลปะ “CHIANGRAI ART MUSEUM” ขึ้น และได้กำหนดพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 6 สิงหาคม 2547 ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ 

ข้อมูลจาก http://ctc.ricr.ac.th/history.html[accessed 20070214]
ชื่อผู้แต่ง:
-