โดย:
วันที่: 21 มิถุนายน 2562
การจัดทำพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านตำบลเวียงเหนือเกิดขึ้นจากการความต้องการของชุมชนโดยใช้พื้นที่ของอาคารศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมชุมชน ที่ตั้งอยู่ในโรงเรียนเวียงชัยพิทยา ซึ่งเป็นอาคารที่เกิดขึ้นจากพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แต่เดิมเป็นอาคารแบบเปิด ต่อมาท่านพระครูพิธานพิพัฒนคุณ เจ้าอาวาสวัดพนาลัยเกษมได้ปรับปรุงให้เป็นอาคารที่เหมาะสมต่อการจัดแสดงเรื่องราวทางวัฒนธรรมของชุมชน
ต่อมาทางสำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายได้ใช้พื้นที่ตำบลเวียงเหนือในการทำวิจัยภายใต้นโยบาย “หนึ่งคณะ หนึ่งพื้นที่ หนึ่งนวัตกรรม” (Triple-One) เพื่อพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของชุมชน รวมทั้งข้อมูลพื้นของชุมชนที่แสดงถึงคุณค่าทางวัฒนธรรมของตำบลเวียงเหนือ และถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีการบูรณาการองค์ความรู้ทางสังคมด้านต่างๆ เช่น การศึกษาบริบทชุมชน การสืบค้นประวัติศาสตร์ท้องถิ่น การพัฒนาเครือข่ายชุมชน ซึ่งได้ผลผลิตเป็นนวัตกรรมทางสังคม สามารถช่วยเหลือชุมชนเบื้องต้นได้เป็นอย่างดี จึงมีการต่อยอดงานวิจัยเพื่อให้เกิดการบูรณาการงานวิจัยกับการบริการวิชาการอย่างเป็นรูปธรรม จึงเกิดการจัดทำพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านตำบลเวียงเหนือขึ้นมา
ภายในอาคารจัดแสดงแบ่งออกเป็น 5 โซน คือ
1. ข้อมูลแสดงพัฒนาการของชุมชนในรูปของ time line
2. โต๊ะทรงงานของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อครั้งมาเยี่ยมชม
3. ปราชญ์ชุมขนตำบลเวียงเหนือ
4. วัตถุทางวัฒนธรรม วิถีชีวิตชุมชน และประเพณี
5. แหล่งวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชุมชนคนเวียงเหนือ
ข้อมูลจาก:
แผ่นพับประชาสัมพันธ์พิพิธภัณพ์พื้นบ้านตำบลเวียงเหนือ
จ. เชียงราย
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านตำบลเวียงเหนือ
การจัดทำพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านตำบลเวียงเหนือเกิดขึ้นจากการความต้องการของชุมชนโดยใช้พื้นที่ของอาคารศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมชุมชน ที่ตั้งอยู่ในโรงเรียนเวียงชัยพิทยา ซึ่งเป็นอาคารที่เกิดขึ้นจากพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แต่เดิมเป็นอาคารแบบเปิด ต่อมาท่านพระครูพิธานพิพัฒนคุณ เจ้าอาวาสวัดพนาลัยเกษมได้ปรับปรุงให้เป็นอาคารที่เหมาะสมต่อการจัดแสดงเรื่องราวทางวัฒนธรรมของชุมชน
ต่อมาทางสำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายได้ใช้พื้นที่ตำบลเวียงเหนือในการทำวิจัยภายใต้นโยบาย “หนึ่งคณะ หนึ่งพื้นที่ หนึ่งนวัตกรรม” (Triple-One) เพื่อพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของชุมชน รวมทั้งข้อมูลพื้นของชุมชนที่แสดงถึงคุณค่าทางวัฒนธรรมของตำบลเวียงเหนือ และถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีการบูรณาการองค์ความรู้ทางสังคมด้านต่างๆ เช่น การศึกษาบริบทชุมชน การสืบค้นประวัติศาสตร์ท้องถิ่น การพัฒนาเครือข่ายชุมชน ซึ่งได้ผลผลิตเป็นนวัตกรรมทางสังคม สามารถช่วยเหลือชุมชนเบื้องต้นได้เป็นอย่างดี จึงมีการต่อยอดงานวิจัยเพื่อให้เกิดการบูรณาการงานวิจัยกับการบริการวิชาการอย่างเป็นรูปธรรม จึงเกิดการจัดทำพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านตำบลเวียงเหนือขึ้นมา
ภายในอาคารจัดแสดงแบ่งออกเป็น 5 โซน คือ
1. ข้อมูลแสดงพัฒนาการของชุมชนในรูปของ time line
2. โต๊ะทรงงานของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อครั้งมาเยี่ยมชม
3. ปราชญ์ชุมขนตำบลเวียงเหนือ
4. วัตถุทางวัฒนธรรม วิถีชีวิตชุมชน และประเพณี
5. แหล่งวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชุมชนคนเวียงเหนือ
ข้อมูลจาก:
แผ่นพับประชาสัมพันธ์พิพิธภัณพ์พื้นบ้านตำบลเวียงเหนือ
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
เอกสารโบราณ
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัฒนธรรมไทยวน คนเมืองล้านนา
จ. เชียงราย
พิพิธภัณฑ์ทหารจังหวัดทหารบกเชียงราย บ้านจอมพล ป.พิบูลสงคราม
จ. เชียงราย
หอนิทรรศการ สำนักงานศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
จ. เชียงราย