อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ หอพิพิธนิทัศน์ หรือที่รู้จักกันว่า "หอฝิ่น" เป็นพิพิธภัณฑสถานที่เป็นกิจกรรมหนึ่งของโครงการในมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ได้รับการสนับสนุนงบประมาณการจัดสร้างจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและงบประมาณรัฐบาลญี่ปุ่นในโครงการ JBIC เริ่มดำเนินการจัดสร้างอาคารจัดแสดงและอาคารประกอบอื่นๆ เมื่อ พ.ศ.2543 หอพิพิธนิทัศน์มุ่งหมายเพื่อให้ความรู้ในเรื่องความเป็นมาของฝิ่น ที่มีความเกี่ยวข้องกับพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งอยู่ใกล้บริเวณที่จัดสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งนี้ หอฝิ่น จัดเสนอเนื้อหาประวัติศาสตร์และพัฒนาการของฝิ่น และสารเสพติดที่ได้จากฝิ่น สงครามฝิ่น ขบวนการค้ายาเสพติด ที่ซับซ้อนอยู่ในทุกส่วนของโลกสารเสพติดอื่น ๆ ผลกระทบของยาเสพติดต่อสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และต่อบุุคคล ผู้เข้าชมได้มีปฏิสัมพันธ์ สัมผัสตระหนักถึงมหันตภัย เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อปัญหาจากฝิ่นและสารเสพติด ได้ครุ่นคิดถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้และร่วมกันแก้หรือควบคุมปัญหายาเสพติด ตลอดจนนำความรู่ไปใช้ในชีวิตจริง
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 1/17/2547
ที่มา: เดลินิวส์
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 2/16/2547
ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: thanin weeradet | ปีที่พิมพ์: 10/10/2545
ที่มา: Bangkok Post
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: สุทธาสินี จิตรกรรมไทย | ปีที่พิมพ์: 15/07/2548
ที่มา: มติชนรายวัน
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: ทวีวงศ์ ศรีบุรี | ปีที่พิมพ์: 2536
ที่มา: กรุงเทพฯ: สำนักบริการวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แหล่งค้นคว้า: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
หอฝิ่น
หอฝิ่น เกิดขึ้นจากพระราชปรารภของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อครั้งเสด็จทอดพระเนตร"สามเหลี่ยมทองคำ" อันประกอบไปด้วยดินแดนของประเทศลาว พม่าและไทย ที่ชาวโลกรู้จักเพียงแค่เป็นที่ปลูกฝิ่น ผลิต และค้ายาเสพติดแหล่งใหญ่ อันเป็นเหตุให้เสียชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของประเทศ
จากการแก้ปัญหาเรื่องยาเสพติดของโครงการพัฒนาดอยตุงฯ โครงการในพระราชดำริของพระองค์ ที่สามารถลดอุปทาน (supply) ของการผลิตและค้าฝิ่นที่ประสบผลสำเร็จอย่างดี จึงทรงมีพระราชดำริที่จะให้ประชาชนได้เรียนรู้เรื่องมหันตภัยอันเกิดจากฝิ่นและสารเสพติดเพื่อลดอุปสงค์ (demand) ของการใช้สารเสพติดทั้งปวงด้วย
มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้ดำเนินการตามพระราชปรารภโดยจัดสร้างหอฝิ่น ในพื้นที่บริเวณบ้านสบรวก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย โดยค้นคว้า รวบรวมข้อมูลเรื่องราวเกี่ยวกับฝิ่น และสารเสพติดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2542 โดยตลอดระยะเวลา 6 ปี ของการก่อสร้างก็ได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน ในหลายมิติจากทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ที่ให้การสนับสนุนด้านการจัดหางบประมาณ ด้านข้อมูล รูปภาพ วัตถุอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อการจัดแสดงนิทรรศการ
หอฝิ่นจึงเป็นดอกผลแห่งแรงบันดาลใจในการสืบสานแนวพระราชดำริสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สำเร็จเรียบร้อยสมบูรณ์และเปิดให้สาธารณชนเข้าชมได้อย่างเป็นทางการ เมื่อปี พ.ศ.2548
หอฝิ่น จัดเสนอเนื้อหาประวัติศาสตร์และพัฒนาการของฝิ่น และสารเสพติดที่ได้จากฝิ่น สงครามฝิ่น ขบวนการค้ายาเสพติด ที่ซับซ้อนอยู่ในทุกส่วนของโลกสารเสพติดอื่น ๆ ผลกระทบของยาเสพติดต่อสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และต่อบุุคคล ผู้เข้าชมได้มีปฏิสัมพันธ์ สัมผัสตระหนักถึงมหันตภัย เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อปัญหาจากฝิ่นและสารเสพติด ได้ครุ่นคิดถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้และร่วมกันแก้หรือควบคุมปัญหายาเสพติด ตลอดจนนำความรู่ไปใช้ในชีวิตจริง
หอฝิ่น จึงไม่ได้เป็นเพียงแหล่งเรียนรู้ที่ให้ข้อคิดเท่านั้น ยังเป็นสื่อสัญลักษณ์สะท้อนอานุภาพแห่งพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ ที่ทรงห่วงใยประชาชาติ และราษฏรไทยที่ต้องเผชิญภัยคุกคามจากยาเสพติดและได้ทรงทุ่มเทความพยายามแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง กระทั่งเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติและองค์การสหประชาชาติ ได้ลบชื่อประเทศไทยออกจากรายนามประเทศที่มีการปลูกฝิ่นอันดับโลกนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา
ภายในอาณาเขต 250 ไร่ ของหอฝิ่น นอกจากอาคารที่จัดแสดงนิทรรศการยาเสพติด ที่เป็นหัวใจสำคัญแล้ว ยังมีศูนย์ประชุม และที่พักสำหรับให้บริการประชาชนทั่วไปอีกด้วย
ท่องประวัติศาสตร์อันยาวนานของฝิ่น
ฝิ่น เป็นตัวยาที่ได้จากพืชเก่าแก่ที่สุดตัวหนึ่งในประวัติศาสตร์มีประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติมาเป็นเวลานานนับศตวรรษ โดยมีประสิทธิภาพในการลดความปวด แก้ท้องเสีย และลดอาการไอ และเป็นพืชชนิดเดียวที่อยู่ในยาแก้ปวดทุกชนิดที่ใช้กันจนทุกวันนี้ แต่ด้วยประสิทธิภาพอันทรงพลังในการกล่อมประสาท ฝิ่นจึงถูกนำมาใช้ในทางที่ผิด เพื่อเสพให้เคลิบเคลิ้มหลุดพ้นจากโลกของความเป็นจริง เกิดเป็นการค้าที่มีผลประโยชน์มหาศาล มีการผลิต การลักลอบค้าฝิ่นที่ทะลักเข้ามาในดินแดนเอเซียและสยามประเทศ ก่อให้เป็นปัญหาที่แก้ไม่ตกทั่วโลก
นอกจากนี้ในหอฝิ่นยังมีเรื่องราวของปัญหายาเสพติดต่าง ๆ ที่เพิ่มความซับซ้อนและรุนแรงมากขึ้น การค้ายาเสพติดเพื่อหาเงินทุนสำหรับการซื้ออาวุธและการทำสงครางล่อลวงให้เกิดการฉ้อราษฏร์บังหลวง ตลอดจนพิษภัยจากการสูบฝิ่นและยาเสพติดชนิดอื่น ๆ ตลอดจนรายละเอียดต่าง ๆ ของสนธิสัญญาฝิ่น กฎหมายเกี่ยวกับฝิ่น องค์กรที่แก้ปัญหานี้ มาตรการควบคุมและปราบปรามยาเสพติดและกรณีศึกษาที่นำเสนอทางเลือกและโอกาสที่จะต่อสู้กับความเย้ายวนจากสารเสพติด
นับแต่ก้าวแรกของการเข้าชม ทุกท่านจะได้เดินผ่าน "อุมงคมุข" อุโมงค์แห่งกาลเวลาที่เจาะทะลุเนินเขาเข้าไปยังอาคารขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถมองเห็นจากภายนอก ผนังของทางเดินที่ยาว 137 เมตร แสดงภาพของผู้คนที่กำลังทนทุกข์ทรมานแสนสาหัสจากการตกเป็นเหยื่อของความชั่วร้ายของฝิ่นและสิ่งเสพติด
การจัดลำดับและเนื้อหาอย่างเป็นขั้นตอน เข้าใจง่าย ประกอบด้วยแสง สี เสียง เทคนิคต่าง ๆ ภาพถ่าย ภาพยนตร์ และวีดีทัศน์ตลอดจนการแสดงอุปกรณ์การสูบและขายฝิ่น ซึ่งได้รวบรวมจากหลายประเทศทั่วโลก จะนำผู้เข้าชมนิทรรศการสู่อีกมิติของกาลเวลานำพาสู่การเรียนรู้และชวนขบคิดอย่างแท้จริง
หอฝิ่น ได้รับรางวัล PATA Gold Award ในสาขาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้จากสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก (PATA) ในปี พ.ศ. 2547 และรางวัลดีเด่นในฐานะแหล่งท่องเที่ยวเพื่อนันทนาการ (the 6th Thailand Tourism Award 2006) จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เพื่อ พ.ศ. 2549 และยังเป็นที่กล่าวขวัญว่า เป็นนิทรรศการที่จัดแสดงได้ดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทยและของเอเชีย
รีวิวของหอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
ประวัติศาสตร์และโบราณคดี มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ยา เส้นทางการค้า ฝิ่น ยาเสพติด สงครามฝิ่น
พิพิธภัณฑ์หมูป่า 13 ชีวิต ติดถ้ำหลวง
จ. เชียงราย
เฮือนเอื้อยคำ
จ. เชียงราย
พิพิธภัณฑ์บ้านขุนส่า
จ. เชียงราย