หอวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษกจังหวัดเชียงราย


หอวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษกจังหวัดเชียงราย จัดตั้งขึ้นเนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี เปิดดำเนินงานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2539 โดยใช้อาคารศาลากลางหลังเก่าเป็นสถานที่จัดแสดง มีองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายดูแลรักษา บริหาร จัดการ การจัดแสดงแบ่งเป็นห้องต่าง ๆ จำนวน 6 ห้อง ได้แก่ ห้องที่ 1 "พระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รอยพระบาท" นำเสนอในลักษณะนิทรรศการถาวรเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และพระบรมวงศานุวงศ์ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ห้องที่ 2 "ประวัติความเป็นมาของเมืองเชียงราย" ห้องที่ 3 "ชนพื้นเมืองและกลุ่มชาติพันธุ์" นำเสนอความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่ในจังหวัดเชียงราย ห้องที่ 4 "ภาษาและวรรณกรรม" นำเสนอเอกสารโบราณ ที่แสดงถึงวัฒนธรรมทางภาษาและภูมิปัญญาของบรรพบุรุษชาวล้านนา ห้องที่ 5 "วัฒนธรรม 5 เชียง" นำเสนอ วิถีชีวิตของกลุ่มชนในอดีตและปัจจุบันที่อาศัยใน ห้าเชียง ได้แก่เชียงราย เชียงใหม่ เชียงตุง เชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) เชียงทอง (หลวงพระบาง) ห้องที่ 6 "สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ" นำเสนอโดยหุ่นจำลอง ภาพถ่าย และคอมพิวเตอร์ ในเรื่องโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ เบื้องหลังการรวมตัวของทั้ง 4 ประเทศ คือ ไทย จีน ลาว และพม่า และศักยภาพของเมืองเชียงรายกับโครงการดังกล่าว

ที่อยู่:
อาคารศาลากลางหลังเก่า ถ.สิงหไคล อ.เมือง จ.เชียงราย 57000
โทรศัพท์:
0-5374-4519
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน 09.00-16.00 น.
ค่าเข้าชม:
ผู้ใหญ่ 10 บาท เด็ก 10 บาท
ปีที่ก่อตั้ง:
2540

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

รีวิวของหอวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษกจังหวัดเชียงราย

จังหวัดเชียงราย โดยคณะกรรมการศึกษา การศาสนา และการวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย (ศศว.จ.) มีความคิดที่จะจัดตั้งหอศิลปวัฒนธรรมประจำจังหวัดขึ้น โดยใช้อาคารศาลากลางจังหวัดหลังเดิมเป็นสถานที่ตั้ง ต่อมา ได้รับความร่วมมือจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ให้นำโครงการดังกล่าว เข้าร่วมในโครงการหอวัฒนธรรมนิทัศน์เฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก เนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี เปิดดำเนินงานอย่างเป็น ทางการเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2539 สำหรับการบริหารจัดการหอวัฒนธรรมนิทัศน์ จังหวัดเชียงรายได้มอบให้สภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เป็นหน่วยงานดูแลรักษา แต่เนื่องจากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดขาดงบประมาณและบุคลากรในการดำเนินงาน จึงทำให้การบริหารจัดการเป็นไปด้วยความยากลำบาก จึงมอบให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายดูแลรักษา บริหาร จัดการ เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2544 
 
ตัวอาคารพิพิธภัณฑ์มี 2 ชั้น การจัดแสดงแบ่งเป็นห้องต่าง ๆ จำนวน 6 ห้อง ตามแต่เนื้อหา
 
ห้องที่ 1 "พระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รอยพระบาท" นำเสนอในลักษณะนิทรรศการถาวรเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และพระบรมวงศานุวงศ์ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย 
 
ห้องที่ 2 "ประวัติความเป็นมาของเมืองเชียงราย"นำเสนอข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงราย เริ่มตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ สมัยสถาปนาเมืองเชียงราย เมืองเชียงรายแห่งราชอาณาจักรสยาม และเชียงรายปัจจุบัน 
ห้องที่ 3 "ชนพื้นเมืองและกลุ่มชาติพันธุ์" นำเสนอความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่ในจังหวัดเชียงราย ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในระยะต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน 
 
ห้องที่ 4 "ภาษาและวรรณกรรม" นำเสนอเอกสารโบราณ ได้แก่ ใบลาน พับสา ศิลาจารึก บันทึกเรื่องต่าง ๆ เช่น ตำนาน ชาดก ตำรายาสมุนไพร คำสอน พิธีกรรม คำคร่าว คำเครือ บทเพลง กฎหมาย นิทาน และโหราศาสตร์ เป็นต้น ที่แสดงถึงวัฒนธรรมทางภาษาและภูมิปัญญาของบรรพบุรุษชาวล้านนา 
 
ห้องที่ 5 "วัฒนธรรม 5 เชียง" นำเสนอ วิถีชีวิตของกลุ่มชนในอดีตและปัจจุบันที่อาศัยใน ห้าเชียง ได้แก่เชียงราย เชียงใหม่ เชียงตุง เชียงรุ่ง (สิบสองปันนา) เชียงทอง (หลวงพระบาง) ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่ต่างก็เป็นเครือญาติที่มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ คล้ายคลึงกัน การเกิดขึ้นของรัฐชาติในเวลาต่อมา ทำให้สายสัมพันธ์ปิดกั้นลงนับครึ่งศตวรรษ
ปัจจุบัน การพัฒนาในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน ตามนโยบายสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจได้สานสายสัมพันธ์ของห้าเชียงขึ้นอีกครั้ง ทั้งทางเศรษฐกิจ การค้า การคมนาคม การแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว 
 
ห้องที่ 6 "สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ"นำเสนอโดยหุ่นจำลอง ภาพถ่าย และคอมพิวเตอร์ ในเรื่องโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ เบื้องหลังการรวมตัวของทั้ง ๔ ประเทศ คือ ไทย จีน ลาว และพม่า ศักยภาพของเมืองเชียงรายกับโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจด้านการศึกษา การคมนาคมการสื่อสาร การบริการ ศิลปวัฒนธรรม การท่องเที่ยว
 
ข้อมูลจาก: 
1. แผ่นพับประชาสัมพันธ์ หอวัฒนธรรมนิทัศน์เฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก จังหวัดเชียงราย
2. เวปไซต์สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย [http://intranet.m-culture.go.th/chiangrai/database-culture.htm]
ชื่อผู้แต่ง:
-