พิพิธภัณฑ์ชาวเขา ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2545 เพื่อเป็นสถานที่สำหรับการส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับชนบนพื้นที่สูงในจังหวัดเชียงราย และยังเป็น “เวที” ในการประชาสัมพันธ์ผลงานต่าง ๆ ในการทำงานของสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (พีดีเอ) ส่วนจัดแสดงตั้งอยู่บนชั้น 3 ของอาคารสมาคมฯ พีดีเอ ภายในพิพิธภัณฑ์ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ ห้องฉายสไลด์ประกอบคำบรรยายนำเสนอวิถีชีวิตความเป็นอยู่ นิทรรศการ และร้านขายของที่ระลึก ส่วนจัดแสดงนำเสนอชีวิตความเป็นอยู่และวัฒนธรรม วัตถุสิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้ทางการเกษตร เครื่องจักสาน เครื่องมือล่าจับดักสัตว์ เครื่องดนตรี ชุดแต่งกายประจำเผ่า รวมทั้งข้อมูลที่น่ารู้เกี่ยวกับชนบนพื้นที่สูง 6 กลุ่มชาติพันธุ์ คือ อาข่า ลีซอ กะเหรี่ยง มูเซอ เย้า และม้ง
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
ชื่อผู้แต่ง: ชายชาญ ไชยมั่น | ปีที่พิมพ์: ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเส็ง 2544
ที่มา: ข่าวสด
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: สุทัศน์ ศรีปัญญา | ปีที่พิมพ์: 25/12/37
ที่มา: มติชนรายวัน
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
พิพิธภัณฑ์และศูนย์ศึกษาชาวเขา ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อราวทศวรรษ1990 เพื่อเป็นสถานที่สำหรับการส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับชนบนพื้นที่สูงในจังหวัดเชียงราย และยังเป็น “เวที” ในการประชาสัมพันธ์ผลงานต่าง ๆ ในการทำงานของสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (พีดีเอ) ในการสนทนากับ นายอัลเบอร์โต ซี ลา ปาซ ภัณฑารักษ์สัญชาติฟิลิปปินส์ที่ใช้ชีวิตในเชียงรายตั้งแต่ ค.ศ. 2000 ผู้เขียนมีโอกาสสัมสัมผัสถึงรูปแบบการทำงานพิพิธภัณฑ์ภายใต้เงื่อนไขที่จำกัด แต่ยังคงใช้ความอุตสาหะดังกล่าวในการถ่ายทอดวิถีชีวิตของชนบนพื้นที่สูงให้กับผู้ที่มาเยือน
พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่บนชั้น 3ของอาคารสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน และเป็นหน่วยงานที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นการหารายได้ภายใต้บริษัท ออล นอร์ธ จำกัด รูปแบบการดำเนินงานดังกล่าวมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ดังนั้น เมื่อพิพิธภัณฑ์ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของการหารายได้ เช่นเดียวกับร้านอาหาร ซีแอนด์ซี และการจัดการท่องเที่ยวชุมชนหรือ Community-based tourismในกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ จึงทำให้สมาคมสร้างกลไกบริหารจัดการที่ไม่ขัดต่อเจตนารมย์ขององค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ต่อเมื่อบริษัทที่จัดตั้งเพื่อการหารายได้ดำเนินกิจกรรมที่ส่งผลต่อกำไร จึงบริจาคเงินดังกล่าวให้กับสมาคม
ภายในมีการจัดแสดงและจัดฉายสไลด์โชว์วิถีชีวิตความเป็นอยู่ วัตถุสิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้ ชุดแต่งกายประจำเผ่า รวมทั้งข้อมูลที่น่ารู้เกี่ยวกับชนบนพื้นที่สูง 6 กลุ่มชาติพันธุ์ คือ อาข่า ลีซอ กะเหรี่ยง มูเซอ เย้า และม้ง พื้นที่บนชั้น 3แบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่สำหรับการบริการกับผู้มาเยี่ยมชม ในส่วนนิทรรศการหลัก เป็นการบอกเล่าเรื่องกลุ่มชน แม้ภาพโดยรวมของพิพิธภัณฑ์และศูนย์ศึกษาชาวเขาแห่งนี้ จะไม่แตกต่างจากพิพิธภัณฑ์ที่บอกเล่าเรื่องราวของชนบนพื้นที่สูง หรืออย่างที่คนทั่วไปเรียกว่า “ชาวเขา” แต่เรื่องเล่าของคุณอัลเบอร์โต หรืออย่างที่เพื่อนร่วมงานมักเรียก “คุณเบิร์ด” มีความน่าสนใจไม่น้อย
บริเวณแรกเป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับประชากรชนบนพื้นที่สูง 6 กลุ่มชาติพันธุ์ โดยเน้นการจัดแสดงตามแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ ด้วยวัตถุที่พบในชีวิตประจำวัน เช่น เครื่องมือการเกษตร เครื่องมือล่าสัตว์ สิ่งของที่ใช้ภายในครัวเรือนที่ทำจากไม้เนื้อแข็งและไม้ไผ่ นอกจากยังนี้ ยังมีเรือนจำลองของกลุ่ม เช่น อาข่า เมี่ยนหรือเย้า กะเหรี่ยง เพื่อแสดงให้เห็นรูปแบบของการอยู่อาศัย ในอาณาบริเวณดังกล่าว คุณเบิร์ดยังกล่าวถึงเนื้อหาสำคัญเกี่ยวกับ “ฝิ่น” ซึ่งเป็นเรื่องราวที่มักจะรับรู้กันในหมู่นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ จากสื่ิอสิ่งพิมพ์ โปสการ์ด ฯลฯ ถึงบริเวณสามเหลี่ยนทองคำ และการปลูกฝิ่นในพื้นที่สูง คุณเบิร์ดให้ข้อสังเกตถึงสิ่งที่นักท่องเที่ยวมัก “ไม่รู้” เกี่ยวกับเรื่องฝิ่น
ตัวอย่างเช่นฝิ่นนอกจากจะรับรู้กันโดยทั่วไปว่าเป็นพืชเสพย์ติดที่มีการแปรรูปจากบวบฝิ่นแล้ว ฝิ่นยังเป็นยารักษาโรคหลาย ๆ โรค เช่น การผลิตมอร์ฟีน เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดให้กับผู้ป่วยที่มีโรคร้ายแรง หรือกระทั่งความรู้ที่ว่าฝิ่นนั้นไม่ใช่สิ่งผิดกฎหมายในระยะเวลาหนึ่ง ฉะนั้น การปลูกฝิ่นจึงลงรากอยู่ในหลายพื้นที่ของสามเหลี่ยมทองคำด้วยภูมิอากาศที่เหมาะสม การเหมารวมถึงภาพลบเกี่ยวกับชนบนพื้นที่สูง ควรได้รับการทบทวนและเป็นหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์อยู่เองที่จะต้องให้ความรู้กับนักท่องเที่ยวเช่นกัน นอกเหนือจากเนื้อหาที่กล่าวมาแล้ว ยังปรากฏวัตถุที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการบริโภฝิ่นอีกจำนวนหนึ่งในตู้จัดแสดง
ในบริเวณหลัก ยังให้บริการสื่อโสตทัศน์ที่บอกเล่าข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหก โดยไล่เรียงให้เห็นประวัติการเคลื่อนย้ายของแต่ละกลุ่ม และการตั้งถิ่นฐานในจังหวัดเชียงรายและอีกหลายพื้นที่ในภาคเหนือของประเทศ จากนั้นเป็นการหยิบยกประเพณีบางประการของกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น เครื่องแต่งกาย รูปแบบการแต่งงานและเครือญาติ รวมถึงความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะการท่องเที่ยวที่ส่งผลกระทบของชุมชนทั้งในเชิงบวก เช่น การพัฒนารายได้ให้กับคนในพื้นที่ หรือในเชิงลบ เช่น การใช้เอาเปรียบจากนายทุนนอกพื้นที่กับการท่องเที่ยวที่ไม่เคารพกลุ่มชาติพันธุ์
การจัดแสดงอีกส่วนหนึ่ง เน้นวัฒนธรรมทางวัตถุที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์ ประกอบด้วยหมวดใหญ่ ๆ 2หมวด นั่นคือ เครื่องแต่งกาย กับวัสดุไม้ไผ่และเครื่องจักสาน สำหรับวัสดุไม้ไผ่และเครื่องจักสานนั้น คุณเบิร์ด ยกตัวอย่างของปอกคอสำหรับแม่หมูที่ใช้โดยหลายกลุ่มชาติพันธุ์ ลักษณะของวัตถุเป็นไม้ไผ่สามชิ้นประกอบเป็นรูปสามเหลี่ยม โดยแต่ละมุมของวัตถุจะทำหน้าที่ให้การป้องกันไม่ให้แม่หมูใช้จมูกในการแทงรั้วและแหวกออกมาสู่ภายนอกคอก เพื่อหลีกเลี่ยงการทำลายพืชผลทางการเกษตรหรือแม่หมูอาจสร้างความเสียหายกับเพื่อนบ้าน คุณเบิร์ดตั้งข้อสังเกตถึงรูปแบบการใช้ประโยชน์ไม้ไผ่ ซึ่งเป็นพืชที่พบได้มากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และรูปแบบการใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาชนะ เครื่องมือดักสัตว์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์ในครัวเรือน ล้วนแสดงให้เห็นภูมิปัญญาที่สั่งสมมาในหมู่ชน ฉะนั้น การจัดแสดงเครื่องจักสานและวัสดุไม้ไผ่นับเป็นเรื่องราวสำคัญอย่างยิ่งที่จะสะท้อนให้วัฒนธรรมของชนบนพื้นที่สูงได้เป็นอย่างดี
เครื่องแต่งกายเป็นอีกหมวดของวัฒนธรรมทางวัตถุที่นำเสนอภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ หุ่นจำลองการแต่งกายทั้งชายและหญิงทั้งหกกลุ่มชาติพันธุ์สะท้อนงานฝีมือสำคัญ ๆ ของสตรีของกลุ่มชาติพันธุ์และการสืบทอดระหว่างชั่วอายุคน อย่างไรก็ดี คุณเบิร์ดตั้งข้อสังเกตว่า ความรู้เกี่ยวกับการทอผ้านั้นเริ่มประสบปัญหาไม่น้อย เพราะลูกหลานรุ่นใหม่ ๆ มักทำงานในเมืองและไม่มีโอกาสสืบทอดความรู้ในการทอผ้าจากแม่ของพวกเธอ สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่ง คือเครื่องสวมศีรษะ เป็นงานฝีมือที่สะท้อนทั้งความงดงามของการปักและการประดับ อย่างไรก็ดี เครื่องสวมศีรษะกลับกลายเป็นสิ่งแสดงถึงความหลากหลายของกลุ่มย่อยในแต่ละชาติพันธุ์ เพราะแบบแผนของเครื่องแต่งกายเองมีรายละเอียดที่แตกต่างกันได้เช่นกัน แม้จะเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกัน
ผู้ที่มาเยี่ยมเยือน ณ พิพิธภัณฑ์ชาวเขา (พีดีเอ) ยังสามารถซื้อสินค้าที่ระลึกจากฝีมือของชนพื้นที่สูงเมื่อเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์แล้ว อย่างไรก็ดี คุณเบิร์ดให้ข้อสังเกตว่า สินค้าที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกลับไม่ใช้งานฝีมือที่ผลิตจากชนบนพื้นที่สูงโดยตรง เพราะรูปแบบของสินค้าไม่สอดคล้องกับรสนิยม เช่นผ้าปัก ซึ่งมีราคาสูง สินค้าที่แปรรูปโดยใช้ชิ้นส่วนงานฝีมือประกอบเข้ากับงานที่ประยุกต์ให้เข้ากับมักได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว แต่ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่ใช้งานฝีมือที่ผลิตจากชนบนพื้นที่สูงโดยตรง
สำหรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือนพิพิธภัณฑ์ ยังสามารถร่วมเดินทางท่องเที่ยวกับโปรแกรมทัวร์ที่ประเภทหนึ่งวัน โดยเฉพาะการท่องเที่ยวที่จัดโดยชุมชนที่ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนโดยสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน จึงกล่าวได้ว่า พิพิธภัณฑ์และศูนย์ศึกษาชาวเขาเน้นกิจกรรมการให้ความรู้ที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชนบนพื้นที่สูง แม้จะไม่ใช่ศูนย์วิจัยทางชาติพันธุ์วิทยาโดยเฉพาะ แต่พิพิธภัณฑ์และศูนย์ศึกษาชาวเขาเป็นเหมือนกับโอกาสที่ชนบนพื้นที่สูงจะได้สื่อสารกับผู้มาเยี่ยมเยือนจังหวัดเชียงราย
ในช่วงท้ายของการสนทนา เมื่อผู้เขียนสอบถามถึงแผนการในอนาคต คุณเบิร์ดไม่มีความคิดเห็นใดเป็นการเฉพาะ ด้วยตนเองเป็นเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิที่มีเวลาการทำงานอีกไม่กี่ปี จึงเป็นโอกาสที่ผู้ทำหน้าที่ดูแลต่อจะได้สร้างสรรค์และพัฒนางานพิพิธภัณฑ์ในแบบฉบับของตนเองมากกว่า ในเวลานั้น สำหรับคุณเบิร์ด คืองานบริการและให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชนพื้นที่สูง และหากผู้มาเยือนมีเวลามากเพียงพอ จะได้รับคำแนะนำให้เดินทางไปยังหมู่บ้านที่ได้รับการพัฒนาไว้สำหรับต้อนรับผู้มาเยือน เพื่อสัมผัสขีวิตจริง และผู้มาเยือนยังได้รับชมการสาธิตการล่าสัตว์เล็ก อันสะท้อนถึงการปรับตัวของชนบนพื้นที่สูงกับสภาพแวดล้อม จึงเรียกได้ว่า พิพิธภัณฑ์และศูนย์ศึกษาชาวเขาเป็นทั้งผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และเป็น “สื่อ” ที่จะช่วยประชาสัมพันธ์ให้ผู้คนเรียนรู้กันและกันได้มากยิ่งขึ้น.
ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ เขียน
สำรวจภาคสนามวันที่ 29 พฤศจิกายน 2560
ข้อมูลจาก:
1. การสำรวจภาคสนาม วันที่ 29 กันยายน 2547
2. แผ่นพับประชาสัมพันธ์ สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน เชียงราย
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชนเชียงราย องค์กรพัฒนาเอกชน
หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ
จ. เชียงราย
บ้านดำ อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี
จ. เชียงราย
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดหลวง
จ. เชียงราย