พิพิธภัณฑ์เมืองพิษณุโลก


ก่อตั้งโดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม โดยใช้อาคารคอมพิวเตอร์หลังเก่าของมหาวิทยาลัยเป็นที่ทำการของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม และปรับเป็นสำนักงานและมีพิพิธภัณฑ์ภายในอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นนิทรรศการประกอบด้วยการนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ พัฒนาการของเมืองพิษณุโลก และเอกลักษณ์ของจังหวัด จัดแสดงด้วยสื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้ความรู้กับนักเรียนนักศึกษา ประชาชนผู้สนใจทั่วไป ในชั้นล่างของอาคารจัดเนื้อหาได้ 3ส่วนหลัก ได้แก่ โถงทางเข้ามีนิทรรศการอธิบายที่ตั้งของเมืองพิษณุโลก จากนั้นเป็นการนำเสนอประวัติศาสตร์ โดยอิงกับประวัติศาสตร์ตามยุคสมัยของผู้ปกครอง และในส่วนสุดท้ายกล่าวถึงเอกลักษณ์ของเมืองพิษณุโลก ชั้นสองของอาคารจัดทำเป็นศูนย์วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 มาจากความร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในส่วนภูมิภาคที่ให้การสนับสนุน เพื่อการให้ข้อมูลสถานที่สำคัญในกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง ประกอบด้วยสุโขทัย เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก ตาก

ชื่อเรียกอื่น:
ศูนย์วัฒนธรรมและการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1
ที่อยู่:
อาคารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม(ส่วนวังจันทน์) มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม เลขที่ 66 ถนนวังจันทน์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
โทรศัพท์:
055230596
วันและเวลาทำการ:
วันและเวลาราชการ หยุดวันนักขัตฤกษ์ วันหยุดตามประกาศมหาวิทยาลัย และกรุณาติดต่อล่วงหน้าอย่างน้อย 30 นาที
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
อีเมล:
aco@psru.ac.th
ปีที่ก่อตั้ง:
2550
ของเด่น:
นิทรรศการและสื่อนำเสนอการแสดงดนตรีมังคละซึ่งเป็นเอกลักษ์และท่ารำเฉพาะของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เรื่องราวประเพณีในพื้นถิ่นพิษณุโลก เช่น ประเพณีปักธงชัย ประเพณีแข่งเรือ เรื่องราวของสัตว์ที่เป็นที่ขึ้นชื่อของพิษณุโลก ได้แก่ สุนัขบางแก้ว ไก่พันธ์เหลืองหางขาว(ไก่ชนพระนเรศวร)
จัดการโดย:

พิพิธภัณฑ์เมืองพิษณุโลก...

โดย: พิพิธภัณฑ์เมืองพิษณุโลก

วันที่: 24 สิงหาคม 2564

พิพิธภัณฑ์เมืองพิษณุโลก...

โดย: พิพิธภัณฑ์เมืองพิษณุโลก

วันที่: 24 สิงหาคม 2564

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์เมืองพิษณุโลก


คุณเบญจพร บุญศิริรุ่งเรือง รับหน้าที่เป็นมัคคุเทศก์ในการนำชมสถานที่ โดยภาพรวมสำนักศิลปะและวัฒนธรรมประกอบด้วยการจัดแสดง 4 ส่วน ได้แก่ พิพิธภัณฑ์เมืองพิษณุโลกที่ชั้นล่าง ซึ่งมีส่วนสำนักงานของเจ้าหน้าที่ บนชั้นสองของอาคาร ประกอบด้วยส่วนนิทรรศการศูนย์วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 ห้องเฉลิมราช และห้องภูมิปัญญา คุณเบญจพรกล่าวถึงความเปลี่ยนแปลงของอาคารที่เป็นที่ตั้งของสำนักศิลปะและวัฒนธรรมในปัจจุบัน “ก่อนที่จะเกิดการจัดแสดงในสองส่วนนี้ เดิมทีอาคารเป็นอาคารสำนักงานของมหาวิทยาลัย และพัฒนาจนเป็นห้องสมุด ศูนย์คอมพิวเตอร์ จนถึงราวทศวรรษ 2540 สำนักศิลปะฯ เข้ามาใช้อาคารสำนักงาน ต่อมา สำนักศิลปะฯ จัดทำพิพิธภัณฑ์เมืองพิษณุโลก โดยได้งบประมาณจากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก ราว พ.ศ. 2550”

พิพิธภัณฑ์เมืองพิษณุโลกเริ่มเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่สำคัญ ประกอบด้วยการนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ พัฒนาการของเมืองพิษณุโลก และเอกลักษณ์ของจังหวัด จัดแสดงด้วยสื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้ความรู้กับนักเรียนนักศึกษา ประชาชนผู้สนใจทั่วไป ในชั้นล่างของอาคารจัดเนื้อหาได้ 3ส่วนหลัก ได้แก่ โถงทางเข้ามีนิทรรศการอธิบายที่ตั้งของเมืองพิษณุโลก จากนั้นเป็นการนำเสนอประวัติศาสตร์ โดยอิงกับประวัติศาสตร์ตามยุคสมัยของผู้ปกครอง และในส่วนสุดท้ายกล่าวถึงเอกลักษณ์ของเมืองพิษณุโลก

“ในห้องแรกนี้ อาจเรียกว่าห้องแนะนำจังหวัดพิษณุโลก พอเข้ามารูปแบบการนำเสนอวีดิทัศน์ ความยาวห้านาที อีกส่วนหนึ่งนำเสนอภาพเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญในอดีต เช่น พ.ศ. 2501 พระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถเสด็จมา ถือเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญ รูปภาพต่างๆ ที่บอกเล่าความเปลี่ยนแปลง เช่น เรือนแพที่เมื่อก่อนมีเต็มแม่น้ำน่าน” คุณเบญจพรให้คำอธิบายเกี่ยวกับเนื้อหาในห้องแรก โดยชี้ในเห็นภาพขนาดเล็กที่เป็นชุมชนตลาดเก่า แต่เกิดเหตุไฟไหม้เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2500 

ในห้องถัดไป เป็นเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ในสมัยสุโขทัย อยุธยา กรุงธนบุรี รัตนโกสินทร์ เพื่อแสดงให้เห็นว่าเกิดเหตุการณ์ใดขึ้นในเมืองพิษณุโลกบ้าง เช่นในสมัยสุโขทัย มีการสร้างพระพุทธชินราช ในส่วนนิทรรศการเรื่องอยุธยา เป็นการเล่าถึงกษัตริย์ที่เกี่ยวข้องกับเมืองพิษณุโลก เช่น พระบรมไตรโลกนาถและสมเด็จพระนเรศวร ซึ่งพิษณุโลกเป็นแผ่นดินเกิดของพระองค์ท่าน

คุณเบญจพรกล่าวถึงที่ตั้งของมหาวิทยาลัยส่วนวังจันทร์  “เพราะที่เรามายืนอยู่ตรงนี้ ตลอดริมฝั่งแม่น้ำเป็นเขตพระราชวังจันทร์ หากขุดลงไปเป็นกำแพงพระราชวังจันทร์ จึงมีการเรียกว่า วิทยาเขตพระราชวังจันทร์” ด้วยเหตุนี้ จึงมีการนำเสนอหุ่นจำลองพระราชวังจันทร์ โดยมีข้อสันนิษฐานว่าเป็นที่ประสูติ จากนั้น ได้กล่าวต่อไป “ส่วนนิทรรศการตรงนี้เป็นส่วนกรุงธนบุรี เราโยงไปยังเรื่องจุดดูตัวเจ้าพระยาจักรีและอะแซหวุ่นกี้ เพื่อโยงมายังกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าพระยาจักรีขึ้นเป็นรัชกาลที่ 1 และจะมาฟื้นฟูเมืองพิษณุโลก ที่เสียหายจากการทำสงคราม ให้ชาวบ้านกลับมา บ้านเมืองเจริญมาเรื่อยๆ” ในระยต่อมา ได้รับการจัดตั้งเป็นมณฑล มีค่ายทหาร การรถไฟ และรัชกาลที่ 7 ท่านมางานสมโภชหลวงพ่อพระพุทธชินราชครั้งแรก กลายเป็นจุดเริ่มต้นงานสมโภชในเดือนมกราคม ทุกปี

นิทรรศการในส่วนสุดท้ายเป็นการนำเสนอเอกลักษณ์เมืองพิษณุโลก เช่น เครื่องดนตรีมังคะระ ซึ่งประกอบด้วยกลองขนาดเล็กเรียกว่า “กลองมังคะระ” โดยมีการใช้ไม้หวายตี มักเป็นชายหญิงคนหนึ่งถือกลองอีกคนหนึ่งตี แล้วมีฆ้องคู่ ฉาบ ปี่ ที่เรียกว่าเป็นเอกลักษณ์เพราะมีบันทึกกรมพระยานริศฯ คุณเบญจพรกล่าวว่า “ในปัจจุบัน การเล่นดนตรีมังคะระเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น มักใช้ในการเปิดงานหรือแห่ขันหมาก งานมงคล เพราะหมายถึงความอดทน และยังมีท่าร่ายรำที่คิดค้นโดยอาจารย์ราชภัฎ มีท่าหลักทั้งหมดสี่ท่า ส่วนของชาวบ้านเป็นรำวงมาตรฐานธรรมดา”

การจัดแสดงในส่วนสุดท้ายของชั้นล่างที่เกี่ยวกับเอกลักษณ์เมืองพิษณุโลก ยังนำเสนอวัฒนธรรมประเพณี เริ่มต้นจากการจำลองวิหารวัดใหญ่ ประเพณีปักธงชัยอยู่ที่อำเภอนครไทย ซึ่งจะอยู่ห่างตัวเมืองหนึ่งถึงสองชั่วโมง จัดในช่วงวันลอยกระทงทุกปี “ชาวบ้านขึ้นไปปักธงที่เขาช้างร้อง เอาธงไปปักธงเพื่อระลึกถึงพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ก่อนที่จะขึ้นเป็นกษัตริย์สมัยสุโขทัย ถ้าปีไหนไม่จัด ชาวบ้านนครไทยได้รับความเดือดร้อน” คุณเบญจพรกล่าว นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวของประเพณีแข่งเรือ ไก่ชนพระนเรศวร ซึ่งเป็นไก่พันธุ์เหลือง หางขาว และสุนัขบางแก้ว

ส่วนจัดแสดงในตู้ที่เป็นโบราณวัตถุ เมื่อผู้เขียนสอบถาม คุณเบญจพรเล่าถึงข้อจำกัดเกี่ยวกับข้อมูล “ในส่วนโบราณวัตถุ เดิมหากปรากฏเลข แสดงว่ามีการขึ้นทะเบียน แต่รายละเอียดต่างๆ ยังไม่ปรากฏมากนัก วัตถุบางส่วนมาจากการบริจาค อีกส่วนหนึ่งมาจากการขุดพบในระหว่างการสร้างโรงแรมของมหาวิทยาลัยฯ พบไห หม้อ พระพุทธรูป”

สำหรับชั้นสองของอาคาร ศูนย์วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 มาจากความร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในส่วนภูมิภาคที่ให้การสนับสนุน เพื่อการให้ข้อมูลสถานที่สำคัญในกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง ประกอบด้วยสุโขทัย เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก ตาก

ห้องเฉลิมราช จัดทำเมื่อ พ.ศ. 2556 กระทรวงวัฒนธรรมเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนเพื่อให้นำเสนอพระราชกรณียกิจพระเจ้าอยู่หัว เพื่อให้ชาวต่างชาติและชาวไทยได้ทราบพระราชกรณียกิจ คุณเบญจพรเล่าถึงจุดน่าสนใจ “โมเดลเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ซึ่งเป็นพระราชดำริ เพื่อช่วยราษฎรในการทำเกษตร ก่อนหน้าการก่อสร้าง พิจิตรและพิษณุโลกต่างต้องใช้น้ำและไม่เพียงพอสำหรับความต้องการของพื้นที่ แต่พอมีเขื่อนแควน้อยฯ ส่งผลให้มี น้ำมีไว้เพื่อการเกษตร”

ส่วนจัดแสดงสุดท้ายได้แก่ ห้องแสดงใบลาน สมุดข่อย สมุดฝรั่ง การจัดแสดงเป็นเพียงบางส่วน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในตู้เก็บ เช่น สมุดใบลาน สมุดใบลานมาจากวัด ส่วนสมุดข่อยมาจากบ้านเรือน เนื้อหาบางส่วนกล่าวถึงเรื่องราวของการรักษา ส่วนสมุดฝรั่งมาจากชาวบ้าน “ก่อนหน้าสมุดข่อยหนังสือใบลาน ได้รับการจัดเก็บไว้เท่านั้น ท่านผู้อำนวยการวางแผนในการใช้ประโยชน์ เมื่อได้งบประมาณจากระทรวงวัฒนธรรม จึงสามารถนำเสนอได้เพิ่มเติมโครงการจัดสร้างห้องภูมิปัญญาเพิ่งแล้วเสร็จเมื่อสองสามเดือนที่แล้ว” เบญจพรกล่าวปิดท้ายในการนำชม

ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ / เขียน
สำรวจข้อมูลภาคสนาม วันที่ 25 ธันวาคม 2558
ชื่อผู้แต่ง:
-