พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม


ที่อยู่:
โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม เลขที่ 188 ถ.ปิ่นดำริห์ อ.เมือง จ.กำแพงเพชร 62000
โทรศัพท์:
0-5571-1212
วันและเวลาทำการ:
กรุณาติดต่อล่วงหน้า
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
ปีที่ก่อตั้ง:
2536
ของเด่น:
รูปพระอิศวรจำลอง,โมเดลจำลองการละเล่นพื้นบ้าน,พระเครื่องดินเผา,เครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล

ศาลพระยาวชิรปราการจังหวัดกำแพงเพชร และพิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 2548

ที่มา: โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม


พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม จ. กำแพงเพชรมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งที่วางไว้คือ เพื่อให้คนตระหนักถึงมรดกวัฒนธรรมท้องถิ่น สังคม  การละเล่นพื้นบ้าน ภูมิปัญญาของคนเฒ่าคนแก่  นำไปสู่เศรษฐกิจพอเพียง สนองปรัชญาโรงเรียน ที่มุ่งเน้นความกตัญญูต่อโรงเรียนและท้องถิ่น

เดิมอาคารพิพิธภัณฑ์เป็นอาคารเรียนเก่าอายุเกือบ 100 ปี (ประมาณ 96 ปี ) ซึ่งแต่เดิมมีโครงการว่าจะรื้ออาคารทิ้ง แต่ ดร.สมปอง สมลักษณ์พงศ์ (ผู้อำนวยการโรงเรียนขณะนั้น) เกิดความเสียดายเพราะเป็นอาคารที่ท่านเคยเรียนเมื่อตอนเด็ก จึงหาเงินมาซ่อมแซมและจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ และเปิดดำเนินการมา ตั้งแต่ ประมาณ พ.ศ. 2545  แต่เดิมโรงเรียนได้เก็บรวบรวมโบราณวัตถุ ข้าวของไว้ ตั้งแต่ปี 2536 เพราะตอนที่สร้างอาคารเรียนหลังใหม่ ได้ขุดพบโบราณวัตถุต่างๆ เช่น ถ้วยชามสังคโลก ตุ๊กตาสังคโลก ฯลฯ  และได้เก็บรวบรวมไว้ในห้องสมุด ต่อมามีนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ในการส่งเสริมพิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาในโรงเรียน จึงจัดตั้งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ขึ้นอย่างจริงจัง โดยใช้งบประมาณดำเนินการของโรงเรียน และดูแลโดยหมวดศิลปะ

 ข้าวของในพิพิธภัณฑ์ส่วนใหญ่ได้มาจากการขอรับบริจาคจากชาวบ้านในละแวกนี้ และมีการลงทะเบียนวัตถุไว้ ทั้งนี้โรงเรียนได้รับความร่วมมือจากพิพิธภัณฑ์เมืองร่วมกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร มาช่วยแนะนำการลงทะเบียน  จัดทำข้อมูล รวมทั้งการจัดวางวัตถุสิ่งของ  และจัดระบบทะเบียนวัตถุ  โดยให้นักเรียนเป็นผู้ลงทะเบียนเอง ทั้งการลงในกระดาษและในระบบคอมพิวเตอร์

สำหรับพื้นที่จัดแสดง แบ่งพื้นที่เป็น  2 ส่วน คือ การจัดแสดงในอาคาร และนอกอาคาร ตามลักษณะธรรมชาติของเครื่องมือเครื่องใช้  แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 5 หมวด

1.    ขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนา และความเชื่อ 
รวบรวมการละเล่นที่กำลังจะสูญหาย และจำลองการละเล่นนั้นๆ ไว้เป็นโมเดล เช่นระบำ ก.ไก่ เป็นการนำอักษรกไก่ – ฮ.นกฮูก มาผูกเป็นเพลง ใช้ร้องเกี้ยวพาราสีกันของหนุ่มสาว การเล่นแม่ศรี เป็นความเชื่อและการละเล่นเกี่ยวกับการเข้าทรงมักแสดงในช่วงสงกรานต์ การแสดงลิเกป่า มักแสดงในช่วงการลงแขกเกี่ยวข้าวและในงานบวชพระ ระบำคล้องช้าง เป็นการแสดงพื้นบ้านของนครชุมที่เลียนแบบการคล้องช้างป่ามาใช้ลากไม้ นำมาคิดเป็นระบำคล้องช้าง นอกจากนี้ยังมี ประเพณีนบพระเล่นเพลง ลอยกระทง ประเพณีสงกรานต์ ฯลฯ
ด้านความเชื่อ มีการแสดงให้เห็นถึงความเชื่อที่ปรากฏอยู่ตามที่ต่างๆ เช่น ในลวดลายเครื่องปั้นดินเผา ตุ๊กตาเสียกบาล และความเชื่อทางศาสนา เช่นพระเครื่องดินเผา โดยมีพระซุ้มกอกำแพงที่เป็นหนึ่งในเบญจภาคีของพระเครื่องเมืองไทย
2.   ภาษา และวรรณกรรม
3.    ศิลปกรรมและโบราณคดี กล่าวถึงประวัติเมืองกำแพงเพชร ที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวและสัมพันธ์กับเมืองสุโขทัย จึงมีรูปแบบศิลปะคล้ายคลึงกัน เช่น เครื่องลายครามที่มีรูปแบบเฉพาะของสุโขทัยคือการรับอิทธิพลจากจีน
4.    การละเล่น ดนตรีและการพักผ่อนหย่อนใจเช่น เครื่องดนตรีที่ทำจากวัสดุธรรมชาติและหาได้ในท้องถิ่น
5.    ชีวิตความเป็นอยู่และวิทยาการจัดแสดงเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ปิ่นโต จาน ชาม ช้อน เครื่องโม่แป้ง ฯลฯ   ภูมิปัญญาในการเก็บรักษาอาหาร  และเครื่องมือช่างและเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพท้องถิ่น เช่น   เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำนา เช่น แอก คันไถ ลูกคุบ เครื่องมือการเก็บเกี่ยว เช่น พายสาดข้าว ใช้คัดเลือกข้าวลีบออกจากข้าวดี  และเครื่องมือหาอยู่หากิน เช่นข้องจับปลา สุ่ม ซึ่งสัมพันธ์ไปกับวิถีการทำนา นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือเครื้องใช้อื่นๆ เช่น กบไสไม้ เลื่อย กระดึง ตาชั่งจีน เป็นต้น

พิพิธภัณฑ์ยังแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่ง ในการบอกเล่าประวัติของโรงเรียนกำแพงเพชรวิทยาคมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งประวัติความเป็นมาของโรงเรียนที่เกิดจากการรวมสองโรงเรียนเข้าด้วยกัน ครูใหญ่คนแรก ครูเก่า ศิษย์เก่า นักเรียนปัจจุบัน  ศิษย์เก่าที่กลับมาทำคุณประโยชน์ให้โรงเรียนสมดังปรัชญาของโรงเรียนที่เน้นการกตัญญู และจัดแสดงผลิตภัณฑ์ดีเด่นของชุมชนและโรงเรียน เช่นงานหินอ่อน งานแกะสลัก งานหัตถกรรม งานเป่าแก้ว เครื่องเบญจรงค์ เครื่องเขิน และเครื่องเงิน

นอกจากพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะรวบรวมและบอกเล่าเรื่องราวของชุมชนแล้ว ยังแสดงการบูรณาการความรู้ ตามสาระการเรียนรู้และความสนใจของครู นักเรียน  เช่น มุมสะสมพันธุ์พืช จัดแสดงตัวอย่างพันธุ์พืช ที่มีและหายากในท้องถิ่น ซึ่งเด็กนักเรียนและครูช่วยกันเก็บและรวบรวม และมีวิธีการอบพืชเพื่อนำเก็บไว้ศึกษา   นอกจากนี้มีการอบรมนักเรียนเพื่อให้เป็นกำลังสำคัญในดูแลรักษาพิพิธภัณฑ์ เช่น การดูแลรักษาวัตถุ การทำทะเบียน การจัดทำใบความรู้ การจัดนิทรรศการหมุนเวียนตามเทศกาล วันสำคัญ และมีการจัดการเรียนรู้ในสาระการเรียนรู้ต่างๆ โดยนักเรียนจะไปรวบรวมทำรายงานเป็นรูปเล่ม เช่นหัตถกรรมท้องถิ่น พันธุกรรมพืชท้องถิ่น  การทำคำบรรยายภาษาอังกฤษ ฯลฯ  นอกจากนี้ยังมีนักเรียนทำหน้าที่เป็นมัคุเทศก์น้อยคอยนำชมพิพิธภัณฑ์ได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษอีกด้วย
 
นวลพรรณ บุญธรรม : เรียบเรียง
ข้อมูลจาก :  การสำรวจภาคสนามวันที่ 11 ธันวาคม 2550
ชื่อผู้แต่ง:
-