ชื่อผู้แต่ง: อาทิตย์ สุวรรณโชติ | ปีที่พิมพ์: 6 กุมภาพันธ์ 2553
ที่มา: ข่าวสดรายวัน ปีที่ 19 ฉบับที่ 7009
แหล่งค้นคว้า:
โดย: ศมส.
วันที่: 18 เมษายน 2556
ชื่อผู้แต่ง: ธีระวัฒน์ แสนคำ | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 38 ฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน 2555;vol. 38 No.2 April-June 2012
ที่มา: วารสารเมืองโบราณ
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 01 พฤษภาคม 2557
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
ภายในเขตเมืองคณฑีได้มีการขุดพบโบราณวัตถุต่างๆ เช่น ลูกปัดแก้ว ตะเกียงดินเผาแบบอินเดียและชิ้นส่วนภาชนะดินเผา เป็นต้น ซึ่งหลักฐานเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการเริ่มแรกของเมืองคณฑีที่อยู่ใน สมัยทวารวดีจนถึงสมัยลพบุรี ส่วนโบราณวัตถุที่พบมาก ได้แก่ สังคโลก พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยและศิลปะอยุธยา เมืองคณฑีคงเป็นเมืองที่มีความสำคัญมากในช่วงสมัยสุโขทัย แต่ในสมัยอยุธยาตอนกลางภายหลังจากการเกิดสงครามระหว่างกรุงศรีอยุธยากับพม่า คงทำให้เมืองร่วงโรยไป ภายในเมืองโบราณพบโบราณสถานสำคัญ 2 แห่ง คือ วัดปราสาทและวัดกาทึ้ง
วัดปราสาท อยู่ในเขตบ้านโคนใต้ เป็นวัดโบราณที่อยู่ในเขตเมืองโบราณคณฑี ภายในวัดมีวิหารหลวงพ่อโตซึ่งเป็นฐานวิหารเก่าแล้วมีการสร้างหลังคาครอบ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่สกุลช่างกำแพงเพชรเป็นประธานหนึ่ง องค์ ชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อโต” บนฐานชุกชียังมีพระพุทธรูปปูนบั้นขนาดเล็กอยู่อีกหลายองค์ นอกจากนี้มีเจดีย์โบราณอยู่ 2 องค์ องค์หนึ่งได้รับการบูรณะและสร้างเจดีย์คร่อมทับ ส่วนอีกองค์ยังไม่ได้บูรณะ ชาวบ้านเรียกว่า “ปราสาท” ซึ่งสันนิษฐานว่าแต่เดิมคงเป็นเจดีย์ทรงปราสาทและเป็นที่มาของชื่อวัดปราสาท ด้วย ที่โบสถ์มีใบเสมาหินชนวนสมัยอยุธยาสกุลช่างกำแพงเพชรปักอยู่หลายใบ ส่วนวัดกาทึ้งนั้นพบแค่เพียงซากฐานวิหารเท่านั้น
ภายในวัดปราสาทยังมีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านตำบลคณฑี ซึ่งจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ของชาวบ้านโคน ในอดีตเมื่อราว 100 ปีที่ผ่านมา เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชาวบ้านโคนอีกด้วย
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านตำบลคณฑี พัฒนามาจากการเก็บรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ของชาวบ้านโคนที่มีผู้ศรัทธานำมา ถวายวัด โดยเก็บรวบรวมไว้ที่ศาลาการเปรียญซึ่งสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2492 ต่อมาศาลาการเปรียญชำรุดทรุดโทรมทางวัดจึงได้ทำการรื้อถอนเพื่อสร้างศาลาการ เปรียญหลังใหม่เมื่อ พ.ศ.2538-2539 จากนั้นนำไม้และวัสดุที่ยังมีสภาพดีจากการรื้อถอนศาลาการเปรียญมาสร้างเป็น อาคารพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นตำบลคณฑี
พิพิธภัณฑ์ได้มีการจัดและเปิดให้เข้าชมเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2546 ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลคณฑี ภายใต้การนำของนายอดุลย์ โพธิ์อ่วม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคณฑีซึ่งเป็นผู้ที่เห็นความสำคัญและมีวิสัยทัศน์ ในการพัฒนาท้องถิ่น โดยใช้ทรัพยากรและองค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเป็นหลักในการพัฒนา
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นตำบลคณฑีมีลักษณะเป็นอาคารโถงชั้นเดียว หลังคาทรงไทย ภายในจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ไว้ริมผนังและมุมต่างๆ จำแนกเป็นกลุ่มได้ดังนี้
เครื่องมือในการทำนา เช่น คันไถและคราดที่ทำด้วยไม้และเหล็ก คานแอกไม้ประกอบคันไถ จอบและเสียม เป็นต้น
เครื่องมือในการจับปลา เช่น ลอบ สุ่ม ข้อง ไซ เบ็ด ฉมวกเหล็ก-ไม้ เป็นต้น
เครื่องมือช่าง เช่น เลื่อยสั้น-ยาว มีดพร้า-ปลอกมีด กบมือไสไม้และขวาน เป็นต้น
เครื่องใช้ในครัวเรือน เช่น กระด้ง โม่ สาแหรก หม้อ-ไหดินเผา เตาดินเผา เตารีด คนโท ตะกร้าหวาย ปิ่นโต ถ้วยชาม ตะเกียง หีบเหล็ก กระบุงและกระจาด เป็นต้น
เครื่องใช้ที่ทำด้วยทองเหลือง เช่น เชี่ยนหมาก ขัน พาน และกระดิ่ง
อาวุธและสิ่งของอื่นๆ เช่น ปืน ดาบ มีดสั้น ไม้ตะพด กลอง และฉัตรเก่า เป็นต้น
นอกจากนี้ ภายในพิพิธภัณฑ์ยังเก็บรักษาและจัดแสดงหน้าบัน ช่อฟ้า นาคสะดุ้งและหางหงส์ของศาลาการเปรียญหลังเก่าที่ทำด้วยไม้แกะสลักฝีมือช่าง พื้นบ้านซึ่งมีความสวยงาม โดยเฉพาะหน้าบันที่มีการฉลุไม้เป็นลายพันธุ์พฤกษา ตรงกลางเป็นรูปพานแว่นฟ้า ใต้พานแว่นฟ้ามีการฉลุเป็นตัวเลขไทยกำกับปีที่สร้างว่า “๒๔๙๒”
พื้นที่ส่วนกลางของพิพิธภัณฑ์ทำเป็นตู้กระจกจัดแสดงเครื่องถ้วยลายครามและ เครื่องเบญจรงค์ ข้างบนตู้จัดแสดงพระราชประวัติ พระบรมฉายาลักษณ์และพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัว รัชกาลที่ 5 ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระองค์เคยเสด็จประพาสบ้านโคนในการเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2449 และยังมีพระราชประวัติและพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาล ปัจจุบันด้วย
นอกเหนือไปจากพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นตำบลคณฑีแล้ว ภายในวัดปราสาทยังมีพิพิธภัณฑสถานวัดปราสาท (บ้านโคนใต้) ซึ่งจัดแสดงพระพุทธรูปและโบราณวัตถุต่างๆ ที่พบในเขตเมืองคณฑี ซึ่งหากมีโอกาสผู้เขียนจะนำเสนอรายละเอียดให้ทราบต่อไป และขณะนี้ยังมีการดำเนินการสร้างปราสาทตรีมุขเพื่อประดิษฐานพระบรมรูปพ่อขุน ศรีอินทราทิตย์ ซึ่งชาวคณฑีเชื่อว่าเมืองโบราณแห่งนี้คือนิวาสถานเดิมของพระองค์ ก่อนที่จะเสด็จขึ้นครองกรุงสุโขทัย
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นตำบลคณฑีถือว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีการดำเนินการจัดทำโดย ท้องถิ่น มีการบริหารจัดการในด้านต่างๆ ที่ค่อนข้างเป็นระบบ ทั้งนี้เพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ที่สำคัญของตำบลคณฑี พิพิธภัณฑ์ฯ เปิดให้เข้าชมทุกวัน การเข้าชมจะมีพระสงฆ์หรือเจ้าหน้าที่วิทยากรท้องถิ่นคอยต้อนรับนักท่อง เที่ยวและนำชมพิพิธภัณฑ์ เฉพาะวันเสาร์-วันอาทิตย์และช่วงปิดภาคเรียนจะมีเยาวชนใน ท้องถิ่นทำหน้าที่เป็นยุวมัคคุเทศก์คอยนำชมอีกด้วย หากมีโอกาสเดินทางไปยังจังหวัดกำแพงเพชร พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นตำบลคณฑี ณ วัดปราสาท เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่ควรเข้าชมและประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักต่อไป
ที่มา: ธีระวัฒน์ แสนคำ "พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นตำบลคณฑี" จุลสารก้าวไปด้วยกัน ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (กุมภาพันธ์ - พฤษภาคม 2555) หน้า 36 - 40.
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
พิพิธภัณฑ์"วัดปราสาท" บอกเล่าเรื่องราวเมืองคณฑี
กำแพงเพชรเป็นเมืองเก่าแก่ ประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยโบราณ มีหลักฐานปรากฏอยู่หลายพื้นที่ รวมทั้งที่ตำบลคณฑี หรือบ้านโคน ซึ่งเป็นเมืองโบราณยุคแรกๆ ของกำแพงเพชร เมืองคณฑี เป็นชุมชนโบราณ ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิง ตามศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หลักที่ 1 เมื่อปี พ.ศ.1835 ได้จารึกถึงอาณาเขตเมืองสุโขทัย มีความตอนหนึ่งว่า "...สุโขทัยมีเมืองกว้างช้างหลาย ปราบเบื้องตะวันออก รอดสระหลวง สองแคว ลุมบาจายสคา เท้าฝั่งของ เถิงเวียงจันทร์ เวียงคำเป็นที่แล้ว เบื้องหัวนอน รอดคณฑี พระบาง แพรก สุพรรณบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ศรีธรรมราช ฝั่งพระมหาสมุทรเป็นที่แล้ว"แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
วัดปราสาท คณฑี ลูกปัดแก้ว ตะเกียงดินเผา สังคโลก หลวงพ่อโต
ศูนย์นิทรรศการปิยชาตินิทรรศ
จ. กำแพงเพชร
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนตำบลนครชุม
จ. กำแพงเพชร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
จ. กำแพงเพชร