พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชรเฉลิมพระเกียรติ (พิพิธภัณฑ์เรือนไทย)


พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชรเฉลิมพระเกียรติ หรือพิพิธภัณฑ์เรือนไทย ก่อตั้งโดยมูลนิธิปริยัติศึกษา ญสส. ในสังฆราชูปถัมภ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ร่วมกับจังหวัดกำแพงเพชร กรมศิลปากร และกรมสามัญศึกษา โดยภายในมีหมู่เรือนไทย 4 หลัง แบ่งการจัดแสดงเรื่องราวหลังละเรื่อง ได้แก่ 1.เมืองกำแพงเพชร จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับลักษณะทางภูมิศาสตร์ ธรรมชาติวิทยา แลโบราณคดี 2.ชาติพันธุ์วิทยาเมืองกำแพงเพชร จัดแสดงเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยที่มีถิ่นฐานในจังหวัด 3.มรดกดีเด่นเมืองกำแพงเพชร จัดแสดงของดีของจังหวัด และ 4.ห้องบรรยาย เป็นห้องบรรยายรวมและจัดประชุม

ที่อยู่:
ถ.ปิ่นดำริห์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.กำแพงเพชร 62000
โทรศัพท์:
0-5571-1570
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน 09.00-16.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
ปีที่ก่อตั้ง:
2540
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑ์ไม้สักทอง

ชื่อผู้แต่ง: ทัศนีย์ ยาวะประภาษ และกิตติ วัฒนะมหาตม์ | ปีที่พิมพ์: Sep-48

ที่มา: กินรี

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ลุยสวนกล้วย 200 สายพันธุ์ พิพิธภัณฑ์ประจำเมืองกล้วยไข่

ชื่อผู้แต่ง: อุดม วราหะ | ปีที่พิมพ์: 12/5/2547

ที่มา: มติชนรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชรเฉลิมพระเกียรติ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมืองกำแพงเพชร เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี  ทางจังหวัดกำแพงเพชร กรมศิลปากร กรมสามัญศึกษา และมูลนิธิปริยัติศึกษา ญสส.ในสังฆราชูปถัมภ์ จึงร่วมกันจัดสร้างพิพิธภัณฑ์นี้ขึ้น ในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ จังหวัดกำแพงเพชร

ตัวอาคารพิพิธภัณฑ์เป็นเรือนไทยหมู่แบบเรือนไทยภาคกลาง ซึ่งจัดวางผังตำแหน่งพิพิธภัณฑ์ตามอย่างเรือนไทยโบราณ ประกอบด้วยใต้ถุนโล่ง สูง  ด้านล่างจัดวางโต๊ะแสดงขนบประเพณีวิถีไทย เช่น ขนมไทย ตุ๊กตาไทย ส่วนด้านบน ทำเรือนชานกว้าง แต่ละห้องบนพิพิธภัณฑ์เป็นที่รวบรวมโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและจัดแสดงงานศิลปหัตถกรรม อันแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของบรรพชนในท้องถิ่น แหล่งข้อมูลด้านมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ  ตลอดจนเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของจังหวัด

การจัดแสดงแบ่งเป็น 5 ส่วน คือ
1.     ประวัติศาสตร์และโบราณคดีทั่วไปเกี่ยวกับความเป็นมาของจังหวัด ซึ่งสันนิษฐานว่ามีมาก่อนกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ประกอบด้วยเมืองโบราณที่บ้านคลองเมือง เมืองนครชุม เมืองเทพนคร เมืองบางพาน และเมืองกำแพงเพชร
2.     ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชรทั้งธรณีวิทยา ดินฟ้าอากาศ เศรษฐกิจ สภาพแวดล้อมตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
3.     ชาติพันธุ์วิทยาแสดงเรื่องราวสภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี และการอพยพเคลื่อนย้ายต่าง ๆ ได้แก่ พม่า ไต ลาวโซ่ง ชาวล้านนา ฯลฯ
4.     มรดกดีเด่นของกำแพงแพชรทั้งมรดกธรรมชาติและมรดกทางวัฒนธรรม เริ่มตั้งแต่พัฒนาการของพระเครื่องเมืองกำแพง พระเครื่องที่สำคัญ ๆ ได้แก่ พระนางพญากำแพงเพชร พระกำแพงซุ้มกอ พระกำแพงกลีบบัว เป็นต้น กล้วยไข่และประเพณีกล้วยไข่  ผลไม้ที่มีชื่อเสียงของจังหวัด พัฒนาการทางอุตสาหกรรมและศิลปหัตถกรรม เมืองกำแพงเพชร
5.     การจัดแสดงความเป็นมาของเมืองในรูปแบบของภาพสี ภาพโปร่งใส แผนผัง แผนที่ หุ่นจำลอง และเทคนิคพิเศษในรูปแบบของมัลติมีเดีย  เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดกำแพงเพชร 

สถานที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์  อยู่ต่อเนื่องกับที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร  ภายในเขตเมืองเก่าของกำแพงเพชร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 

นอกจากจัดแสดงนิทรรศการวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรมของชาวกำแพงเพชรแล้ว บริเวณด้านหลังของพิพิธภัณฑ์ยังนำเสนอพันธุ์กล้วยสายพันธุ์ต่างๆ มากกว่า 200 สายพันธุ์ ที่หลายคนอาจจะไม่เคยได้ยินชื่อมาก่อน และไม่เคยเห็น อาทิ กล้วยลังกา หรือเรียกในชื่ออื่นๆ เช่น กล้วยจีน กล้วยนครสวรรค์ กล้วยน้ำนมราชสีห์ กล้วยส้ม กล้วยเปรี้ยว  รสชาติจะแปลก ผลดิบแก่จัดฝานเป็นแผ่นทอดน้ำมัน รสชาติใกล้เคียงมันฝรั่งทอด 

กล้วยพม่าแหกคุก พบที่ จ.อ่างทอง เมื่อปี 2534 ในขณะใกล้จะสูญพันธุ์   กล้วยเทพรส หรือเรียกกันในชื่ออื่นๆ ว่า กล้วยปลีหลุด  กล้วยปลีหาย  กล้วยสิ้นปลี  กล้วยทิพย์รส  กล้วยพาโล กล้วยตีนเต่า  ผลค่อนข้างเหลี่ยมมนสีเขียวม่น เปลือกหนา  ผลดิบเผาหรือต้มเป็นอาหารของชาวกะเหรี่ยง  นอกจากนี้ยังมี กล้วยไข่พระตะบอง  กล้วยตานี  กล้วยคุนหมิง  กล้วยน้ำหว้าลูกไส้ดำ  กล้วยน้ำหมาก และสายพันธุ์อื่นๆ อีกมากมายที่หาชมได้ยาก

นอกจากนี้ยังมีศูนย์จริยศึกษา ที่ทำงานการอบรมศิลปะและจริยธรรมแก่เด็กนักเรียนและเยาวชนทั่วไปด้วย

ข้อมูลจาก:
ทัศนีย์ ยาวะประภาษ และกิตติ วัฒนะมหาตม์. “พิพิธภัณฑ์ไม้สักทอง” . กินรี. September 1998, 59-60.
อุดม วราหะ. “ลุยสวนกล้วย 200 สายพันธุ์ พิพิธภัณฑ์ประจำเมืองกล้วยไข่”. มติชน. 5 ธันวาคม 2547, 34.
 
ชื่อผู้แต่ง:
-

รีวิวของพิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชรเฉลิมพระเกียรติ(พิพิธภัณฑ์เรือนไทย)

พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชรเฉลิมพระเกียรติ หรือพิพิธภัณฑ์เรือนไทย ก่อตั้งขึ้น โดยมูลนิธิปริยัติศึกษา ญสส. ในพระสังฆราชูปถัมภ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ร่วมกับจังหวัดกำแพงเพชร กรมศิลปากร และกรมสามัญศึกษา จัดสร้างพิพิธภัณฑ์สถานแห่งนี้ขึ้น เพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก และฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยเริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2539 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ.2540

อาคารพิพิธภัณฑ์เป็นหมู่เรือนไทย ก่อสร้างด้วยไม้สักทอง บนพื้นที่ 25 ไร่ บริเวณด้านนอกอาคารโดยรอบมีการออกแบบภูมิทัศน์เพื่อเพิ่มความสวยงามร่มรื่นในพื้นที่มีการจัดการพื้นที่ลานจอดรถยนต์และสวยกล้วย ซึ่งจัดเป็นศูนย์รวมสายพันธุ์กล้วยมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย 

การจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 4 ส่วนได้แก่

1. เมืองกำแพงเพชร จัดแสดงข้อมูลภาพ หุ่นจำลองและวีดิทัศน์แสดงเรื่องเกี่ยวกับลักษณะทางภูมิศาสตร์ของอำเภอต่างๆ ในจังหวัด ลักษณะธรรมชาติวิทยาในท้องถิ่น ข้อมูลทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของจังหวัดกำแพงเพชร 

2. ชาติพันธุ์วิทยาเมืองกำแพงเพชร จัดแสดงข้อมูลภาพหุ่นจำลองและคอมพิวเตอร์สัมผัสจอภาพ (Computer Touch Screen) ให้ข้อมูลเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยที่ตั้งถิ่นฐานจังหวัดกำแพงเพชร ได้แก่ กลุ่มชนม้ง เย้า กะเหรี่ยง ลีซู นอกจากนี้ ยังนำเสนอข้อมูลเรื่องราวเกี่ยวกับชนพื้นถิ่นในกำแพงเพชร ประเพณีและการดำเนินชีวิตผู้คน 

3. มรดกดีเด่นเมืองกำแพงเพชร จัดแสดงสิ่งเด่นของจังหวัดกำแพงเพชรทางด้านธรรมชาติวิทยาทรัพยากรธรรมชาติศิลปวัฒนธรรมด้วยสื่อขัดแสดงเป็นภาพประเภทที่โปร่งแสง และทึบแสงหุ่นจำลองขนาดย่อส่วน และคอมพิวเตอร์สัมผัสจอภาพ (Computer Touch Screen) ที่ให้ข้อมูลในเรื่องทรัพยากรแร่ธาตุสำคัญของกำแพงเพชร 

4. ห้องบรรยาย เป็นห้องที่ใช้สำหรับกิจกรรมการบรรยาย การประชุมของพิพิธภัณฑสถานในห้องจัดแสดงผลงานศิลปหัตถกรรม ชิ้นเยี่ยมของชาวกำแพงเพชร และจัดฉายวิดีทัศน์เรื่องราวเกี่ยวกับจังหวัดกำแพงเพชร 

ข้อมูลจาก: กรมศิลปากร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. นามานุกรมพิพิธภัณฑสถานในประเทศไทย ภาคเหนือ เล่ม 1. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2546. หน้า 1.

ชื่อผู้แต่ง:
-