พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย เดิมตั้งอยู่ที่ถนนพระพันวษา ตำบลท่าพี่เลี้ยง ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 ได้ย้ายไปตั้งอยู่บริเวณศูนย์ราชการแห่งใหม่ริมถนนสายสุพรรณ - ชัยนาท (340) อยู่ห่างจากที่เดิมราว 4.5 กิโลเมตร อาคารจัดแสดงเป็นอาคารคอนกรีตออกแบบผสมผสานระหว่างเรือนไทยและยุ้งฉางของชาวนา เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการทำนา โดยไม่ได้จัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุ ชั้นล่าง จัดแสดงเรื่องราวความเป็นมาของการทำนา เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำนา ประเพณีวิถีชีวิตของชาวนา เรื่องราวของข้าวในอดีต และ ที่น่าสนใจ คือการพบภาชนะดินเผ่าที่บ้านบางปูน ตำบลพิหารแดง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งอาจเป็นหลักฐานพระราชพิธีแรกนาขวัญในสมัยอยุธยา ชั้นบน จัดแสดงพระราชจริยวัตรพระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ค้ำชูชาวนาไทยทรงพัฒนาการทำนาและการเกษตรของชาติ มีการจัดแสดงภาพจำลองเหตุการณ์พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระบรมโอรสธิราชฯ เมื่อปี พ.ศ. 2529 ณ แปลงสาธิตบึงไผ่แขก ตำบลดอนโพธิ์ทอง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ทรงทำปุ๋ยหมัก หว่านและเก็บเกี่ยวข้าวด้วยพระองค์เอง และยังคงเก็บรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ที่พระองค์ทรงใช้ นอกจากนี้ชั้นล่างยังมี ห้องค้นคว้าข้อมูล สำหรับค้นคว้าข้อมูลทางวิชาการเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัตถุที่จัดแสดง
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทยเดิมตั้งอยู่ที่ถนนพระพันวษา ตำบลท่าพี่เลี้ยง ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 ได้ย้ายไปตั้งอยู่บริเวณศูนย์ราชการแห่งใหม่ริมถนนสายสุพรรณ - ชัยนาท (340)
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย(หลังเก่า) อาคารพิพิธภัณฑ์เป็นอาคารสองชั้น หลังคาจั่วสูงแบบเรือนไทย เป็นสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ที่ผสมผสานระหว่างเรือนไทยกับลักษณะ ฝาไม้ไผ่สานที่ชาวนาใช้ทำผนังยุ้งฉางและเรือนเครื่องผูก สื่อถึงรูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมไทยและสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ภายในจัดแสดงหลักฐานที่เป็นร่องรอยของเมล็ดข้าว เครื่องมือในการปลูกข้าว แสดงลำดับขั้นตอนทำนาในประเทศไทย ปฏิทินวิถีชิวิตชาวนาไทย พระราชกรณียกิจต่างๆของพระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันที่ทรงอุปถัมภ์ชาวนา และเรื่องราวที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร(ในขณะนั้น) ทรงทำนาที่จังหวัดสุพรรณบุรีเมื่อปี พ.ศ. 2529
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทยแห่งใหม่ อยู่ห่างจากที่เดิมราว 4.5 กิโลเมตร ที่มาเนื่องจากปัจจุบันศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรีได้ย้ายไปอยู่ในศูนย์ราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ถนนสุพรรณบุรี - ชัยนาท ส่วนศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรีหลังเดิม ใช้เป็นที่ว่าการอำเภอเมืองสุพรรณบุรี ทำให้บริเวณสถานที่ตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย เดิม มีสภาพภูมิทัศน์ไม่สวยงามดังเดิม จังหวัดสุพรรณบุรีพิจารณาเห็นว่า เพื่อให้สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย มีความเหมาะสม สง่างาม และสมพระเกียรติ จังหวัดสุพรรณบุรีได้ขอพระราชทานพระราชานุญาตย้ายและก่อสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย ณ ศูนย์ราชการจังหวัดสุพรรณบุรี บริเวณด้านข้างศาลากลางจังหวัด ด้านทิศใต้ ซึ่งมีพื้นที่กว้างขวาง สามารถจัดสภาพภูมิทัศน์ให้สวยงามและสมพระเกียรติได้ดีกว่าที่เดิม โดยให้กรมศิลปากรและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นผู้ออกแบบอาคารและการจัดแสดง โดยอาศัยรูปแบบอาคารเดิมเป็นฐานในการคิด และได้สรุปรูปแบบเป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ 2 ชั้น มีใต้ถุนล่าง มีพื้นที่ ใช้สอยทั้งหมด 1,890 ตารางเมตร
ลักษณะทางสถาปัตยกรรมนำความคิดมาจากยุ้งข้าวทางภาคกลาง ประดับตกแต่งด้วยลายรวงข้าว มีพื้นที่โครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก มุงหลังคาด้วยกระเบื้องซีเมนต์ หันด้านหน้าอาคารไปทางทิศเหนือ ระยะเวลาในการดำเนินการออกแบบและก่อสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชาวนาไทยแล้วเสร็จเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 ดำเนินการจัดแสดงภายในอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชาวนาไทย โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัด สุพรรณบุรี แล้วเสร็จในเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 และดำเนินการย้ายการปฏิบัติงานที่อาคารหลังใหม่ เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2552
การจัดแสดงภายในเป็นเรื่องราวเฉพาะเกี่ยวกับการทำนา ชั้นล่าง จัดแสดงเรื่องราวความเป็นมาของการทำนา เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำนา ประเพณีวิถีชีวิตของชาวนา เรื่องราวของข้าวในอดีต และ ที่น่าสนใจ คือการพบภาชนะดินเผ่าที่บ้านบางปูน ตำบลพิหารแดง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งอาจเป็นหลักฐานพระราชพิธีแรกนาขวัญในสมัยอยุธยา ชั้นบน จัดแสดงพระราชจริยวัตรพระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ที่ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ค้ำชูชาวนาไทยทรงพัฒนาการทำนาและการเกษตรของชาติ จัดแสดงภาพจำลองเหตุการณ์พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระบรมโอรสธิราชฯ เมื่อปี พ.ศ. 2529 ณ แปลงสาธิตบึงไผ่แขก ตำบลดอนโพธิ์ทอง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ทรงทำปุ๋ยหมัก หว่านและเก็บเกี่ยวข้าวด้วยพระองค์เอง และยังคงเก็บรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ที่พระองค์ทรงใช้ วัตถุจัดแสดงสำคัญ คือ รวงข้าวจำนวน 9 รวงแรก ที่สมเด็จพระบรมโอรสสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมารทรงเกี่ยวเป็นปฐมฤกษ์ รวมทั้งเคียวเกี่ยวข้าวด้ามทองคำที่จังหวัดสุพรรณบุรี จัดทำขึ้นน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นพิเศษ
นอกจากนี้ชั้นล่างยังมี ห้องค้นคว้าข้อมูล สำหรับค้นคว้าข้อมูลทางวิชาการเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัตถุที่จัดแสดง
ข้อมูลจาก:
สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ.“เที่ยว ท่อง ย่ำ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ” : สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม.กรุงเทพฯ,มปป. หน้า 26-27
https://www.finearts.go.th/
http://www.suphan.biz/thaifarmermuseum.htm
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย(หลังเก่า)
อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย เป็นอาคารสองชั้น หลังคาจั่วสูงแบบเรือนไทย เป็นสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ที่ผสมผสานระหว่างเรือนไทยกับลักษณะ ฝาไม้ไผ่สานที่ชาวนาใช้ทำผนังยุ้งฉางและเรือนเครื่องผูก สื่อถึงรูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมไทยและสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ภายในจัดแสดงหลักฐานที่เป็นร่องรอยของเมล็ดข้าว เครื่องมือในการปลูกข้าว แสดงลำดับขั้นตอนทำนาในประเทศไทย ปฏิทินวิถีชิวิตชาวนาไทย นอกจากนี้ ยังจัดแสดงพระราชกรณียกิจต่างๆของพระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันที่ทรงอุปถัมภ์ชาวนา และเรื่องราวที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงทำนาที่จังหวัดสุพรรณบุรีข้อมูลจาก : สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ.“เที่ยว ท่อง ย่ำ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ” : สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม.กรุงเทพฯ,มปป. หน้า 26-27
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
วิถีชีวิตท้องถิ่นและภูมิปัญญา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือนไทย การทำนา เครื่องมือการเกษตร
พิพิธภัณฑ์ตลาดเก้าห้อง
จ. สุพรรณบุรี
พิพิธภัณฑ์วัดพระรูป
จ. สุพรรณบุรี
บ้านกำนันดิน
จ. สุพรรณบุรี