พิพิธภัณฑ์บ้านขุนจำนงจีนารักษ์(ตลาดสามชุก)


ที่อยู่:
ตลาดสามชุก ต.สามชุก อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี 72130
โทรศัพท์:
0-3558-7728
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน 09.00-18.00 น.
ค่าเข้าชม:
ไม่เก็บค่าเข้าชม
เว็บไซต์:
ปีที่ก่อตั้ง:
2545
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

สืบสานงานศิลป์ ถิ่นสามชุก

ชื่อผู้แต่ง: คณะกรรมการพัฒนาตลาดสามชุก | ปีที่พิมพ์: 2547

ที่มา: โครงการการปฏิบัติการชุมชนและเมืองน่าอยู่

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เล่าเรื่อง "ตลาดสามชุก" ตลาดไม้อายุกว่า 100 ปี

ชื่อผู้แต่ง: พรประไพ เสือเขียว | ปีที่พิมพ์: 5/12/2547

ที่มา: เดลินิวส์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

"สามชุก" พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นแห่งแรกของเมืองไทย

ชื่อผู้แต่ง: สุวัฒน์ คงแป้น | ปีที่พิมพ์: ปี 51 ฉบับ 5 ,25 มิ.ย.-1 ก.ค.47

ที่มา: สยามรัฐ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เส้นทางสู่สามชุกเมืองน่าอยู่

ชื่อผู้แต่ง: สุวัฒน์ คงแป้น | ปีที่พิมพ์: 2547

ที่มา: ที่ระลึกในงานเปิด"ตลาดมีชีวิตพิพิธภัณฑ์มีชีวา" 11 ธ.ค. 2547 โครงการปฏิบัติการชุมชนและเมืองน่าอยู่

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ตลาดสามชุก

ชื่อผู้แต่ง: ศรัณย์ ทองปาน | ปีที่พิมพ์:

ที่มา: วารสารเมืองโบราณ

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ตลาดงามที่สามชุก

ชื่อผู้แต่ง: กฤช เหลือลมัย | ปีที่พิมพ์:

ที่มา: วารสารเมืองโบราณ

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พิพิธภัณฑ์บ้านขุนจำนงจีนารักษ์

ชื่อผู้แต่ง: เบญจวรรณ จันทราช | ปีที่พิมพ์:

ที่มา: วารสารเมืองโบราณ

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เกียรติสยาม 'สามชุก'

ชื่อผู้แต่ง: วรุณรัตน์ คัทมาตย์ | ปีที่พิมพ์: 17 ธันวาคม 2552

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ

แหล่งค้นคว้า:

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


รีวิวของพิพิธภัณฑ์บ้านขุนจำนงจีนารักษ์(ตลาดสามชุก)

ตลาดมีชีวิต พิพิธภัณฑ์มีชีวา คงจะไม่ใช่คำกล่าวที่เกินเลยไปสำหรับ "ตลาดสามชุก" จังหวัดสุพรรณบุรี ตลาดสามชุกเป็นตลาดริมแม่น้ำสุพรรณบุรี ในอดีตเป็นชุมทางการค้าระหว่างชาวบ้านที่นำของป่าจากทิศตะวันตกมาแลกเปลี่ยนและซื้อขายกับพ่อค้าที่เป็นชาวเรือ หากแต่ตลาดที่เคยรุ่งโรจน์มาตั้งแต่เมื่อ 100 ปีที่แล้ว เมื่อยุคสมัยแปรเปลี่ยน การสัญจรทางน้ำถูกแทนที่ด้วยถนนเมื่อไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา ทำให้ตลาดแห่งนี้ซบเซา ร้านรวงหลายแห่งเริ่มปิดตัวลง 
 
ตลาดสามชุกเริ่มฟื้นจากการอาคารโคม่า เมื่อคนในชุมชนกลุ่มหนึ่งเริ่มมองเห็นคุณค่าทางประวัติศาสตร์และรากเหง้าตัวเอง รวมตัวกันเป็นคณะกรรมการพัฒนาตลาดสามชุก (คณะกรรมการพัฒนาตลาดสามชุก ได้รับรางวัลองค์กรดีเด่นด้านการอนุรักษ์ศิลปกรรม ปี 2548 จากสมาคมสถาปนิกสยามฯ) ประกอบกับในปี 2545 สามชุกได้รับคัดเลือกให้เป็นเมืองนำร่องของโครงการปฏิบัติการชุมชนและเมืองน่าอยู่ มูลนิธิชุมชนไท  องค์กรชุมชนและภาคีจากภายนอกจึงร่วมกันพัฒนาตลาดสามชุกให้เป็นตลาดมีชีวิต จัดกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การทำความสะอาดตลาด ปรับปรุงภูมิทัศน์ รื้อฟื้นการทำอาหารไทยพื้นบ้าน ทัศนศึกษาดูงาน และร่วมก่อตั้งพิพิธภัณฑ์  โดยใช้บ้านขุนจำนงจีนารักษ์เป็นที่จัดแสดง โดยมีมูลนิธิเล็กประไพ วิริยะพันธุ์ เข้ามาช่วยพัฒนางานพิพิธภัณฑ์

บ้านขุนจำนงจีนารักษ์เป็นอาคารห้องแถวไม้สามชั้น ที่คงไว้ซึ่งรูปแบบเรือนเก่าที่ระเบียงและเชิงชายฉลุลายไม้สวยงาม ขุนจำนงจีนารักษ์คหบดีชาวจีนผู้เป็นเจ้าของ เป็นนายอากรคนแรกของสามชุก ปัจจุบันตัวบ้านอยู่ภายในครอบครองของทายาท แต่ได้ให้คณะกรรมพัฒนาตลาดสามชุกเช่าทำพิพิธภัณฑ์เป็นเวลา 10 ปี ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์ขายหนังสือและโปสการ์ดสวย ๆ รูปวาดตลาดสามชุกที่รายได้ส่วนหนึ่งนำไปสนับสนุนกิจกรรมของชุมชน ชั้นล่างเปิดโล่งต้อนรับผู้มาเยือน โดยจัดแสดงนิทรรศการความเป็นมาของตลาดร้อยปีสามชุก โมเดลย่อส่วนของตลาด รวมไปถึงส่วนที่แนะนำร้านค้าและสถานที่ที่น่าสนในภายในตลาด อาทิ ร้านกาแฟท่าเรือส่ง บุญช่วยหัตถกิจ ร้านนาฬิกาโบราณ ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสามชุก  ร้านถ่ายรูปศิลป์ธรรมชาติ โรงแรมอุดมโชค  ชั้นสองคงไว้ซึ่งเครื่องเรือนของท่านเจ้าของเดิมเหมือนเมื่อครั้งขุนจำนงจีนารักษ์ยังมีชีวิต ตามฝาผนังประดับประดาด้วยรูปภาพเก่าของครอบครัวจีนารักษ์ ส่วนชั้นที่สาม เป็นพื้นที่ของนิทรรศการหมุนเวียน 

การได้รู้จักประวัติความเป็นมา และวิถีชีวิตของคนตลาดสามชุกจากการเข้าชมพิพิธภัณฑ์  ยิ่งทำให้การเดินชมตลาดสามชุกมีสีสันยิ่งขึ้น ร้านรวงหลายร้านยินดีเล่าเรื่องราวเมื่อครั้งอดีต บางร้านนำของเก่าที่หาดูได้ยากที่เก็บเอาไว้มาแบ่งกันชม  เรียกได้ว่าทั้งตลาดสามชุกคือพิพิธภัณฑ์ก็ย่อมได้ 


ข้อมูลจาก:
การสำรวจภาคสนาม วันที่ 20 ตุลาคม 2548
สุวัฒน์ คงแป้น. สามชุก พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นแห่งแรกของเมืองไทย. สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ 51: 5(25 มิ.ย. - 1 ก.ค. 47)
ชื่อผู้แต่ง:
-

พิพิธภัณฑ์บ้านขุนจำนงจีนารักษ์

สามชุกเคยเป็นเมืองท่าค้าขายริมแม่น้ำท่าจีน หลังจากที่มีการตัดถนนผ่าน ทำให้คนเริ่มหันไปใช้ถนนเป็นเส้นทางคมนาคมมากขึ้น ตลาดจึงเริ่มซบเซาส่งผลกระทบต่อชาวสามชุกทั้งวิถีชีวิต สังคม ความเป็นอยู่และด้านเศรษฐกิจ ชาวตลาดสามชุกกลุ่มหนึ่งจึงรวมตัวกันในนาม“คณะกรรมการพัฒนาตลาดสามชุก” ได้พูดคุยเรื่องตลาดร้อยปีที่นับวันจะทรุดโทรมว่าจะมีอนาคตอย่างไร พวกเขาพยายามฟื้นฟูชุมชนและตลาดอันเป็นการเริ่มต้นค้นหาความมั่นคงที่ถูกสั่นคลอนของชุมชนให้กลับมีชีวิตขึ้นมาใหม่
ชื่อผู้แต่ง:
-

พิพิธภัณฑ์ไทยในดวงใจ (1) : ตลาดสามชุก ตลาดร้อยปีมีชีวิต

วันที่ 13 ตุลาคม 2550 หนึ่งวันก่อนวันครบรอบปีของวันมหาวิปโยค 34 ปีก่อนที่แทบจะไม่มีใครจำได้แล้วว่ามีความสำคัญอย่างไร ผู้เขียนและเพื่อนขับรถหลีกหนีความทรงจำอันแสนสั้นของเพื่อนร่วมชาติและความอึดอัดอึกทึกของกรุงเทพฯ ขึ้นเหนือตามทางหลวงสาย 340 มุ่งหน้าไปยังจังหวัดสุพรรณบุรี เป้าหมายของเราคือตลาดสามชุก อำเภอสามชุก ใกล้กับอำเภอเดิมบางนางบวช “ตลาดร้อยปี” ที่ได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็นหนึ่งใน “แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์” ที่ดีที่สุดของประเทศ
ชื่อผู้แต่ง:
-

เงางามสามชุก

ฉันกลับมายลถิ่นนี้อีกครั้งได้อย่างไร ! ด้วยเหตุบังเอิญหรือความตั้งใจกันแน่ หรือทั้งสองอย่างไหลมาประสบพบกันเข้าพอดี เบื้องหน้าของฉันหาไม่ปราสาทศิลาทรายอลังการไม่ แต่มันคืออาคารไม้เก่าแก่ในอดีตซึ่งปรากฏกระจ่างชัดในม่านตา แม้ว่าวันนี้จะพลุกพล่านไปด้วยผู้คนแปลกหน้าจากทั่วสารทิศแทบจะคลำหาทางเดินไม่เจอ ฉันเดินวกวนอยู่หลายรอบด้วยความสับสนกับทิศทางที่หมุนขว้างในประสาทสัมผัส จนกระทั่งฉันได้กลิ่นหอมเย็นจากสายน้ำจึงได้สติสัมปชัญญะขึ้นอย่างกระปรี้กระเปร่า สายน้ำไหลระริกสานกันเป็นเกลียวคลื่นทอดยาวจากทิศเหนือลงสู่ทิศใต้อย่างต่อเนื่อง ไม่มีอาการเหนื่อยหล้าหรือยุติบทบาทของตัวเองลง
ชื่อผู้แต่ง:
-